ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต

    ลำดับตอนที่ #1 : ความเป็นมา

    • อัปเดตล่าสุด 23 เม.ย. 49


    วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2507 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ลงมติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ใหม่อีกแห่งหนึ่งในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยโอนให้โรงพยาบาลหญิงและเด็กมาเป็นโรงพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้ และให้ใช้ที่ดินหน้ากรมทางหลวงแผ่นดิน ตำบลพญาไท เป็นที่จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ นับเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 4 ของประเทศไทย

    วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2508 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ ในการขอเสนอให้สร้างคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่บริเวณที่ดินหน้ากรมทางหลวงแผ่นดิน แทนการใช้โรงพยาบาลหญิงและเด็กเป็นโรงพยาบาลของคณะฯ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแบบแปลนอาคาร เตรียมหลักสูตร และการดำเนินงานของคณะ

    เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2508 เริ่มดำเนินการก่อสร้างพื้นอาคาร

    เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2508 เริ่มรับนักศึกษาปีที่ 1 เรียนที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ฝากเรียนที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

    วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานชื่อคณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลแห่งใหม่ว่า รามาธิบดี

    วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ได้มีประกาศพระราชทานกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

    ในปัจจุบันถือได้ว่าคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นคณะแพทย์ฯ ที่มีความทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เทคโนโลยีสมัยใหม่จากต่างประเทศมักจะมาเริ่มที่คณะแพทย์แห่งนี้ก่อน ระบบการเรียนการสอนมีความเป็นสากลสูง ให้อิสระกับนักศึกษาแพทย์มาก อาจารย์แพทย์จะไม่เข้ามากวดขันการใช้ชีวิตของนักศึกษามากนัก นักศึกษาแพทย์จะมีความใกล้ชิดกับแพทย์ประจำบ้านมากกว่า

    แพทย์ที่เป็นผลผลิตของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมักมีหัวก้าวหน้า ชอบเทคโนโลยีสมัยใหม่ ชอบคิดค้นสิ่งใหม่ๆ มีหัวคิดที่แหวกแนว มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ว่ากันว่า เพื่อวิชาการแล้ว ในสถาบันนี้เวลาอภิปรายความรู้กันจะใช้ความจริงเข้าประหัตประหารกันโดยลืมเรื่องอาวุโสและด้อยอาวุโสไป

    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมีชื่อเสียงในการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไต แต่จะมีผู้ป่วยฉุกเฉินน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยอุบัติเหตุ ดังนั้น ถ้านักเรียนชอบความตื่นเต้นเร้าใจของบรรยากาศห้องฉุกเฉิน อยู่ที่รามาธิบดีอาจจะไม่ค่อยสนุกนัก

    การเรียนในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรกนักศึกษาแพทย์จะต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม โดยจะไปกินอยู่ในหอพักที่นั่น นักศึกษาจะมีชีวิตที่ค่อนข้างสบาย เพราะเงียบสงบ แต่ไม่ไกลกรุงเทพฯ มาก ห่างจากกรุงเทพฯ ไปเพียง 20 กิโลเมตร มีรถประจำทางเข้ามาสู่กรุงเทพฯ สะดวกสบาย พอผ่านการเรียนในปีแรกก็จะขึ้นสู่ปี 2 ซึ่งในปี 2 และปี 3 นี้ จะย้ายการเรียนมาอยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่พญาไท จะเรียนวิชาทางพรีคลินิกทั้งหมด และเมื่อขึ้นอยู่ปีที่ 4 ก็จะย้ายไปเรียนในโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งอยู่ติดกับคณะวิทยาศาสตร์ จนจบปีที่ 6

    สำหรับการปฏิบัติงานเมื่อเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 นักศึกษาจะต้องถูกส่งไปปิบัติงานยังโรงพยาบาลต่างจังหวัด เช่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ในช่วงนี้นักศึกษาแพทย์ที่ใกล้จะเป็นแพทย์เต็มทีจะได้ประสบการณ์มากมายในการตรวจรักษาผู้ป่วย

    หนังสือ "จากวัยใส... ไปเป็นหมอ"
    ไวกูณฐ์ สถาปนาวัตร
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×