ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามเย็น,ความขัดแย้ง,การสานประโยชน์ทางการเมือง

    ลำดับตอนที่ #2 : ผลของสงครามเย็น

    • อัปเดตล่าสุด 15 ต.ค. 52


    ผลของสงครามเย็น
     
    นอกจากทวีปยุโรปแล้วสองอภิมหาอำนาจยังแข่งขันกันในภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้สงครามเย็นเพิ่มความตึงเครียดทวีปเอเซียเป็นอีกเวทีหนึ่งของสงครามเย็น ในแถบตะวันออกไกล จีนเป็นดินแดนที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดเมื่อจีนคอมมิวนิสต์นำโดยเหมาเจ๋อตุง เป็นฝ่ายมีชัยชนะในสงครามกลางเมืองยึดครองแผ่นดินใหญ่ของจีนได้ รัฐบาลจีนคณะชาติซึ่งเป็นฝ่ายโลกเสรีและได้รับความสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสหรัฐอเมริกาต้องหนีไปตั้งรัฐบาลที่เกาะฟอร์โมซา ชัยชนะของจีนคอมมิวนิสต์มีผลกระทบต่อดุลอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศถือเป็นการพ่ายแพ้ที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาและเป็นการเสียดุลอำนาจครั้งสำคัญของโลกเสรีสหภาพโซเวียตและจีนเป็นสองประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ มีทรัพยากรมากและมีจำนวนประชากรมหาศาล ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนจึงตึงเครียดมานับตั้งแต่นั้นมา
     
     
    ความขัดแย้งของสงครามเย็นส่งผลให้ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ ที่มีอุดมการณ์ต่างกัน กองทัพของประเทศเกาหลีเหนือซึ่งปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ได้ยกข้ามเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือเข้ารุกรานประเทศเกาหลีใต้อย่างฉับพลัน สหประชาติจึงมีมติให้สหรัฐอเมริกาและกองกำลังทหารของสหประชาชาติจาก 18 ประเทศสมาชิกเข้าช่วยเกาหลีใต้จากการรุกรานครั้งนี้ จีนส่งกองทัพช่วยเกาหลีเหนือ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากันจนกระทั่ง ค.ศ.1953 จึงมีการทำสนธิสัญญาสงบศึก สงครามเกาหลีก่อให้เกิดความตื่นตัวต่อการขยายอิทธิพของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเซีย สหรัฐอเมริกาเห็นความจำเป็นของการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเซียอย่างจริงจัง สำหรับประเทศญี่ปุ่น ลัทธิคอมมิวนิสต์ประสบความสำเร็จในวงแคบ เสถียรภาพทางการเมือง ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและมาตรฐานสังคมในระดับสูงของประเทศญี่ปุ่น อันเป็นผลงานส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นกำลังสำคัญของโลกเสรีในทวีปเอเซีย
     
     
    การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากอินโดจีน คือ ประเทศเวียดนาม เขมร และลาว ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยใช้เส้นขนานที่ 17 องศาเหนือเป็นเขตแบ่งชั่วคราว เวียดนามเหนืออยู่ใต้การปกครองของลัทธิคอมมิวนิสต์ มีโฮจิมินห์เป็นผู้นำ เวียดนามใต้ปกครองระบอบประชาธิปไตย มีโงดินห์เดียมเป็นผู้นำ โดยให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเวลา 1 ปี เพื่อรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน แต่การเลือกตั้งก็ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะเกิดการสู้รบระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาในอินโดจีน ทำให้สหรัฐอเมริกานำนโยบายล้อมกรอบการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์มาใช้ในเอ เซียด้วย นายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาขณะนั้นประกาศอย่างแข็งขันว่าจะไม่ยอมให้ ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยายตัวต่อไป โดยเชื่อมั่นในทฤษฏีโดมิโนว่า ถ้าประเทศใดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์แล้ว ประเทศใกล้เคียงอื่นๆ ก็จะพลอยเป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ.1954 จึงได้มีการสนธิสัญญาที่กรุงมะนิลาเพื่อจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวัน ออกเฉียงใต้ (Seato)
     
     
    ประกอบด้วย 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ไทย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ด้วยวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกับนาโตใน ตะวันออกลาง หรือเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับด้วยกันเอง และระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับประเทศอิสราเอล สหภาพโซเวียตฉวยโอกาสขยายอิทธิพลของตนด้วยวิธีารต่างๆ เช่น เสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่ประเทศอิยิปต์ ในการปฏิรูปประเทศในสมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ด้วยการให้เงินสร้างเขื่อนอัส วาน อืยิปต์เป็นผู้นำของกลุ่มประเทศอาหรับที่สหภาพโซเวียตต้องการส่งเสริม อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แพร่หลายในภูมิภาคตะวันออกลาง ฝ่ายโลกเสรีจึงหาทางสกัดกั้นด้วยการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเซ็นโต หรือองค์การสนธิสัญญากลาง (Central Treaty Organization:CENTO) ซึ่งมีสมาชิก 5 ประเทศ คือ สหราชอาณาจักร ตุรกี อิรัก อิหร่าน และปากีสถาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแทรกแซงและขยายอำนาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ใน ภูมิภาคนี้ส่วน ในทวีปแอฟริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ ได้รับเอกราช โดยส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง เช่น คองโก จึงเกิดการจลาจลแย่งอำนาจระหว่างชนเผ่าต่างๆ คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติเกรงว่าความวุ่นวายนี้จะเป็นภัยต่อ สันติภาพของโลก จึงมีมติให้ส่งกองกำลังของสหประชาชาติเข้าไปรักษาความสงบเรียบร้อยในคองโก สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความช่วยเหลือแก่ประธานาธิบดีลูมุมบา ของคองโก และนายครุฟเซฟผู้นำสหภาพโซเวียตประนามการแทรกแซงสหประชาชาติ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในแทนซาเนียด้วยการช่วยเหลือใน การสร้างทางรถไฟยาว 1,000 ไมล์ ในขณะที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้พยายามรักษาอิทธิพลในแอฟริกา โดยเฉพาะกับประเทศอดีตอาณานิคมของตน
    กล่าว โดยสรุป แม้สงครามเย็นตั้งแต่ ค.ศ.1945 จะไม่ลุกลามกลายเป็นสงครามอย่างเปิดเผย แต่ก็นำไปสู่ความขัดแย้งระดับวิกฤตการณ์ทางการเมืองจนกลายเป็นสงครามระดับ ภูมิภาคขึ้นในหลายแห่งของโลก
     
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×