ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #128 : bupropion

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.75K
      1
      11 ก.ย. 55

    Bupropion

    Pharmacologic category [4], [7]

                    Bupropion จัดเป็นยาในกลุ่ม antidepressant ที่มีฤทธิ์เป็น norepinephrine and dopamine reuptake inhibitor และ Smoking Cessation Aid

    Pharmacokinetics [3]

    การดูดซึม(absorbtion) : ค่อนข้างเร็ว

    การกระจายยา(distribution) : มีค่า Vd = ~20-47 L/Kg

    ค่า Protein binding : 84%

    Metabolism : ส่วนใหญ่จะถูก metabolism ที่ตับ โดยถูกเปลี่ยนให้เป็น  Hydroxybupropion ผ่านเอนไซม์ CYP2B6 หรือ metabolize โดยไม่ใช้ CYP โดยจะถูกเปลี่ยนเป็น erythrohydrobupropion และ threohydrobupropion และ Metabolite ของยาตัวนี่จะมีช่วงการออกฤทธิ์เป็น 20%-50% ของ Bupropion ที่ไม่ได้ถูก Metabolize           
    เวลาที่ใช้ในการกระจายยา
    : 3-4 ชั่วโมง

    การกำจัดยา :

    Bupropion                            ภายใน 21 ± 9 ชั่วโมง ,

    สำหรับ Metabolite ;          Hydroxybupropion                           ภายใน  20 ± 5 ชั่วโมง

    Erythrohydrobupropion                   ภายใน 33 ± 10 ชั่วโมง

    Threobupropion                                                 ภายใน 37 ± 13 ชั่วโมง

    สำหรับยาที่เป็น Extended release เช่น Aplenzin : ภายใน 21 ± 7 ชั่วโมง ,

    สำหรับ metabolite ของ Aplenzin  ; Hydroxybupropion        ภายใน  24 ± 5 ชั่วโมง

       Erythrohydrobupropion ภายใน 31 ± 8 ชั่วโมง,

        Threobupropion            ภายใน 51 ± 9 ชั่วโมง

    เวลาที่ความเข้มข้นของยาในเลือดมากที่สุด :

                    Bupropion:           immediate release ภายใน 2 ชั่วโมง,

    Sustained release ภายใน 3 ชั่วโมง,

    Extended release ภายในประมาณ 5 ชั่วโมง

                    Metabolite:          Hydroxybupropion:

    Immediate release  ภายในประมาณ 3 ชั่วโมง,

    Extended release และ Sustained release ภายในประมาณ 6-7 ชั่วโมง

    การขับยาออก :    ผ่านทางปัสสาวะ (87% (ในรูปของ Metaboliteเป็นหลัก))

    และทางอุจจาระ (10% (ในรูปของ Metabolite เป็นหลัก))

    Mechanism of action [1], [4], [7]                                                                

    กลไกการออกฤทธิ์ของ bupropion  ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวกับการยับยั้งการเก็บกลับ (reuptake) ของ norepinephrine และ/หรือ dopamine แต่ไม่มีผลต่อ serotonin และ metabolites ของbupropion คือ Hydroxybupropion มีฤทธิ์อย่างอ่อนในการยับยั้งการเก็บกลับ norepinephrine  ซึ่งทั้งbupropion และHydroxybupropion เกี่ยวกับลด norepinephrine บริเวณสมองส่วนLocus ceruleus แต่bupropion ไม่มีaffinityต่อpostsynaptic receptorต่างๆ ทั้ง histamine,  หรือ β adrenergic, serotonin, dopamine หรือ cholinergic receptors และไม่มีการยับยั้งเอนไซม์ monoamine oxidase

                    กลไกการออกฤทธิ์ของ bupropion  ยังไม่เป็นที่แน่ชัดในการช่วยเลิกบุหรี่ แต่เชื่อว่าเกี่ยวกับผลของ norepinephrine และ/หรือ dopamine bupropion โดย bupropion จะเพิ่มความเข้มข้นของextracellular dopamine ในnucleus accumbens ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของmesolimbic dopamine system ทั้งbupropion และHydroxybupropion เกี่ยวกับลด norepinephrine บริเวณสมองส่วนLocus ceruleus ในขนาดยาปกติ เมื่อมีnorepinephrineลดลง จะส่งผลให้ความต้องการ nicotine ลดลง

    Therapeutic uses and dose [1], [6]

                    ในผู้ใหญ่

    1.             Depression, associated with seasonal affective disorder; Prophylaxis

    -                   สำหรับยารูปแบบ extended-release ในระยะแรกให้รับประทานยาขนาด 150 mg. วันละ 1 ครั้งในมื้อเช้า 1 อาทิตย์ หากมีอาการดื้อยาให้เพิ่มขนาดเป็น 300 mg./day และอาจลดขนาดลงมาเป็น 150 mg./day หากอาการดื้อยาลดลง เริ่มการรักษาในฤดูใบไม้ร่วง รักษาอย่างต่อเนื่องในฤดูหนาว และหยุดเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ลดยาจากขนาด 300 mg. มาเป็น 150 mg./day 2 อาทิตย์ก่อนหยุดการใช้ยา

    2.             Major depressive disorder

    -                   สำหรับยารูปแบบ immediate release ในระยะแรกให้รับประทานยาขนาด 100 mg. วันละ 2 ครั้ง 3 วัน หลังจากนั้นให้เพิ่มเป็นรับประทาน 100 mg. วันละ 3 ครั้ง (ขนาดสูงสุดที่รับประทานได้ในหนึ่งวันคือ 450 mg. เมื่อแบ่งให้ 3-4 ครั้ง และ 150 mg. เมื่อให้เป็นsingle dose)

    -                   สำหรับยารูปแบบ sustained-release ในระยะแรกให้รับประทาน 100 mg. วันละ 1 ครั้ง ในมื้อเช้า 3 วัน หลังจากนั้นเพิ่มเป็นรับประทาน 150 mg. วันละ 2 ครั้ง (ขนาดสูงสุดที่รับประทานได้ในหนึ่งวันคือ 200 mg. เมื่อให้วันละ 2 ครั้ง)

    -                   สำหรับยารูปแบบ extended-releaseในระยะแรกให้รับประทานยาขนาด 150 mg. วันละ 1 ครั้ง 3 วัน หลังจากนั้นเพิ่มเป็นรับประทาน 300 mg. วันละ 1 ครั้ง (ขนาดสูงสุดที่รับประทานได้ในหนึ่งวันคือ 450 mg. เมื่อให้เป็นsingle dose)

    3.             Smoking Cessation

    -                   สำหรับยารูปแบบ sustained-release ให้รับประทานยาขนาด 150 mg. ในมื้อเช้า 3 วัน หลังจากนั้นเพิ่มเป็นรับประทานยา 150 mg. วันละ 2 ครั้ง (ขนาดสูงสุดที่รับประทานได้ในหนึ่งวันคือ 300 mg.) ใช้เป็นระยะเวลา 7-12 อาทิตย์ โดยการรักษาเริ่มรับประทานยาก่อนที่ผู้ป่วยจะหยุดสูบบุหรี่ 1 อาทิตย์

    ในเด็ก

    ยังไม่มีการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

    Adverse Drug reaction [2], [4]

    >10% ปวดหัว(headache),ปากแห้งน้ำลายแห้ง(xerostomia),น้ำหนักลด(weight loss),ภาวะหัสใจเต้นเร็ว(Tachycardia),นอนไม่หลับ(insomnia),อาเจียน(nausea),กรน(dizziness),คอหอยอักเสบ(pharygitis),  

    1-10% อัตราการเต้นของหัวใจเร็วหรือไม่สม่ำเสมอ (palpitation) , ความวิตกกังวล (anxiety) หัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmias) , แน่นหน้าอก (chest pain) , ความดันสูง (hypotension) , ภาวะกายใจไม่สงบ(agitation) , ความสับสน (confusion) , ความประหม่า (nervousness) , นอนไม่สงบ(sleep disturbance),ปวดหัว (migraine),ฝันผิดปกติ (abnormal dreams), ความหงุดหงิด (irritability),ง่วงนอน(somnolence),ปวดเมื่อย(pain), ความจำลดลง (memory decrease),ไข้ (fever),ผื่นคัน (rash),โรคคัน (pruristus),ลมพิษ(urticaria),ร้อนวูบวาบ(hot flash) ,ความต้องการทางเพศลดลง(libido decreased) ,ท้องผูก(sonstipation) ,ท้องเสีย(diarrhea), ท้องอืด(flatulence), ภาวะเบื่ออาหาร(anorexia), อาเจียน(vomiting), อาหารไม่ย่อย(dyspepsia), กลืนลำบาก(dysphagia),ปั สสาวะบ่อย(urinary frequency), ตกเลือดทางช่องคลอ(vaginal hemorrhage), สั่น(tremor), ปวดกล้ามเนื้อ(myalgia), อ่อนเพลีย(weakness), อาการปวดข้อ(arthralgia  arthritis), ปวดคอ(neck pain),ตามัว(amblyopia), มองไม่ชัด(blurred vision), ติดเชื้อที่ทางเดินหลอดลมส่วนบน(upper respiratory infection), มีอาการจามเพิ่มขึ้น(caugh increased), ติดเชื้อ(infection), มีเหงื่อไหลออกมามากขึ้น(diapgoresis increased), แพ้(allergic),

    Drug Interactions [4], [5]

    Metabolism/Transport Effects Substrate of CYP 1A2, 2A6, 2B6, 2C9, 2D6, 2E1, 3A4; Inhibit     CYP2D6

    Avoid Concomitant Use

                    หลีกเลี่ยงการใช้ยา Bupropion ร่วมกับ MAO Inhibitors เช่นยา Tamoxifen; Thioridazine            

     Increased Effect/Toxicity

    -                   Bupropion ทำให้เพิ่มระดับหรือผลของ Ethyl Alcohol; ยาAtomoxetine; ยาCNS Depressants; CYP2D6 Substrates; ยาFesoterodine; ยาMethotrimeprazine; ยาNebivas; ยาTamoxifen; ยาTetrabenazine; ยาThioridazine; ยาTricyclic Antidepressant

    -                   Bupropion เป็น Enzyme inhibiter ของ CYP2D6

    -                   ระดับหรือผลของยา Bupropion จะมากขึ้นเมื่อมี Enzyme CYP2B6 Inhibitor, MAO Inhibitors, ยา Methotrimeprazine

    Decreased Effect

    -                   Bupropion อาจลดระดับหรือผลของยา Codeine และยา Tramadol

    -                   ระดับหรือผลของยา Bupropion จะลดลงเมื่อมี Enzyme CYP2B6 Inducers, ยา Lopinavir, ยา Peginterferon Alfa-2b, ยา Ritonavir

    Ethanol/Nutrition/Herb Interactions

    -                   หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับ ethanol เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อ อาการชัก(seizures), ความผิดปกติของสมอง(neuropsychiatric)

    -                   หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับ Valerian, St John's wort, SAMe, Gotu kola, kava kava ทำให้เพิ่มผลของ CNS deprsstion

    Precautions [1]

                    ถ้าใช้ในขนาด dose > 450 mg ต่อวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการหน้ามืด เป็นลม (Seizure) หรือในรายผู้ป่วยบางรายการใช้ยาในขนาด dose >150 mg อาจทำให้เกิดอาการเป็นลมได้ หรือถ้าให้  ในขนาด dose สูงๆทันที  ก็อาจมีอาการเป็นลมได้   นอกจากนี้ ความเสี่ยงในการเกิดอาการเป็นลมจะเพิ่มขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติเป็นลมง่าย หรือมีการบาดเจ็บที่ศีรษะ (head trauma) , มีความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น เนื้องอก (CNS tumor), ผู้ป่วยที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูง หรือ ethanol , ผู้ป่วยที่ใช้ยาที่มี seizure threshold  ต่ำ หรือ ใช้สารกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าว เช่น สารพวก hypoglycemic  agent (ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ) ซึ่งการใช้ยา bupropion กับผู้ป่วยดังกล่าว อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการหน้ามืด เป็นลมได้ นอกจากนี้การใช้ยา bupropion อาจจะมีผลกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางอาจทำให้เกิด อาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ และเบื่ออาหารได้

                    ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular) หรือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง  หรือ โรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือด coronary artery   อาจเกิดอาการข้างต้น เมือให้ยา bupropion เพียงตัวเดียว หรือให้ร่วมกับ nicotine นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต หรือในผู้ป่วยสูงอายุ  อาจจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอาการหน้ามืด เป็นลม  มากขึ้น

                    ห้ามใช้ยานี้กับสตรีมีครรภ์  หรือภาวะให้นมบุตร เนื่องจากยานี้  metabolism  และถูกขับออกทางน้ำนม

    มีรายงานว่าการใช้ยาดังกล่าวอาจมีอาการแพ้เกิดขึ้น ทำให้เกิดอาการ   ผื่นคัน ลมพิษ  หายใจไม่ออก

    ข้อคำนึงกับการใช้ยา bupropion  กับผู้ป่วย

    -                   ห้ามให้ยานี้กับ MAO  inhibitor

    -                   หลีกเลี่ยงการให้ยาในช่วงก่อนนอน เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ

    -                   ผลต่อหัวใจ  การใช้ยานี้เพียงตัวเดียวหรือให้ร่วมกับ nicotine พบว่าทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

    -                   ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง  เบื่ออาการ วิตก กังวล นอนไม่หลับ 

    -                   โรคหัวใจ  ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ

    Immediate –release tablets

    -                   ไม่ควรให้ยานี้ที่เป็น   single dose  ขนาดเกิน  150 mg   หรือไม่ควรเกิน 450 mg ต่อวัน

    -                   แต่ละ  dose  ควรให้ห่างกัน 6 ชั่วโมง

    -                   เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องและป้องกันแสง

    -                   ไม่ควรเพิ่มขนาด dose มากกว่า 100 mg ต่อวัน ในช่วงระยะเวลา 3วัน

    Sustained –release   tablets

    -                   บริหารยา โดยรับประทานวันละ 2 ครั้ง ขนาดยาตามที่ระบุไว้

    -                   ให้ผู้ป่วยกลืนยาไปทั้งเม็ด ห้ามบด เคี้ยว หักแบ่ง

    -                   แต่ละ dose  ควรให้ห่างกัน อย่างน้อย 8 ชั่วโมง

    -                   แต่ละ dose  ห้ามมากกว่า 200 mg  หรือไม่เกิน  400  mg  ต่อวัน

    อาการที่ปรากฏ หรือข้อสังเกต เมื่อให้ยาเกินขนาด (overdose)

                    อาการหน้ามืด เป็นลม หัวใจเต้นเร็ว   ประสาทหลอน   ไม่รู้ตัว  ไม่มีสติ

    Pregnancy and lactation [4]

    Pregnancy           
                    เนื่องจากการศึกษาอาการไม่พึงประสงค์ของสัตว์บางชนิด
    bupropion มีความปลอดภัยตาม pregnancy risk category ระดับ C ควรพิจารณาใช้ยา bupropion ในสตรีมีครรภ์ เฉพาะกรณีที่คิดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมีมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ผลกระทบต่อทารกที่ทำให้เกิด teratogenic (การผิดปกติของพัฒนาการ ทางร่างกายของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา)  ยังไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับพิษของยานี้ต่อทารกในครรภ์ แต่ความเสี่ยงของการแท้งอาจจะเพิ่มขึ้น (ต้องการการศึกษาเพิ่มเติมที่จำเป็นเพื่อยืนยัน) ผลกระทบระยะยาวในการพัฒนาและพฤติกรรมยังไม่ได้รับการศึกษา
               
                    ACOG ได้แนะนำการรักษาด้วยการใช้ยาต้านอาการซึมเศร้า ในสตรีมีครรภ์แต่ละบุคคล และมีการร่วมมือกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางคลินิกทั้งจิตแพทย์ สูติแพทย์ ผู้ให้บริการระดับปฐมภูมิและกุมารแพทย์

    ถ้าหากจำเป็นต้องรักษาควรพิจารณาค่อยๆหยุด antidepressants 10-14 วันก่อนคลอดเพื่อป้องกันอาการถอนยา (withdrawal symptoms) ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้จะมีความเสี่ยงต่อผู้ป่วยในการกำเริบของโรคจากโรคซึมเศร้า การให้ยาสามารถเริ่มให้ใหม่ได้ แต่ต้องปรับขนาดการให้ยา                              
                    ขั้นตอนวิธีการรักษาต่างๆได้รับการพัฒนาโดย
    ACOG และ APA สำหรับการจัดการของภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงก่อนที่คิดจะตั้งครรภ์และในระหว่างตั้งครรภ์ 
        
    Lactation

    เนื่องจากยา bupropion ถูก metabolite และขับออกทางน้ำนมมนุษย์ได้ จึงควรแนะนำมารดา หลีกเลี่ยงการให้น้ำนมขณะใช้ยาอยู่

    Contraindication [4]

    -         การแพ้ตัวยา bupropion หรือ ส่วนประกอบในสูตรตำรับ

    -         ผู้ป่วย seizure (โรคลมชัก)  bulimia หรือ anorexia nervosa (โรคกลัวอ้วน)  

    -         ผู้ป่วยที่ได้รับยาในกลุ่ม monoamine oxidase inhibitor ร่วมด้วยภายใน 14 วัน  

    -         ผู้ป่วยหยุดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทันที 

    -         ผู้ป่วยที่หยุดยาในกลุ่ม sedatives หรือ benzodiazepine ทันที 

    -         ผู้ป่วยที่ได้รับยา bupropion ในรูปแบบอื่นๆและผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา bupropion

    Trade name [4], [6]                                        

    -         Zyban

    -         Wellbutrin

    -         Wellbutrin SR

    -         Wellbutrin XL

    -         Budeprion SR

    -         Buproban

    -         Budeprion XL

    Dosage forms [4]

    -         Tablet, as hydrochloride: 75 mg (generic for Wellbutrin)   

                                                                               100 mg (generic for Wellbutrin)

    Wellbutrin®: 75 mg, 100 mg

    -         Tablet, extended release, as hydrobromide:

                    Aplenzin™: 174 mg, 348 mg, 522 mg

    -         Tablet, extended release,as hydrochloride:

    100 mg (generic for Wellbutrin SR®)

                                                                                   150 mg (generic for Wellbutrin SR®)

                                                                                    150 mg (generic for Wellbutrin XL®)

                                                                                    150 mg (generic for Zyban®)

                                                                                    200 mg (generic for Wellbutrin SR®)

                                                                                    300 mg (generic for Wellbutrin XL®)

                    Budeprion SR®: 100 mg (generic for Wellbutrin SR®;contains tartrazine), 150 mg (generic for Wellbutrin SR®)

                    Budeprion XL®: 150 mg (generic for Wellbutrin XL®), 300 mg (generic for Wellbutrin XL®;contains tartrazine)

    Budeprion®: 150 mg (generic for Zyban®)

                    Wellbutrin XL®: 150 mg, 300 mg

    -         Tablet, sustained release, as hydrochloride:

                    Wellbutrin SR®: 100 mg, 150 mg, 200 mg

                    Zyban®: 150 mg

    Reference

    1.             AHFS Drug information®. 1999. P. 1924-1932

    2.             Carol,K.T.,Hodding,J.H.,Kraus,M.D.,Pediatric&Neonatal Dosage Handbook with International Tradename Index

    3.             Charles F. Lacy, Lora L. Armstrong, Morton P. Goldman and Leonard L. Lance. Drug information Handbook with International Trade Names Index. 15th Edition. 2007-2008. P 270-273

    4.             Drug information handbook with international trade names index 9th edition 2010-2011 p.235,238

    5.             Joseph T. DiPiro, Robert L. Talbert, Gary C. Yee, Gary R. Matzke, PharmD, Barbara G. Wells, L.Michael Posey, PHARMACOTHERAPY. Fifth Edition

    6.             Micromedex® Healthcare Series. (n.d.) Greenwood Village, CO Retrieved November, 2011, from http://www.thomsonhc.com 2011, Thomson Reuters (Healthcare) Inc.

    7.             ธวัชชัย ลีฬหานาจ. Bupropion สำหรับการรักษาโรคซึมเศร้า [7 สิงหาคม 2555]; 2554. ที่มา: URL: http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/56-2/11-Thawatchai.pdf

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×