ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #1 : หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 564
      1
      20 พ.ค. 52

    จารึกที่คนไทยทำขึ้น ปรากฎหลักฐานในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อคนไทยก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาในแถบลุ่มแม่น้ำยม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งอาณาจักรสุโขทัย ได้ประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น ในปีพุทธศักราช ๑๘๒๖  ได้ทรงคิดแบบตัวอักษรไทยขึ้นแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเค้าของตัวหนังสือไทยในปัจจุบัน และได้ทรงจารึกเหตุการณ์ในสมัยนั้นลงไว้ในหลักศิลาจารึก  นับได้ว่ามีคุณค่ามากในการศึกษาประวัติศาสตร์ คนในสมัยหลังได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัยจากจารึกนี้เป็นอย่างมาก เป็นจารึกที่เก่าที่สุด และไม่มีลักษณะของรูปอักษรไทยที่แห่งไหนจะเก่าเท่า ถึงแม้จะพบจารึกอักษรไทยที่คนไทยทำขึ้น จำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย แต่หลักฐานการค้นพบปรากฎว่า จารึกเหล่านั้นมีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา ทั้งสิ้น  รูปอักษรไทยในอาณาจักรสุโขทัยนั้น  ได้เป็นแม่แบบของรูปอักษรไทยในสมัยต่อมา

              จารึกที่คนไทยทำขึ้น ปรากฎหลักฐานในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อคนไทยก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาในแถบลุ่มแม่น้ำยม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งอาณาจักรสุโขทัย ได้ประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น ในปีพุทธศักราช ๑๘๒๖
     ได้ทรงคิดแบบตัวอักษรไทยขึ้นแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเค้าของตัวหนังสือไทยในปัจจุบัน และได้ทรงจารึกเหตุการณ์ในสมัยนั้นลงไว้ในหลักศิลาจารึก  นับได้ว่ามีคุณค่ามากในการศึกษาประวัติศาสตร์ คนในสมัยหลังได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัยจากจารึกนี้เป็นอย่างมาก เป็นจารึกที่เก่าที่สุด และไม่มีลักษณะของรูปอักษรไทยที่แห่งไหนจะเก่าเท่า ถึงแม้จะพบจารึกอักษรไทยที่คนไทยทำขึ้น จำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทย แต่หลักฐานการค้นพบปรากฎว่า จารึกเหล่านั้นมีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา ทั้งสิ้น  รูปอักษรไทยในอาณาจักรสุโขทัยนั้น  ได้เป็นแม่แบบของรูปอักษรไทยในสมัยต่อมา
      
               มนุษย์ในทุกสังคมมีภาษาพูดเป็นของตัวเองทั้งสิ้น นักภาษาประมาณว่าในโลกเรามีภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ทั้งหมดราวๆ ๓๐,๐๐๐  ภาษา แต่ไม่ถึง ๑๐๐ ภาษาที่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง และภาษาไทยก็เป็นภาษาหนึ่งในไม่ถึง ๑๐๐ ภาษานี้ด้วย
                 
                 พ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓ ของอาณาจักรสุโขทัย เป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ หลังจากที่คนไทยรวมตัวกันเป็นบ้านเมือง และมีพระเจ้าแผ่นดินของตนเองแล้ว  ในสมัยนั้นชาวเขมร ชาวพม่า และชาวมอญที่อยู่ใกล้เคียงกับคนไทย มีการปกครองตนเอง และมีอักษรเป็นภาษาของตนเองใช้แล้ว และเพื่อนบ้านเหล่านี้มีจารึกเกี่ยวกับบ้านเมืองของตนเอง เขียนด้วยภาษาของตนเองทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อคนไทยมีบ้านเมือง และมีการปกครองเป็นของตนเอง ก็จำเป็นที่จะต้องมีภาษาเขียนของตนเองด้วย เพื่อให้มีฐานะเท่าเทียมเพื่อนบ้าน พ่อขุนรามคำแหงจึงได้คิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น เพื่อให้ชาวไทยใช้เขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ


                  พยัญชนะไทยในสมัยสุโขทัย
    ในการจารึกอักษรไทยครั้งแรกนั้น ได้ใช้พยัญชนะไม่ครบทั้ง ๔๔ ตัว คือมีเพืยง ๓๙ ตัว โดยขาด ตัว ฌ ฑ ฒ  ฬ และตัว ฮ  ไม่ครบชุดพยัญชนะเหมือนที่ใช้สอนวิชาภาษาไทยในปัจจุบัน  ในบรรดาตัวอักษร ๔๔  ตัว ที่มีมาแต่สมัยโบราณ มีอยู่ ๒ ตัว ที่เราเลิกใช้ไปแล้ว คือ ฃ (ขอขวด)  และ ฅ (คอคน) ที่เราเลิกใช้ก็เพราะเสียง ๒ เสียงนี้เปลี่ยนไปแล้วกลายเป็นเสียงเดียวกันกับ ข (ขอไข่) ค(คอควาย)


                                          สระ

    การเขียนสระในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ต่างจากการเขียนสระในปัจจุบันมาก ทั้งรูปร่างสระ และวิธีการเขียนกล่าวคือเขียนสระอยู่ในบรรทัดเช่นเดียวกับพยัญชนะ


                                วรรณยุกต์

    รูปวรรณยุกต์ที่ใช้เขียนกำกับในยุคสุโขทัย มีเพียง ๒ รูป คือไม้เอก  และไม้โท แต่ไม้โทใช้เป็นเครื่องหมายกากบาทแทน
     

    "
    ... เรามีโชคดีที่มีภาษาเป็นของตนเองแต่โบราณกาล  จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง  คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน  อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้  หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบเป็นประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ  ปัญหาที่สาม  คือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ ... "
                          
                   พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานการประชุมคณะกรรมการชุมนุมภาษาไทย ในการประชุมทางวิชาการ ของชุมนุมภาษาไทย  คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๕ 
     
     
     
     
    อ้างอิง
    จากสารนุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เล่มที่ ๑๖  เรื่องศิลาจารึกและการอ่านจารึก หน้า  ๘๕
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×