The Beauty of IT Student
อยากรู้ไหมว่าเด็กที่เรียนด้านคอมพิวเตอร์ ทำอะไรกันได้บ้าง?
ผู้เข้าชมรวม
495
ผู้เข้าชมเดือนนี้
0
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
วันนี้มีเรื่องมาเล่าให้ฟังครับ
ชื่อ The beauty of IT
Student
(สิ่งพิเศษของเด็กที่เรียนด้านคอมพิวเตอร์)
ใครอยากเรียนด้านเกี่ยวกับคอมน่าอ่านนะ
[เกร็ดความรู้ด้านคอม ที่ควรทำให้เป็น]
กาลครั้งหนึ่งเมื่อไม่กี่วันมาแล้ว ที่มหาวิทยาลัยหมาบ้า (Mad dog) มีนักศึกษาคณะคอมพิวเตอร์กลุ่มนึง จะชอบสิงสถิตอยู่ในแลป
แลปที่ว่า ก็เป็นห้องกว้างๆ 4 ห้อง หันเข้าหากัน แต่ละห้องจะมีคอมพิวเตอร์ประมาณ 20 เครื่อง (ตอนแรกนึกว่า 15 555+) แต่ละคนจะมี Username + Password ซึ่งเป็นรหัสนักศึกษา ซึ่งถูกลิมิตไม่ให้ลงโปรแกรม หรือตั้งค่าคอมได้
เรื่องแรก วอคราฟ 3
มีวันนึง นักเรียนคนนึงได้เดินเข้ามา พร้อมกับแผ่น ซีดี WWC III (วอคราฟ 3) 5 นาทีต่อมา เด็กนักเรียนอีกคน ก็เจาะเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งเกม (สั่งแชร์) จึงทำให้เกิดร้านอินเตอร์เน็ตขนาดย่อมๆ 80 เครื่อง =.=
แต่ปัญหาเกิดขึ้นตรงที่ว่า ขณะที่ห้องแลป 3 ห้องมีการเรียนการสอน ห้องที่ว่างก็เปิดเกมส์เล่น พร้อมกับตะโกนด้วยความเมามัน Kill Him!! Kill Him!! (ฆ่ามันๆ)
ผู้ชายสองสามคนในเครื่องแบบ ก็เดินเข้ามากระทำการขอดู ID นักศึกษา แต่ไม่ยอมให้คืน ทำให้เด็ก ปี 1 ผู้ไม่รู้กาละเทศะ ต้องเข้าไปขอรับ ID คืนจากหัวหน้าคณะ (ไม่รู้โดนด่าป่าว สมน้ำหน้า หุหุ)
และทุกเย็นก็จะมีการดาววอคราฟ์กัน เป็นประจำ
เรื่องที่สอง เล่นเน็ตฟรี
อาจจะเป็นศัพท์ ทางเทคนิคนิดหน่อย แต่ก็อยากให้รู้ว่า มันทำได้จริงๆด้วยนะ :)
วิธีการที่มหาลัยแห่งนั้น อนุญาตให้นักเรียนติดต่อกับโลกภายนอกคือ การเข้าโปรแกรมชื่อ Telnet (ไม่ต้องไปสนใจชื่อมันหรอก) แล้วโปรแกรมนั้นก็จะเปิดประตูให้นักศึกษาได้ท่องโลก
อย่าเพิ่งงงกันนะครับ คือปกติเวลาที่เราๆเล่นอินเตอร์เน็ตกันก็จะกดเว็บแล้วเข้าได้เลย แต่ที่นั้นเค้ามีระบบเก็บเงินครับ เลยต้องเล่นเน็ตผ่านโปรแกรมเก็บตังชื่อ Telnet (จริงๆไม่ใช่หรอก แต่พูดให้เข้าใจง่าย)
มีเพื่อนบางกลุ่มได้ไปแคร็กเซิฟเวอร์มาครับ จากที่เล่นเน็ตผ่าน
คอม -> เทลเน็ต -> อินเตอร์เน็ต
คอม -> เซิฟอีกตัว -> อินเตอร์เน็ต
วิธีการ: By pass Proxy ครับ (บอกแค่นี้นะ)
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ทางมหาลัยฉลาดขึ้นด้วยการติด Firewall กลุ่มนักเรียนเลยต้องหาทางใหม่ (อยู่) ครับ
อยากบอกว่า ระบบเครือข่าย ถ้าโยงใหม่เองดีดี ก็ทำอะไรได้เยอะนะ (ดูตัวอย่างต่อไปดีกว่า)
เรื่องที่สาม ปริ้นเตอร์ฟรี
คือที่มหาลัยแห่งนั้น จะมีการเก็บเงินค่าพิมพ์ (มีแต่เก็บตัง หุหุ) ดังนั้นทุกๆคนก็ต้องเสียตัง ^^
แต่ในฐานะเด็ก ไอที ก็ใช้วิชาความรู้ที่ได้เรียนมา จัดการดัดแปลงซะใหม่ ทำให้พิมพ์งานฟรีครับผม
บรรยาย - เครื่องปริ้นจะอยู่ในระบบเครือข่าย คือแชร์เครื่องปริ้นกัน แต่ก่อนที่จะปริ้นได้ ต้องส่งจำนวนแผ่นไปเซิฟเวอร์เก็บเงินก่อนครับ
แผนผัง
เครื่องคอม -> เซิฟคิดเงิน -> เครื่องปริ้น
เครื่องคอม ->
เครื่องปริ้น
[อยู่ในnetwork/subnetเดียวกัน]
วิธีที่๑ - ไปกดๆ ปุ่มแถวๆเครื่อง หาที่อยู่ (IP Address) ของเครื่องพิมพ์ แล้วสั่งตรงไปที่ IP นั้น
วิธีที่ ๒ - หาไอพี แล้วเซ็ตให้อยู่ใน Subnet เดียวกัน แล้วก็สั่งปริ้นได้โดยตรงไม่ต้องผ่านเซิฟเก็บตัง
วิธีที่ ๓ - เสียบแลปทอป หรือโยงสายคอมเข้ากับปริ้นเตอร์โดยตรง (ต้องลงไดรฟเวอร์นะ)
วิธีที่ ๔ - lpr ครับ ;) (อันนี้ง่ายสุด) Windows นะครับ
เรื่องที่สี่ ลอกอินควบคุมเครื่องโดยสวมรอยเป็น Administrator
ปกติ ถ้าเราใช้คอมที่มหาลัยจะโดนกำหนดว่าห้ามทำนู่นทำนี่ แต่เพราะเป็นวินโดว์ครับ เราเลยมีวิธีที่จะลอกอินเป็น Administrator ได้เลย แถมตั้งพาสเองได้ด้วยนะ
วิธีทำก็อยู่ใน Control Panel > XXX > XXX > Users คลิกขวา Set Administrator Password
ปล. XXX เป็นความลับ อิอิ
กรอกพาส สองที แล้วลอกเอ้า ลอกอินใหม่ก็เป็น Administrator (ของเครื่องนั้น) ได้แล้ว
เรื่องที่ห้า SSH Server (Linux)
SSH Server คือการตั้งเครื่องของเรา ให้อนุญาติให้คนข้างนอกเข้าควบคุมได้ ถ้ามี Username/Password/Port/IP Address
คือสมมติว่ากัสลืม งานที่บ้านก็สามารถ SSH จากเครื่องมหาลัย มาดึงข้อมูล เหมือนกัสนั่งอยู่ข้างหน้าเครื่องตัวเองได้เลย
หรือ สามารถรันโปรแกรมทาง Command Line จากเครื่องเราได้เลยครับ
Ubuntu Linux ติดตั้งง่าย #sudo apt-get install openssh
อันนี้ก็คือว่ามีประโยชน์ สำหรับคนขี้ลืม (เช่นกัส อิอิ)
ปล. อย่าลืมเปลี่ยน Port No จาก 22 เป็นอย่างอื่น เพื่อความปลอดภัย
ปลล. ใช้ Putty SSH ถ้าอยู่บน Windows Platform
เรื่องที่หก ...
คิดไม่ออกแล้ว หุหุ
สรุป เป็นเด็กไอที ได้ใช้ของฟรี +.+
ปล. ขอโทษนะครับที่บอกละเอียดไม่ได้ แต่ถ้าคนรู้เรื่องคอม แค่นี้ก็น่าจะพอเป็นแนวทางได้
ปลล. หวังว่าคงมีประโยชน์บ้างนะ
ปลลล. ใครมีไอเดียอื่นมาคุยกันได้น้า แลกเปลี่ยนๆ
ที่มา http://arnard.diaryis.com
ผลงานอื่นๆ ของ * * - กั ส เ อ ง คั บ - ** ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ * * - กั ส เ อ ง คั บ - **
ความคิดเห็น