ลำดับตอนที่ #6
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North America Free Trade Area : NAFTA)
ความเป็นมา
ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ เป็นข้อตกลงเพื่อเปิดการค้าเสรีระหว่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก โดยมีพื้นฐานมาจากเขตการค้าเสรีสหรัฐฯ-แคนาดา (U.S.-Canada Free Trade Area : FTA) ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2532 และความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโก ซึ่งได้เริ่มตั้งแต่ปี 2530
ต่อมาได้มีการเจรจาเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ โดยเริ่มเจรจาสาระของเขตการค้าเสรีฯ ในเดือนมิถุนายน 2534 และผู้นำทั้งสามชาติได้ร่วมลงนามรับรองเขตการค้าเสรี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2535 ซึ่ง NAFTA เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537
สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ต่างให้การสนับสนุน NAFTA ด้วยเหตุผลดังนี้
สหรัฐฯ
- เพื่อลดปัญหาชายแดนสหรัฐฯ-เม็กซิโก ปัญหายาเสพติด ปัญหามลภาวะ และปัญหา ลักลอบเข้ามาทำงานอย่างไม่ถูกกฏหมายของชาวเม็กซิโกตามรัฐชายแดนภาคใต้ของสหรัฐฯ
- มุ่งใช้ NAFTA เป็นฐานการค้าหลัก แก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าภายในประเทศ
- สหรัฐฯ ต้องการให้ NAFTA เป็นฐานต่อรองทางการค้ากับกลุ่มการค้าต่างๆ เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และสหภาพยุโรป (EU)
แคนาดา
- แคนาดาจะมีศักยภาพการแข่งขันในระยะยาวมากขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างๆ ของแคนาดาจะปรับปรุงโครงสร้างการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเพื่อรับมือภาวะถดถอยของ แคนาดาในระยะแรก
- NAFTA จะช่วยให้เศรษฐกิจของเม็กซิโกดีขึ้น เม็กซิโกจะเป็นตลาดการค้าที่ใหญ่ที่สุดใน ลาตินอเมริกาสำหรับแคนาดา
เม็กซิโก
- NAFTA จะทำให้เม็กซิโกได้รับประโยชน์จากการตึงดูดเงินทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เป็นผลให้เม็กซิโกสามารถแข่งขันกับกลุ่มการค้าต่างๆ ได้มากขึ้น
- เม็กซิโกสามารถเพิ่มศักยภาพการลงทุนในประเทศมากยิ่งขึ้น เนื่องจากอัตราค่าจ้างต่ำและเป็นเขตปลอดภาษีศุลกากร
วัตถุประสงค์ของ NAFTA
2.1 เพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าและบริการระหว่างประเทศภาคีด้วยการยกเลิกภาษีศุลกากรและมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรให้แก่กันและกัน NAFTA ได้แบ่งสินค้าออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่ม A ลกเลิกภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537 กลุ่ม B ลดภาษีร้อยละ 20 ต่อปี ภายใน 5 ปี กลุ่ม C ลดภาษีร้อยละ 10 ต่อปี ภายใน 10 ปี และกลุ่ม D ซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้าย เป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวมาก จะยกเลิกภาษีภายใน 15 ปี
2.2 ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมในเขตการค้าเสรี
2.3 ขยายโอกาสการลงทุนในดินแดนของประเทศภาคี
2.4 คุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอและให้มีการใช้บังคับอย่างจริงจัง
2.5 แก้ไขข้อพิพาททางการค้า
2.6 ส่งเสริมความร่วมมือในระดับต่างๆ คือ ไตรภาคี พหุภาคี และความร่วมมือในภูมิภาค เพื่อขยายและเพิ่มพูนผลประโยชน์ของเขตการค้าเสรีนี้
ความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก
3.1 NAFTA มีผลต่อเศรษฐกิจการค้าโลกในแง่ที่ NAFTA หรือสมาชิก NAFTA ไปทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจการค้า หรือเพิ่มสมาชิกหรือขยายเขตการค้าเสรีให้ใหญ่ในทวีปอเมริกา เช่น
1) ปัจจุบันสหภาพยุโรปได้จัดทำเขตการค้าเสรีกับเม็กซิโก ซึ่งมีการลงนามเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2543 และเริ่มผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 เป็นความตกลงจัดทำเขตการค้าเสรีครั้งแรกในประว้ติศาสตร์ระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศในลาตินอเมริกา ซึ่งจะมีผลสำคัญต่อการค้าโลก เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่มีการเชื่อมโยงการค้าเสรีระหว่างประเทศกลุ่ม NAFTA (3 ประเทศ) กับสหภาพยุโรป โดยความตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นจากความต้องการและการผลักดันและการผลักดันอย่างมากของสหภาพยุโรป
2) สหรัฐฯ กำลังศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับการจัดทำความตกลงทางการค้าระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก NAFTA กับสหราชอาณาจักร การจัดทำความตกลงนี้ เป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสมาชิกสหภาพยุโรปดีขึ้น ซึ่งความตกลงนี้จะทำให้เกิดผลบวกต่อการค้า เช่น จะมีการปรับลดอัตราภาษีสินค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสมาชิกสหภาพยุโรปดีขึ้น ซึ่งความตกลงนี้จะทำให้เกิดผลบวกต่อการค้า เช่น จะมีการปรับลดอัตราภาษีสินค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสหราชอาณาจักรมากขึ้น NAFTA จะส่งออกและนำเข้าสินค้าจากสหราชอาณาจักรเพิ่มมากขึ้น
3.2 NAFTA เป็นตัวอย่างในการใช้กระบวนการแบบพหุภาคีและแบบภูมิภาคร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการค้าอย่างโปร่งใส
การพัฒนานโยบายของ NAFTA เป็นการเสริมความพยายามของ WTO ที่จะเพิ่มความโปร่งใสด้านนโยบายเกษตรและลดผลที่จะเกิดจากความบิดเบือนทางการค้า สมาชิก NAFTA เองได้ใช้แผนงานเกษตรที่มีความบิดเบือนด้านการค้าน้อยอยู่แล้ว เพาะความกดดันด้านงบประมาณของแต่ละประเทศ นโยบายให้มีการเปิดตลาดมากขึ้น และมีการแทรกแซงจากรัฐบาลน้อยลง รวมทั้งปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้นของ NAFTA เองได้กดดันให้ประเทศสมาชิกต้องแก้ปัญหาความขัดแย้งในด้านกฎระเบียบและการอุดหนุนทางด้านเกษตรของแต่ละประเทศ จะเห็นได้ว่า NAFTA ได้เริ่มพิจารณาข้อปัญหาซึ่งจะมีการพูดถึงในการเจรจาแบบพหุภาคีของ WTO ในปี 1999 บ้างแล้ว ในขณะเดียวกัน WTO เองเป็นเวทีสำหรับขจัดข้อขัดแย้งใน NAFTA ได้ แสดงให้เห็นว่า กระยวนการแบบพหุภาคีและแบบภูมิภาคสามารถดำเนินการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างประเทศ
3.3 NAFTA มีอิทธิพลต่อการรวมกลุ่มและการทำความตกลงการค้าเสรีอื่นๆ เช่น การประชุมสุดยอดทวีปอเมริกา ครั้งที่ 3 ที่ประเทศแคนาดา เมื่อเดือนเมษายน 2544 ได้มีการหารือในเรื่องของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา แต่ได้มีการคัดค้านจากหลายประเทศในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและแรงงาน โดยที่เรื่องดังกล่าวมีกรอบการเจรจาเดียวกันกับ NAFTA ซึ่งเป็นอิทธิพลในการตัดสินใจของกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น บราซิล อาร์เจนตินา ปารากวัย แลอุรุกวัย นอกจากนี้ ประชาชนสหรัฐฯ และ NGOs ยังได้ชูประเด็นตัวอย่างของ NAFTA กรณีการย้ายถิ่นฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีแรงงานถูก ทำให้อัตราการว่างงานของชาวสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เป็นการสร้างแรงงานคัดค้านเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา มีแผนที่จะใช้แนวทางและกรอบเหมือนกับการจัดตั้ง NAFTA
ความสำคัญต่อไทย
NAFTA เป็นตลาดสำคัญของไทย ปี 2537 ไทยส่งออกไป NAFTA ประมาณร้อยละ 22.5 ของมูลค่าส่งออกรวม สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปตลาด NAFTA เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
แม้ NAFTA จะมีภาคีสมาชิกเพียงสามประเทศ แต่เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจการค้าโลก รายได้ประชาชาติของทั้งสามประเทศรวมกันมากกว่า 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีประชากรถึง 370 ล้านคน มูลค่าการค้ารวมกันประมาณ 1,700 พันล้านเหรีบญสหรัฐ ในระยะสั้น ผลกระทบค่อนข้างมีจำกัด ทั้งนี้เนื่องจากเม็กซิโกยังมีปัญหาในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ฝีมือแรงงานและความพร้อม ในระยะยาว คาดว่าNAFTA จะส่งผลกระทบต่อไทย โดยเม็กซิโกอาจมีความได้ทางการแข่งขันมากขึ้น
การขยายตัวของการลงทุนของต่างชาติในเม็กซิโก อาจส่งผลให้การลงทุนต่างประเทศในไทยลดลง นอกจากนี้การขยายตัวการลงทุน จะทำให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้าของเม็กซิโกด้วย
ประเทศไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบทุกดุลการค้าต่อเขตการค้าเสรีอเมริการเหนือ ซึ่งเป็นตลาดสำคัญอันดับ 2 ของไทยรองจากญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1996 ไทยส่งออกประมาณร้อยละ 19.2 ของมูลค่าส่งออกรวม โดยมีสินค้าสำคัญ คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ และ ส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า อาหารกระป๋อง กุ้งแช่แข็ง อัญมณี และ เครื่องประดับ รองเท้า และ ชิ้นส่วน ตลอดจนเครื่องรับวิทยุ และ ส่วนประกอบ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น