ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #9 : ปัจจัยหลักก้าวสู่อาชีพโปรแกรมเมอร์

    • อัปเดตล่าสุด 20 พ.ค. 52


    ปัจจัยหลักก้าวสู่อาชีพโปรแกรมเมอร์
     
                ปัจจุบัน อาชีพนักเขียนโปรแกรม ถือเป็นอีกอาชีพ ที่ได้รับความนิยม ของหนุ่มสาวสมัยนี้ และดูท่าว่าจะเป็นอีกอาชีพหนึ่ง ที่มีแนวโน้มสดใส เพราะไม่สามารถ ปฏิเสธได้ว่า ทุกวันนี้ อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ ของการทำงานในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ ที่จำเป็นต้องมีนักเขียนโปรแกรม เข้ามารับผิดชอบและจัดการระบบ ยิ่งในปัจจุบันเวบไซต์ เพิ่มจำนวนขึ้นมาก การเพิ่มขึ้นของ นักเขียนโปรแกรม ยิ่งมีแนวโน้มจะดูสดใสมากขึ้น

                "ศุภยศ ศิริจำรูญวิทย์" หรือ "วิน" ชายหนุ่ม ที่เพิ่งจบจาก มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ ที่ปัจจุบันเป็นนักเขียนโปรแกรม อยู่ในเวบไซต์ shockmanager.com เวบไซต์ด้านเกมออนไลน์ ซึ่งเขาทำงานด้านนี้มาประมาณ 9-10 เดือนแล้วก้าวแรกเวบวัยรุ่น

                ตั้งแต่เขายังเป็นนักศึกษา ได้คลุกคลีกับการเขียนโปรแกรม มาโดยตลอด เพราะเป็นส่วนหนึ่งในวิชาที่เรียน และโดยส่วนตัว ชอบเล่นคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตมาก่อนแล้ว จึงเริ่มเขียนโปรแกรมครั้งแรก ตั้งแต่เรียนปี 1 และเขียนเรื่อยมาจนถึงขณะนี้ เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นวิชา และต้องทำงานส่งอาจารย์ ดังนั้น เมื่อจบจากมหาวิทยาลัย จึงลองสมัครงานผ่านทางอินเทอร์เน็ต และมาลงเอย เป็นนักเขียนโปรแกรม อยู่ที่เวบไซต์ sodamag.com เพราะเห็นว่าเป็นงานที่น่าสนใจ และตรงกับที่เรียนมา จึงทดลองทำดู

                ส่วนความรับผิดชอบแรก ในฐานะนักเขียนโปรแกรม อยู่ที่การวิเคราะห์ระบบของเวบไซต์ shockmanager.com ซึ่งเป็นเวบกีฬาว่า จะต้องมีอะไรบ้าง รวมถึงต้องพิจารณาออกแบบหน้าจอว่าจะต้องมีรูปแบบอย่างไรด้วย เป็นนักเขียนโปรแกรมต้องอดทน

                นายศุภยศ กล่าวต่อด้วยน้ำเสียงเรียบๆ แต่จริงจัง ถึงประสบการณ์ที่ได้สัมผัส และคลุกคลีกับงานนักเขียนโปรแกรมมาแล้ว 7-8 เดือนว่า “จริงๆ แล้วอาชีพนักเขียนโปรแกรม เป็นอาชีพที่ต้องมีความอดทน มีความรับผิดชอบ และเสียสละเวลาอย่างมาก เพราะไม่ใช่อาชีพที่เข้างาน-ออกงานตามเวลาเหมือนอาชีพอื่นๆ บางครั้งหากงานเร่งก็ต้องอยู่ทำให้เสร็จตรงตามกำหนด ที่ส่วนใหญ่ก็จะเลิกดึก ถึงขนาดค้างออฟฟิศก็ยังเคย แต่ก็ยังรู้สึกสนุกกับงานนี้อยู่”

                ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้ไม่เบื่อกับงานนี้ นอกจากความชอบที่จะทำส่วนตัว เพราะเป็นเสมือนเราเป็นผู้สร้าง ดังนั้น จึงเป็นเหมือนความภูมิใจขึ้นมาว่า เวบที่ช่วยกันทำนั้น คนทั่วโลกสามารถเข้ามาดูข้อมูล คนทั่วโลกสามารถเห็นสิ่งที่เราสร้างมา ต้องอัพเดทความรู้ใหม่ๆเสมอ

                ขณะเดียวกัน สำหรับอาชีพนักเขียนโปรแกรม ก็เป็นอาชีพที่เขาเชื่อว่า น่าจะไปได้ด้วยดี เพราะด้วยกระแสการบูมของอินเทอร์เน็ต ที่อาจจะบูมเท่าๆ กับในต่างประเทศ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และในองค์กรธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันก็มีความต้องการ นักเขียนโปรแกรม เข้ามารับผิดชอบ ระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพราะขณะนี้ระบบคอมพิวเตอร์ กับบริษัทองค์กรธุรกิจแทบจะไม่สามารถแยกกันออก

                "คนที่จะเข้ามาทำอาชีพนักเขียนโปรแกรม จะต้องพยายามหาความรู้ใหม่ๆ อัพเดทให้กับตัวเองอยู่เสมอ เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เดินไปข้างหน้าเร็วมาก" วินกล่าว

                อย่างไรก็ตาม วิน ยังได้กล่าวให้ความเห็นเกี่ยวกับวงการเวบไซต์ไทย ในฐานะที่คลุกคลีอยู่ในวงการนี้มาเกือบปีว่าเวบไซต์ของไทยพัฒนาขึ้นมากเทียบเท่ากัต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของความฉลาดของเวบ ในการค้นหาข้อมูลที่เร็วขึ้นมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่น่าสนใจ และเชื่อว่า สื่ออินเทอร์เน็ตในอนาคต จะกลายเป็นสิ่งที่มี ความโดดเด่นเทียบเคียงกับวิทยุโทรทัศน์เลยทีเดียว

                สำหรับตัวเขานั้นช่วงนี้ยังคงยึดอาชีพนักโปรแกรมเช่นนี้ไปเรื่อยๆ "ยังสนุกกับงานอยู่ เป็นความภูมิใจ ที่ในส่วนของครอบครัวเองก็ไฟเขียว ให้ทำได้ เพราะถือเป็นอาชีพใหม่ที่ท้าทาย และเห็นว่าจบมาทางสายนี้ และในอนาคต หากจะทำอาชีพอื่น คงอยู่ในแวดวงอินเทอร์เน็ตนี่แหล่ะครับ" วินกล่าวก่อนจบการสัมภาษณ์วันนั้น
     
     
     
     
    อาชีพโปรแกรมเมอร์กับการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์

                ในยุคที่เทคโนโลยีได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว คงไม่มีใครปฏิเสธว่าสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้เข้ามาปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ให้มีความสะดวกสบายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
    คอมพิวเตอร์ ก็เป็นอีกผลงานหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน เราใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการทำงานในออฟฟิส การจัดการเอกสาร การค้นหาข้อมูล หรือแม้กระทั่งการติดต่อสื่อสารกับคนที่อยู่ต่างสถานที่ในเวลาที่รวดเร็ว บุคคลผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผลงานเหล่านี้ คือ ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ที่บุกเบิกสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมขึ้นมา พวกเขาทำงานกันอย่างไร ต้องมีความรู้และคุณสมบัติอย่างไรเพื่อจะเป็นโปรแกรมเมอร์ วันนี้เรามาทราบกันค่ะ
     
     
    ลักษณะการทำงานของนักโปรแกรมเมอร์

                 โปรแกรมเมอร์ จะทำหน้าที่ นำข้อมูลการออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ จากนักวิเคราะห์ระบบงาน มาเขียนเป็นโปรแกรมต่าง ๆ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะแตกต่างกันไปตามลักษณะเครื่องของระบบฐานข้อมูล ทดสอบระบบและส่งให้นักวิเคราะห์ระบบทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อหากจุดบกพร่องและแก้ไขก่อนนำไปใช้จริง

                  โปรแกรมเมอร์ยังต้องทำหน้าที่ รับรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบ (User) จากนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) จัดทำแผนภูมิ (Flowchart) ขั้นตอนการทำงานที่ละเอียด และถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อประโยชน์ในการเขียนโปรแกรมสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์แผนภูมิหรือแผนผังสายงาน แต่เพียงบางส่วนหรือทั้งหมด


    คุณสมบัติที่จำเป็นในการเป็นโปรแกรมเมอร์

    • มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเข้ารับศึกษาได้ในสถานบันการศึกษาที่เรียนทำการสอนหรือสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์

    • มีทักษะในการการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์

    • มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์และดัดแปลงความรู้ความสามารถทางด้านโปรแรกมคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี

     
     

    ความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ

                   นักเขียนโปแกรมคอมพิวเตอร์สามารถเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นได้ หากมีความสามารถในการวิเคราะห์ระบบและมีทักษะในการสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ที่ดี สามารถก้าวไปยังตำแหน่ง นักวิเคราะห์ระบบงานหรือตำแหน่งที่สูงขึ้นไปอีกก็ได้ หรืออาจจะหาอาชีพเสริมได้ด้วยการรับสอนภาษาคอมพิวเตอร์และรับเขียนโปรแกรมและวางระบบคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ รับเขียนโปรแกรมสำเร็จรูป หรือจัดตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ก็ได้
     

    ความต้องการของตลาดแรงงาน

                   การพัฒนาศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ยังสามารถขยายตัวไปได้อีกมาก จำนวนโปรแกรมเมอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงยังไม่เพียงพอกับความต้องการขยายตลาดวงการไอที อาชีพนี้จึงยังมีแนวโน้มความต้องการในตลาดแรงงานค่อนข้างสูงและให้ผลตอบแทนสูง สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์และความสามารถมาก ดังนั้นโปรแกรมเมอร์จึงควรที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้นเพื่อนำมาปรับปรุงใช้ในงานและพัฒนาฝีมือให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    อ้างอิง
    http://my.dekd.com/Writer/story/viewlongc.php?id=325967&chapter=41
    http://www.2poto.com/vbwebboard/00250.html
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×