ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เกียรติคุณสุนทรภู่

    ลำดับตอนที่ #1 : ■ ชีวประวัติสุนทรภู่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 149
      1
      19 ม.ค. 57


    ตอนก่อนรับราชการ พระสุนทรโวหาร (ภู่) ซึ่งคนทั้งหลายเรียกกันเป็นสามัญว่า "สุนทรภู่" นั้น เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ ณ วันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้นค่ำ ๑ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาเช้า ๒ โมง (ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙)

    สกุลงศ์ของสุนทรภู่ บิดามารดาชื่อใดไม่ปรากฎ ปรากฎแต่ว่าบิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ ในเขตอำเภอเมืองแกลง แขวงจังหวัดระยอง ฝ่ายมารดาเป็นชาวเมืองอื่น มาอยู่ด้วยกันในกรุงเทพ ๚ เกิดสุนทรภู่เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินร์แล้วได้ ๔ ปี แล้วบิดามารดาหย่ากัน บิดากลับออกไปบวชอยู่ที่เมืองแกลง ฝ่ายมารดาได้สามีใหม่มีลูกหญิงอีก ๒ คน ชื่อฉิมคนหนึ่ง ชื่อนิ่มคนหนึ่ง แล้วได้เป็นนางนมพระธิาในกรมพระราชวังหลัง (กล่าวกันว่าพระองค์เจ้าจงกล) เพราะฉะนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ที่พระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก

    การศึกษา สุนทรภู่ ความที่กล่าวในนิราศเมืองสุพรรณมีเป็นเค้าเงื่อน ดูเหมือนจะได้เล่าเรียนในสำนักชีปะขาว (ซึ่งพระราชทานนามในรัชกาลที่ ๔ ว่า วัดศรีสุดาราม) ที่ริมคลองบางกอกน้อย รู้หนังสือทำการเสมียนได้ ได้เคยเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน แต่อุปนิสัยไม่ชอบทำการงานอย่างอื่น นอกจากแต่งบทกลอน สันทัดถึงบอกดอกสร้อยสักวาได้แต่รุ่นหนุ่ม แล้วกลับมาอยู่ที่พระราชวังหลังอย่างเดิม

    เห็นเพราะที่เป็นเจ้าบทเจ้ากลอนนั่นเอง ชวนให้คะนองจนทำความเกิดขึ้น ด้วยไปลอบรักใคร่กับผู้หญิงข้างในคนหนึ่ง ชื่อจัน ถูกกริ้วจนต้องเวรจำคุกทั้งชายหญิง แต่เวลานั้นกรมพระราชวังหลังใกล้จะทิวงคตแล้ว ติดเวรจำอยู่ได้ไม่ช้านัก ทำนองจะพ้นโทษเมื่อกรมพระราชวังหลังทิวงคต ใน พ.ศ. ๒๓๔๙ สุนทรภู่จึงออกไปหาบิดาที่เมืองแกลง แต่งนิราศเมืองแกลง ซึ่งเป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่ เมื่อไปคราวนั้น พิเคราะห์เรื่องราวที่ปรากฎในนิราศ ประกอบกับศักราชปีเกิดของสุนทรภู่ ดูเหมือนเมื่อแต่งนิราศเมืองแกลง อายุจะราวสัก ๒๑ ปี กล่าวในนิราศว่า มีศิษย์ติดตามไปด้วย ๒ คน ข้อนี้ส่อให้เห็นว่าในเวลานั้นสุนทรภู่ทำนองจะมีชื่อเสียงในการแต่งบทกลอนอยู่แล้ว จึงมีผู้ฝากตัวเป็นศิษย์ น่าจะมีหนังสือเรื่องอื่นที่สุนทรภู่ได้แต่งไว้ก่อนนิราศเมืองแกลง ลองพิเคราะห์ดู หนังสือกลอนของสุนทรภู่ที่ยังปรากฎอยู่บัดนี้ เห็นมีเค้าเงื่อนในทางสำนวนว่าจะเเต่งก่อนนิราศเมืองแกลง แต่เรื่องโคบุตรเรื่องเดียว มีคำขึ้นข้างต้นว่า
      "๏ แต่ปางหลังครั้งว่าพระศาสนา
    เป็นปฐมสมมตกันสืบมา ด้วยปัญญายังประวิงทั้งหญิงชาย
    ฉันชื่อภู่รู้เรื่องประจักษ์แจ้ง     จึงสำแดงคำคิดประดิษฐ์ถวาย
    ตามสติริเริ่มเรื่องนิยาย ให้เพริศพรายพริ้งเพราะเสนาะกลอน"
    ดังนี้ สำนวดูเหมือนจะแต่งถวายเจ้าวังหลังองค์ใดองค์หนึ่ง เป็นหนังสือแปดเล่มสมุดไทย จะเเต่งในคราวเดียวกันทั้งนั้น หรือแต่งเป็นหลายครั้งหลายคราว ข้อนี้ทราบไม่ได้ แต่ว่าแต่งค้างอยู่ไม่หมดเรื่อง กลอนเรื่องอื่นของสุนทรภู่ ดูสำนวนเป็นชั้นหลังเรื่องโคบุตรทั้งนั้น สุนทรภู่ไปเมืองแกลงคราวนั้น ออกจากกรุงเทพ ๚ ในเดือน ๗ ไปเรือประทุน ศิษย์เเจวไป ๒ คน กับมีคนขี้ยาชาวเมืองระยองรับนำทางช่วยแจวอีกคนหนึ่ง ไปทางคลองสำโรง และคลองศีรษะจระเข้ ออกปากน้ำบางมังกง ไปขึ้นบกที่บางปลาสร้อย จังหวัดชลบุรี แล้วเดินบกต่อไป ความในนิราศตอนไปในคลอง สุนทรภู่อธิบายคำเก่าไว้เเห่งหนึ่งว่า
    "คำโบราณท่านผูกถูกทุกสิ่ง     เขาว่าลิงจองหองมันพองขน"
    คำนี้เองที่เป็นมูลที่ด่ากันว่า "จองหองพองขน" คือเปรียบเอาลงเป็นลิง ยังหาเคยพบใครอธิบายไว้ในที่อื่นไม่ เมื่อุนทรภู่ ลงไปถึงเมืองระยอง คนขี้ยาที่ทำหน้าที่นำทางไปถึงบ้านก็หลบเสีย แต่นั้นสุนทรภู่ต้องพยายามถามหนทางตามพวกชาวบ้าน เดินต่อไปจนถึงวัดที่บิดาบวชอยู่ ณ เมืองแกลง กล่าวในนิราศว่า เวลานั้นบิดาบวชมาได้ ๒๐ พรรษา ข้อนี้ส่อให้เห็นว่าบิดากับมารดาเห็นจะพรากกันตั้งแต่สุนทรภู่ยังเป็นเด็กเล็กทีเดียว และน้องสาว ๒ คนนั้นต่างบิดากับสุนทรภู่

    ในนิราศกล่าวความอีกข้อหนึ่งว่า บิดาที่บวชอยู่ "เป็นฐานานุประเทศประเทศอธิบดี จอมกษัตริย์โปรดปรานประทานนามเจ้าอารามอรัญธรรมรังสี เจ้าคณะเมืองแกลง มิใช่ได้เป็นตำแหน่งพระครูเอง ที่สุนทรภู่ออกไปหาบิดา บางทีจะคิดออกไปบวช ด้วยเวลานั้นอายุครบอุปสมบท และจะล้างอัปมงคลที่ต้องถูกจำจองด้วยก็เป็นได้ แต่หาได้บวชไม่ เพาะไปอยู่ได้หน่อยหนึ่งก็ป่วยเป็นไข้ป่า อาการแทบถึงประดาตาย รักษาพยาบาลกันอยู่กว่าเดือนถึงจะหาย พอหายก็กลับเข้ามากรุงเทพ ๚ ในเดือน ๙ รวมเวลาที่สุนทรภู่ออกไปเมืองแกลงคราวนั้นราว ๓ เดือน

    เรื่องประวัติสุนทรภู่ เมื่อกลับจากเมืองแกลงแล้วมีอยู่ในเรื่องนิราศพระบาท ว่ามาเป็นมหาดเล็ก พระองค์เจ้าเณรองค์ ๑ กั้นพระกรดหักทองขวาง เสด็จมาทางนั้น พิเคราะห์ตามศักราช เห็นว่าจะเป็นสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เพราะเวลานั้นทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่แล้ว กล่าวความอีกแห่งหนึ่งว่า
    "พอแรมค่ำวันนั้นท่านพระคลัง     หาบุญยังไปฉลองศาลาลัย"
    คือพระยาพระคลัง (กุน) ซึ่งได้เป็นเจ้าพระยารัตนาธิเศร์ที่สมุหนายกในรัชกาลที่ ๒ หานายบุญยัง นายโรงละครนอกที่มีชื่อเสียง และเป็นผู้สร้างวัดละครทำในจังหวัดธนบุรีนั้น ไปเล่นละครฉลองศาลาที่ท่านสร้างขึ้นใหม่ในลานพระพุทธบาท อาศัยเค้าเงื่อนที่มีดังได้กล่าวมา สันนิษฐานว่าหนังสือบทกลอนของสุนทรภู่ที่ปรากฎอยู่เป็นของแต่งในรัชกาลที่ ๑ เมื่อก่อนสุนทรภู่เข้ารับราชการ ๓ เรื่องคือเรื่องโคบุตรเรื่อง ๑ นิราศเมืองแกลงเรื่อง ๑ นิราศพระบาทเรื่อง ๑ ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ เมื่อสุนทรภู่เข้ารับราชการแล้ว เห็นจะไม่มีโอกาสไปทางไกล จึงไม่ปรากฎว่าแต่งนิราศเรื่องใดอีก

    .....................................................................


    ริ่

    นำ


    สำหรับตอนแรกจำขอพูดถึงชีวประวัติขอ สุนมรภู่ หากขาดตกบกพร่อกแต่ประการใด ทางเราขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยคะ
    ★ten tativo

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×