ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #36 : เม็ดเลือดแดง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 221
      0
      2 ก.ค. 52

    --------------------------------------------------------------------------------

    เม็ดเลือดแดง (Red blood cell) เม็ดเลือดแดงก็คล้ายกับเซลอื่นๆของร่างกาย บนผิวเซลเม็ดเลือดแดงจะมี
    แอนติเจนซึ่งไม่เหมือนกันในคนทุกคน ถ้านำเม็ดเลือดแดงของคนๆหนึ่งไปให้กับอีกคนหนึ่งที่มีเม็ดเลือดแดงที่มี
    แอนติเจนบนผิวแตกต่างกัน จะให้เกิดปฏิกริยาผิดปกติ (Immunological disease) ขึ้นได้ แอนติเจนที่
    อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดงมีหลายพวก ทำให้เกิดเป็นหมู่เลือด (Blood group) ออกได้เป็นหลายระบบ ได้แก่

    - หมู่โลหิต เอ บี โอ ( ABO system)

    - หมู่โลหิต Rh ( Rh system)

    - หมู่โลหิตเลวิส ( Lewis system)

    - หมู่โลหิต Ii (Ii system)

    - หมู่โลหิต Mn ( Mn system)

    - หมู่โลหิต P ( P system)

    - หมู่โลหิต Kell ( Kell system)

    - หมู่โลหิต Kidd ( Kidd system)

    - หมู่โลหิต Duffy ( Duffy system)


    ระบบหมู่เลือดที่สำคัญและก่อให้เกิดปัญหาทางการแพทย์ได้บ่อย โดยเฉพาะในการให้เลือดคือหมู่ ABO
    และหมู่ Rh 

    --------------------------------------------------------------------------------

    ระบบหมู่เลือด ABO

    เป็นหมู่เลือดที่สำคัญที่สุดในการให้เลือด (blood transfusion) เป็นระบบที่พบก่อน
    ระบบอื่นๆโดย Landsteiner พ.ศ. 2443 จากการทดลอง Landsteiner สรุปได้ว่ามี
    หมู่เลือดอยู่ 4 หมู่เมื่อคำนึงถึงการมีแอนติเจน A และแอนติเจน B ดังนี้

    หมู่เลือด

    Bl.gr. แอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง

    Antigen แอนติบอดีย์ในซีรั่ม

    Antibody การกระจายในคนไทย


    Population 

    A A anti-B 22 %
    B B anti-A 33 %
    AB A และ B - 8 %
    O H anti-A และ anti-B 37 %

    คนที่มีหมู่เลือด เอ จะมีแอนติเจน A อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง และมีแอนติบอดีย์ต่อ B อยู่ในซีรั่ม (น้ำเหลือง)
    คนที่มีหมู่เลือด บี จะมีแอนติเจน B อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง และมีแอนติบอดีย์ต่อ A อยู่ในซีรั่ม (น้ำเหลือง)

    ดังนั้นซีรั่มของคนหมู่เลือด เอ จะทำให้เม็ดเลือดแดงของคนหมู่เลือด บี เกิดการจับกลุ่ม
    กลับกันซีรั่มของคนหมู่เลือด บี จะทำให้เม็ดเลือดแดงของคนหมู่เลือด เอ เกิดการจับกลุ่ม
    คนหมู่เลือด เอบี มีแอนติเจนทั้ง A และ B อยู่บนเม็ดเลือดแดง ส่วนในซีรั่มจะไม่มีแอนติบอดีย์ต่อแอนติเจน A
    และทั้งแอนติบอดีย์ต่อแอนติเจน B

    คนหมู่เลือด โอ บนเม็ดเลือดแดงไม่มีทั้งแอนติเจน A และแอนติเจน B แต่ในซีรั่มจะมีทั้งแอนติบอดีย์ต่อ
    แอนติเจน A และแอนติเจน B

    Sub group ที่สำคัญทางการแพทย์คือ sub group A (หมู่เลือดย่อย) โดยส่วนใหญ่ของคนหมู่เลือด เอ
    จะเป็น subgroup A1 รองลงมาเป็น subgroup A2 ส่วน subgroup A3, A4, Am, Ax พบได้น้อย
    มากๆ บนผิวเม็ดเลือดแดงของ subgroup A1 จะมีแอนติเจนทั้ง A1 และ A2 เมื่อทำปฏิกริยากับ Anti A

    sera จะเกิดการจับกลุ่มได้ดี ส่วนเม็ดเลือดแดงของ subgroup A2 บนผิวเม็ดเลือดแดงจะมีแอนติเจน A2
    เพียงอย่างเดียว เมื่อทำปฏิกริยากับ Anti A sera จะจับกลุ่มได้ไม่ดีนัก (ขนาดตะกอนกลุ่มเล็กกว่าแบบ A1)

    H Antigen เป็นแอนติเจนที่พบได้บนผิวเม็ดเลือดแดงทุกหมู่ แต่จะมีปริมาณมากที่สุดบนผิวเม็ดเลือดแดง
    หมู่ โอ โดยแอนติเจน H เป็นสารต้นกำเนิดของทั้งแอนติเจน A และแอนติเจน B
    โดยที่ A gene และ B gene มีหน้าที่กำหนดให้มี enzyme A transferase และ B transferase

    ซึ่งจะไปทำปฏิกริยากับแอนติเจน H ให้เปลี่ยนไปเป็นแอนติเจน A และ แอนติเจน B
    บนผิวของเม็ดเลือดแดงหมู่ A ซึ่งจะมีแอนติเจน A และแอนติเจน H ส่วนบนผิวของเม็ดเลือดแดงหมู่ B จะมีแอนติเจน B และแอนติเจน H
    บนเม็ดเลือดแดงหมู่ AB จะมีทั้งแอนติเจน A แอนติเจน B และแอนติเจน H
    บนเม็ดเลือดแดงหมู่ โอ จะมีแต่แอนติเจน H เพียงอย่างเดียว

    ส่วนของแอนติเจน H จะถูกควบคุมโดย gene H และ gene h โดยที่ HH และHh genotype จะกำหนด
    ให้มีแอนติเจน H บนผิวของเม็ดเลือดแดง ส่วน hh genotype จะกำหนดให้ไม่มีแอนติเจน H บนผิวเม็ดเลือด
    แดง ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นไม่มีทั้งแอนติเจน A หรือแอนติเจน B ไปด้วย แม้ว่าจะมี ABO genotype เป็น

    AA, AO, BB, BO, AB ก็ตาม ดังนั้นเมื่อนำเม็ดเลือดแดงของคนที่มีลักษณะ hh genotype มาทำปฏิกริยา
    กับแอนติบอดีย์ต่อ A( anti-A sera) หรือกับแอนติบอดีย์ต่อ B (anti-B sera) จะไม่เกิดตะกอนการจับกลุ่ม

    ขึ้น ทำให้ดูเหมือนว่าคนๆนั้นเป็นหมู่เลือด O ลักษณะดังกล่าวจัดเรียกว่าเป็นหมู่เลือดชนิด Bombay หรือ
    ( group O Bombay / Bombay phenotype)



    แอนติเจน A แอนติเจน B และแอนติเจน H นอกจากจะปรากฏอยู่บนเม็ดเลือดแดงแล้ว ยังมีอยู่บน epithelial
    cell , endothelial cell และละลายอยู่ใน ซีรั่ม น้ำลาย น้ำย่อยในกระเพาะ น้ำย่อยจากตับอ่อน และเหงื่อ
    คนส่วนมากจะมีแอนติเจนดังกล่าวละลายอยู่ในซีรั่มหรือน้ำคัดหลั่งต่างๆ เรียกบุคคลเหล่านี้ว่า Secretor

    คนส่วนน้อยไม่มีแอนติเจนดังกล่าวละลายอยู่เรียกว่าเป็น non-secretor
    Allele ที่ควบคุมการเป็น secretor หรือ non-secretor คือยีน Se gene และ se gene โดยที่
    Se/Se และ Se/se genotype จะแสดงลักษณะเป็น Secretor

    se/se genotype จะแสดงลักษณะเป็น non-secretor
    แอนติเจนที่ละลายอยู่ในซีรั่มหรือน้ำคัดหลั่ง กับแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของคนๆหนึ่งจะตรงกันเช่น
    secretor ที่มีหมู่เลือด เอ ในซีรั่มและน้ำคัดหลั่งจะมีแอนติเจน A และแอนติเจน H อยู่ จะไม่มีแอนติเจน B

    หลักการให้เลือด
    ถ้าเรียนวิทยาศาสตร์ มาสมัยมัธยม จะมีหลักว่าเลือดของผู้ให้ จะต้องไม่มี Antigen ที่ผู้รับ มี Antibody นั้น
    ดังนั้น คนหมู่เลือด O ซึ่งไม่มี Antigen และ แอนติบอดี้ สามารถให้เลือดได้ทุกหมู่เลือด แต่จะสามารถรับได้
    เฉพาะหมู่เลือด O เท่านั้น 

    ส่วนคนที่มีหมู่เลือด AB ไม่ควรให้เลือดแก่หมู่อื่นทั้ง A,B และ O เพราะมี Antigen ทั้ง A,B ถ้าให้แก่ผู้รับอาจจะเกิดการตกตะกอนของเลือดได้ แต่หมู่AB สามารถรับเลือดได้ทุกหมู่

    แต่ในความเป็นจริง เวลาแพทย์จะให้เลือด จะต้องตรงหมู่กันเท่านั้น (ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจำเป็นจริงๆ เท่านั้นจึงเลือกใช้เลือดอย่างที่บอกไว้ข้างบน) เนื่องจากถ้าถ้าเป็นเลือดต่างกรุ๊ป อาจจะทำปฏิกริยากัน ทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดได้

    ยกตัวอย่างเช่น คนเลือด Gr AB รับเลือด Gr A มา แม้ว่า ตัวเองไม่มี Antibody A ไปทำลายเม็ดเลือดที่รับมา แต่ในน้ำเลือดคนให้มา จะมี Antibody B ซึ่งจะปฎิกริยากับ Antigen ของตัวเองได้

    แม้แต่เลือดกรุ๊ปเดียวกัน ก็ยังมีโอกาส เป็นได้เช่นกัน แต่น้อยกว่า ดังนั้นก่อนให้เลือด จึงต้องเอาเลือดทั้งสองฝ่าย
    มาตรวจสอบ ความเข้ากันได้ก่อน (Group matched)

    ดังนั้นคนที่เลือดกรู๊ป AB ซึ่งน่าจะดี ที่รับเลือดได้ทุกกรุ๊ป กลับหาเลือดยากเนื่องจาก เลือดกรุ๊ปนี้มีอยู่ไม่ถึงห้าเปอร์เซนต์ของประชากรทั้งหมด เวลาต้องหากรุ๊ปเดียวกันตอนให้เลือด จึงหายากหน่อย ไม่ดีเหมือน ที่คิด

    ส่วนพ่อ แม่กรุ๊ปใด จะมีลูก ที่มีเลือดกรุ๊ปใดได้บ้าง
    ให้นึกภาพว่ายีนส์ ของคนนั้นจะมีสองอันประกบกันเป็นคู่ อันนึงได้จากแม่ อีกอันได้จากพ่อ และจะแยกตัว ออกเป็นสองข้าง ในเซลสืบพันธ์ เพื่อไปจับคู่กับอีกครึ่งหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม

    ลักษณะของยีนส์ ในกรุ๊ปเลือดต่างๆ (โดยยีนส์นั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)

    Group A = มียีนส์ AO หรือ AA
    Group B = มียีนส์ BO หรือ BB
    Group AB = มียีนส์AB
    Group O = มียีนส์ OO

    ทีนี้มาดู ว่า พ่อ กับแม่ แม่กรุ๊ปใด ให้ลูก กรุ๊ปใด ได้บ้าง

    กรณีที่ 1 ทั้งสองฝ่าย group A เหมือนกัน จะเป็นได้ดังนี้
    ถ้าพ่อแม่เป็น AA+ AA ลูกจะเป็น AA ร้อยเปอร์เซนต์ (Group A ทั้งหมด)
    ถ้าพ่อแม่เป็น A0 +AA ลูกจะเป็น AO กับ AA อย่างล่ะครึ่ง( แต่ก็เป็น Gr A ทั้งหมด)
    ถ้าพ่อแม่เป็น A0 + AO ลูกจะเป็น AO 50% กับ AA กับ OO อย่างล่ะ 25% (เป็น Gr A 75% กับ O 25%)

    ในทางปฏิบัติ คนกรุ๊ป A เราไม่ทราบหรอกครับ ว่ามันเป็น AA หรือ AO แต่จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ลูกก็จะมีโอกาสเป็นได้แค่ Gr A หรือ O เท่านั้น 

    กรณีที่ 2 ทั้งสองฝ่ายกรุ๊ป B เหมือนกัน
    ก็ จะเหมือนกับ กรณีของ A ข้างบน แต่เปลี่ยนเป็น จาก A เป็น B เท่านั้น

    กรณีนี้ จะได้ลูกแค่ Gr B และ O เท่านั้น
    กรณีที่ 3 ทั้งสองฝ่ายเป็น AB เหมือนกัน จะเป็นดังนี้
    AB+AB จะได้ ลูก AB 50% กับ AA และ BB อย่างล่ะ 25%

    กรณีนี้จะได้ลูก Gr AB 50% และ A กับ B อย่างล่ะ 25% ไม่มีกรุ๊ป O เลย
    กรณีที่ 4 ทั้งสองฝ่ายกรุ๊ป O เหมือนกัน จะได้ ดังนี้
    OO+OO จะได้ลูก เป็น OO 100%

    กรณีนี้จะได้แต่ลูกกรุ๊ป O เท่านั้น ไม่มีกรุ๊ปอื่นปน
    กรณีที่ 5 ฝ่ายหนึ่ง Group A อีกฝ่ายกรุ๊ป B จะเป็นได้ดังนี้

    AA + BB = ลูกได้ AB ร้อยเปอร์เซ็นต์(Gr AB ทั้งหมด)
    AO + BB = ลูกได้ AB ครึ่งนึง กับ BO ครึ่งนึง (Gr AB กับ Gr B อย่างล่ะครึ่ง)
    AA + BO = ลูกได้ AB กับ AO อย่างล่ะครึ่ง (Gr AB กับ Gr A อย่างล่ะครึ่ง)
    AO+BO = ลูกได้ AB ,AO, BO, OO อย่างล่ะ 25% ( มีได้ทุกกรุ๊ป อย่างล่ะ 25% )

    กรณีนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้าพ่อแม่ คนนึง Gr A อีกคน B จะมีลูกได้ ทุกกรุ๊ปเลย 

    กรณี 6 ฝ่ายหนึ่งกรุ๊ป A อีกฝ่าย AB จะเป็นได้ดังนี้
    AA + AB จะได้ลูก AA และ AB อย่างล่ะครึ่ง(ได้ลูกกรุ๊ป A และ AB อย่างล่ะครึ่ง)
    AO +AB จะได้ลูก AA ,AO, AB, BO อย่างละ 25% (ได้ลูกกรุ๊ป A 50% และ กรุ๊ปAB กับ กรุ๊ป B อย่างล่ะ 25%)

    กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น A อีกฝ่ายเป็น AB จะได้ลูก กรุ๊ป A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น Gr O 

    กรณีที่ 7 ฝ่ายหนึ่ง AB อีกฝ่าย B จะเป็นได้ดังนี้
    AB + BB จะได้ลูก BB และ AB อย่างล่ะครึ่ง(ได้ลูกกรุ๊ป A และ AB อย่างล่ะครึ่ง)
    AB +BO จะได้ลูก BB ,BO, AB, AO อย่างละ 25% (ได้ลูกกรุ๊ป B 50% และ กรุ๊ปAB กับ กรุ๊ป A อย่างล่ะ 25%)

    กรณีนี้จะเห็นว่า ถ้า ฝ่ายหนึ่งเป็น AB อีกฝ่ายเป็น B จะได้ลูก กรุ๊ป A ,AB, B ได้ แต่ ไม่มีทางเป็น Gr O เหมือนกัน กับกรณีที่ 4
    กรณีที่ 8 ฝ่ายหนึ่ง Gr AB อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
    AB + OO จะได้ AO กับ BO

    กรณีนี้จะได้ลูก กรุ๊ป A กับ B ไม่มี AB และ O 

    กรณีที่ 9 ฝ่ายหนึ่ง Gr A อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
    AA + OO ได้ AO ทั้งหมด (กรุ๊ป A ทุกคน)
    AO + OO ได้ AO กับ OO อย่างละ50% (

    กรณีนี้จะได้ลูก Gr A กับ O อย่างล่ะครึ่ง ไม่มี กรุ๊ป B กับ AB 

    กรณีที่ 10 ฝ่ายหนึ่ง Gr B อีกฝ่าย O จะได้ดังนี้
    BB + OO ได้ BO ทั้งหมด (กรุ๊ป B ทุกคน)
    BO + OO ได้ BO กับ OO อย่างละ50%

    กรณีนี้จะได้ลูก Gr B กับ O อย่างล่ะครึ่ง ไม่มี กรุ๊ป A กับ AB

    สรุปจากสิบกรณี ข้างบนมาให้ดูง่ายๆคือ

    คนหมู่เลือด A +A = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
    คนหมู่เลือด B+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
    คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
    คนหมู่เลือด O+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
    คนหมู่เลือด A+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
    คนหมู่เลือด A+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
    คนหมู่เลือด B+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
    คนหมู่เลือด AB+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B
    คนหมู่เลือด A+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
    คนหมู่เลือด B+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
    คนหมู่เลือด A+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O

    แต่ถ้าเราสามารถระบุไปถึง ระดับยีนส์ได้ ว่าเป็นตัวไหน ก็พยากรณ์ได้แคบลงตามตัวอย่างข้างบน (อาจจะดูได้โดยดูจากประวัติครอบครัว เช่น คนที่ Gr A หรือ Gr B ที่มาจาก พ่อแม่ ที่เป็น AB +AB ย่อมเป็น grA ที่มี ยีนส์ AA หรือ Gr B ที่มียีนส์ BB เป็นต้น

    "Blood Group" ปกติกรุ๊ปเลือดจะรายงานผลออกมา เป็นสองระบบคือ
    ABO System และ Rh System โดยจำแนกตาม Antigen บนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่

    ในระบบ ABO จะแบ่งออกได้ สี่กรุ๊ปคือ A , B , AB และ O (Group O พบมากสุด ,A กับ B พบพอๆกัน และ AB มีน้อยที่สุด

    ในระบบ Rh จะรายงาน ได้เป็นสองพวก
    +ve หรือ Rh+ve คือพวกที่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้มากเกือบทั้งหมด
    ของคนไทยเป็นพวกนี้

    -ve หรือ Rh-ve คือพวกที่ไม่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้พบได้น้อยมาก
    คนไทยเราพบเลือดพวกนี้ แค่ 0.3% เป็นพวกที่บางครั้งเรียกว่า ผู้มีโลหิตหมู่พิเศษ จะพบได้มากขึ้นในชาวไทยซิกข์ (แต่ในคนพวกนั้น แม้ว่าจะมี Rh-ve มากกว่าคนไทยปกติ แต่ส่วนใหญ่ก็
    ยังคงเป็นพวก Rh +veอยู่ดี)

    ตัวอย่างการรายงานกลุ่มเลือดเช่น
    A+ve คือเลือดกรุ๊ปA Rh+ve ตามปกติ
    AB -ve อันนี้เป็น กรุ๊ป AB และ เป็นหมู่เลือดพิเศษ Rh-ve ซึ่งหายากที่สุด
    ปกติ AB ในคนไทยพบน้อยกว่า 5% ถ้าเป็น AB-ve นี่ พบแค่ 1.5 คนใน หมื่นคนเท่านั้น

    --------------------------------------------------------------------------------
    ระบบหมู่เลือด Rh

    เป็นระบบหมู่เลือดที่สำคัญรองลงมาจาก หมู่เลือด ABO แอนติเจน Rh เป็นแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของ
    คนที่เหมือนกับแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของลิง Rhesus
    Landsteiner และ Wiener เป็นผู้ค้นพบว่า rabbit antisera ต่อเม็ดเลือดแดงของลิง Rhesus สามารถ
    ทำให้เม็ดเลือดแดงของคนส่วนใหญ่จับกลุ่มได้ คนเหล่านี่จัดว่าเป็นหมู่เลือด Rh +ve

    ในระบบ Rh นี้ แอนติเจน D (antigenic determinant Rho) มีความสำคัญที่สุดในทางการแทย์ เป็น
    แอนติเจนที่แรงกว่าแอนติเจนตัวอื่นในระบบเดียวกัน
    เมื่อกล่าวถึงว่าเป็นหมู่เลือด Rh +ve หมายถึงบนผิวเม็ดเลือดแดงนั้นมี D-antigen อยู่ ส่วนหมู่เลือด Rh-ve

    หมายถึงการไม่มี D-antigen บนผิวเม็ดเลือดแดง
    ในคนไทย ประมาณมากกว่า 99% เป็นหมู่เลือด Rh +ve
    ประมาณ 1 : 500 เป็นหมู่เลือด Rh -ve

    ในบ้านเราหมู่เลือด Rh ไม่ค่อยเป็นปัญหาในการให้เลือดเท่าใด และมักจะไม่ใช่เป็นสาเหตุและสาเหตุของโรค
    hemolysis ในทารกแรกเกิด

    ปัญหาของการให้เลือดในระบบ Rh
    ปัญหาจะเกิดขึ้นได้กับคนที่มีหมู่เลือด Rh -ve ถ้าหากได้รับเลือดที่เป็นหมู่ Rh + ve เข้าไป ในครั้งแรกจะ
    ยังไม่มีปฏิกริยาอะไรเกิดขึ้น แต่ร่างกายซึ่งเดิมไม่มีแอนติบอดีย์ต่อ D-antigen มาก่อน จะเริ่มสร้างแอนติบอดีย์

    ต่อ D antigen ขึ้นมาในร่างกาย ต่อเมื่อมีการได้รับเลือดที่เป็น Rh+ve อีกครั้ง คราวนี้จะเกิดปฏิกริยาระหว่าง
    D antigen บนเม็ดเลือดแดงของผุ้ให้ (Donor) กับแอนติบอดีบ์ต่อ D antigen ที่เกิดขึ้นในร่างของผู้รับ

    เกิดการจับกลุ่มเป็นตะกอนของเม็ดเลือด เกิดการแตกของเม็ดเลือดซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้รับเลือดได้

    --------------------------------------------------------------------------------
    ระบบหมู่เลือด Lewis (Lewis blood group)

    เป็นระบบที่มีแอนติเจนแบบพิเศษต่างจากแอนติเจนอื่นๆของเม็ดเลือดแดงคือ มิได้เป็นส่วนของ Red cell
    membrane แต่จะเป็นแอนติเจนที่ละลายอยู่ในซีรั่มแล้วไปติดอยุ่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง ดังนั้นเม็ดเลือดแดง
    ที่ไม่มีแอนติเจน Lewis เมื่อนำไปผสมกับซีรั่มที่มีแอนติเจน Lewis จะกลายเป็นเม็ดเลือดแดงที่มีแอนติเจน

    Lewis อยู่บนผิวเม็ดเลือดได้
    แอนติเจน Lewis เกิดจากสาร precursor เดียวกันกับ H antigen แอนติเจนในระบบนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด
    คือ Lewis a (Le a) และ Lewis b (Le q) 

    gene ที่กำหนดให้มีแอนติเจน Lewis คือ Le gene ซึ่งเด่นกว่า le gene ดังนั้นในคนที่มีลักษณะยีน
    Le/Le Le/le genotype จะมีแอนติเจน Le ในซีรั่ม
    le/le genotype จะไม่มีแอนติเจน Le ในซีรั่ม

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×