ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #8 : มลภาวะจากกัมมันตะรังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ

    • อัปเดตล่าสุด 20 พ.ค. 52


    รังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งได้จากการสลายตัวของกัมมันตภาพวัตถุกลายเป็นธาตุต่าง ๆ ธาตุกัมมันตภาพรังสีที่สำคัญมีอยู่ 2 ตระกูลคือ ยูเรเนี่ยม (Uranium) และทอเรี่ยม (Thorium) ธาตุทั้งสองนี้ต่างก็สลายตัวเป็นธาตุต่าง ๆ หลายธาตุที่น่าสนใจคือ ตระกูลยูเรเนี่ยมให้ธาตุเรดอน (Radon) และตระกูลทอเรี่ยมให้ธาตุโทรอน (Thoron) ทั้งเรดอนและโทรอน มีสภาพเป็นก๊าซลอยขึ้นมาจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศอยู่ตลอดเวลา ธาตุทั้ง 2 นี้ จะส่งกัมมันตรังสีออกเป็นหลายช่วง กลายเป็นธาตุต่าง ๆ ดังนั้นทุกครั้งที่เราหายใจเอากาศเข้าปอด ย่อมได้รับส่วนของรังสีของธาตุต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วเข้าไปด้วย จากการติดตามข่าว ปรากฎว่าทางภาคอีสานมีธาตุกัมมันตรังสีอยู่ ตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมาจนถึงจังหวัดขอนแก่น ส่วนทางภาคใต้ก็มีขี้แร่ดีบุก พวกโมโนไซด์เป็นแร่ธาตุที่มีกัมมันตรังสีอยู่เช่นกัน แถวสงขลา นราธิวาส ขณะนี้ทำเป็นเม็ดยูเรเนี่ยมได้แล้ว ส่วนทางภาคเหนือยังไม่มีการสำรวจ คาดว่าคงจะพบเช่นกัน ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้รับรังสีก็ย่อมมี นอกจากนั้นสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อม ยังได้วิจัยเพื่อวัดปริมาณของเรดอนและโทรอน โดยดูดอากาศกลางแจ้งผ่านกระดาษกรองเผาเป็นเถ้าเพื่อลดปริมาณของกระดาษกรอง แล้ววัดปริมาณของรังสีมีผลเฉลี่ยที่น่าสนใจ คือ ในฤดูหนาวมีลมพัดจากแผ่นดินใหญ่จีนเข้าสู่ประเทศไทยทางทิศเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือ จะนำเอาก๊าซทั้งสองชนิดเข้ามาโดยมีค่าเฉลี่ยดังนี้
     
     
    เรดอน (Radon) 186 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
     
    โทรอน (Thoron) 5 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
     
    ส่วนฤดูร้อนและฤดูฝนมีลมพัดมาจากทิศใต้ ผ่านทะเลเป็นส่วนใหญ่ ผ่านแผ่นดินน้อย การวัดพบว่า มีก๊าซทั้งสองน้อยกว่าฤดูหนาวมีคือ
     
    เรดอน (Radon) 122 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
     
    โทรอน (Thoron) 3 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาสก์เมตร
     
    ผลเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีดังนี้
     
    เรดอน (Radon) 120 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
     
    โทรอน (Thoron) 3 ปิโกคูรี่ต่อลูกบาศก์เมตร
     
     
    มวลสารทั้งหลายประกอบไปด้วยอนุภาคเล็ก ๆ ที่เราเรียกว่า อะตอม (Atom) หรือภาษาราชการเรียกว่า ปรมาณู แต่ละอะตอมประกอบด้วย นิวเคลียส (Nucleus) เป็นแกนกลางมีบริเวณวิ่งรอบเรียกว่า อีเล็กตรอน (Electron) คล้าย ๆ พระจันทร์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ตัวอย่างเช่น คาร์บอน 12 แสดงเป็นรูปข้างล่างนี้
     
    ในแต่ละธาตุประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอยู่ในนิวเคลียส ซึ่งจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสนี้เรียกว่า "เลขอะตอม" (Atomic number) แต่ละธาตุจะมีจำนวนต่างกัน ตัวอย่างเช่น อะตอมของไฮโดรเจนมีโปรตอน 1 อนุภาค อะตอมของยูเรเนี่ยมมีโปรตอน 92 อนุภาค ธาตุเดียวกันมีโปรตอนเท่ากัน แต่อาจจะมีนิวตรอนต่างกันได้ สิ่งนี้เองเป็นเหตุให้ธาตุเดียวกันแบ่งออกได้อีกหลายชนิด แต่ละชนิดมีมวล (Mass) ไม่เท่ากัน เช่น โปรเตียม เขียนได้ดังนี้ 1H1 (1P + 1N) คิวเทียม 1H2 (1P + 2N) ทริเตียม 1H3 (1P + 3N) ซึ่งก็เนื่องมาจากมีจำนวนนิวตรอนต่างกันนั่นเอง และมีชื่อเรียกแต่ละชนิดนี้ว่าเป็น ไอโซโทป (Isotope) ของธาตุนั้น ๆ ไอโซโทปแบ่งออกได้เป็น พวก คือ ไอโซโทปที่อยู่ตัว (Stable Isotope) และไอโซโทปที่ไม่อยู่ตัว มีการแผ่รังสีออกมาเรียกว่า เรดิโอไอโซโทป (Radio Isotope) เพื่อให้เข้าใจง่ายเข้า รังสีไอโซโทป (Isotope) ก็คือ อะตอมของธาตุที่มีอะตอมมิกนัมเบอร์ (Atomic number) อันเดียวกัน คุณสมบัติทางนิวตรอน (neutron) ต่างกัน และมีน้ำหนักต่างกันด้วย คุณสมบัติทางฟิสิกส์ต่างกัน แต่ทางเคมีเกือบเหมือนกันทุกประการจะต่างกันก็ที่อัตราความเร็วในการทำปฏิกริยาเท่านั้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติของธาตุนั้น ๆ ตามธรรมชาติ
     
    ธาตุบางชนิด จะมีการแผ่รังไอโซโทปออกไปไม่หยุดยั้ง เช่น ธาตุยูเรเนียม (Uranium) ทอเรี่ยม (Thorium) และธาตุเรเดียม (Radium) เป็นรังสีที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น อีเล็กตรอนของธาตุเหล่านี้จะแผ่รังสีให้รังสีเอ๊กซ์ (X-ray) รังสีเอ๊กซ์ก็คือ รังสีที่มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ประมาณตั้งแต่ 1016 ถึง 1021 เฮิร์ตซ์ (Herzt) (เฮิร์ตซ์ ก็คือ คำนวนความถี่ของลูกคลื่นในหนึ่งหน่วยเวลา) แต่ถ้ารังสีที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 4 x 10-7 = 0.0,000,007 เมตร เป็นกลุ่มรังสีที่ประสาทตาของเรารับรู้ได้ เราเรียกว่าแสง (Light) ส่วนนิวเคลียส (Nucleus) ก็จะแผ่รังสีออกมาเป็นรังสีอัลฟา (Alpha rays) รังสีเบต้า (Bata rays) และรังสีแกมม่า (Gamma rays) ซึ่งรังสีแกมม่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ประมาณ 1019 ถึง 1022 เฮิร์ตซ์ (ส่วนรังสีอัลฟาและเบต้า ไม่มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) รังสีเหล่านี้เป็นอันตรายต่อมนุษย์เพราะเป็นรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตภาพวัตถุ ซึ่งสามารถทะลุทะลวงผ่านผิวหนังของคนได้ บางชนิดสามารถทะลุทะลวงแผ่นเหล็กหนาหนา 25 เซนติเมตร กระดาษ แผ่นอลูมิเนียม แผ่นตะกั่วที่มีความหนา 8 เซนติเมตร หรือกำแพงซีเมนต์ได้ ซึ่งแสดงว่า รังสีเหล่านี้เป็นอันตราย ถ้าผ่านร่างกายของมนุษย์ก็จะทำลายเซลล์ในร่างกาย (ดูภาพประกอบ)
     
    อันตรายจากรังสี
     
    เมื่อรังสีเข้าสู่ร่างกายแล้ว ร่างกายจะเกิดอาการผิดปกติทั้งภายนอกและภายใน เช่น ผมร่วง ผิวหนังไหม้เกรียม เป็นแผลเรื้อรัง เป็นมะเร็ง เป็นอันตรายต่อระบบประสาท หัวใจ เม็ดเลือด และทำให้การไหลเวียนของโลหิตเสียไป ถ้าได้รับรังสีเข้าไป 400 เร็ม-500 เร็ม มีโอกาสตาย 50% ถ้าได้รับ 1,000 เร็ม ตาย 100% อาการหลังจากถูกรังสีเป็นปริมาณ 100 เร็ม-250 เร็ม มีอาการเวียนศีรษะและอาเจียนเป็นอยู่ 2 สัปดาห์ ถ้ามากกว่า 700 เร็ม ผมร่วง เจ็บคอ ตกโลหิตที่อวัยวะภายใน ตกโลหิตที่ผิวหนัง ทางเดินอาหาร มีอาการเปลี่ยนแปลงทางโลหิต
     
    1. อันตรายของรังสีต่อเซลล์ในร่างกาย มีคือ
       ก. มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) โดยมากมักจะเป็นกับเด็กที่รับการรักษาทางด้านรังสี พวกแพทย์ พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านรังสี
       ข. มะเร็งที่กระดูก โดยเฉพาะเรเดี่ยม มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับธาตุแคลเซียม จะเกาะ กระดูกแล้วแผ่รังสีออกมาทำให้เป็นมะเร็งที่กระดูก
       ค. มะเร็งที่ปอด หายใจเอากัมมันตรังสีเป็นก๊าซปะปนเข้าไป ทำให้เกิดเป็นมะเร็งที่ปอดได้
       ง. มะเร็งที่ต่อมทัยรอยด์
       จ. ผลเสียจากรังสีทำให้คนอายุสั้น เช่น แพทย์รังสีมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าแพทย์ทั่ว ๆ ไป
       ฉ. ผลเสียต่อเซลล์สืบพันธุ์ ทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กออกมาพิการ อ่อนแอ ไม่ แข็งแรง เป็นต้น
     
    2. หน่วยวัดปริมาณของรังสี หน่วยวัดรังสีเป็น เรินต์เกน (Roentgen) สำหรับรังสีในร่าง กายมีหน่วยเป็น เร็ม (Rem) ย่อมาจากภาษาอังกฤษคือ "Roentgen equivalent man" องค์การระหว่างประเทศกำหนดว่าปริมาณของรังสี โดยเอาอายุคนงานที่ทำงานเกี่ยวกับรังสี คือ มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์มาเป็นเกณฑ์คำนวน คือ ปริมาณรังสีสะสมที่ได้รับสูงสุดแต่ละบุคคลที่ทำงานแล้วไม่เกิดอันตราย-5 (N-18) เร็ม
    N- อายุของบุคคลนั้นโดยถ้าอายุ 18 ปี จะต้องได้รับปริมาณรังสี 5 เร็ม เป็นค่ามากที่สุดที่จะไม่เกิดอันตราย
     
     
     
     
    สืบค้นจาก   http://www.school.net.th   (วันที่ 30 พฤศจิกายน 2551)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×