ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #22 : แมงดาทะเล

    • อัปเดตล่าสุด 20 พ.ค. 52


    แมงดาทะเลเป็นสัตว์ที่เกิดขึ้นในยุคโบราณประมาณ 360 ล้านปีมาแล้ว จากซากสัตว์โบราณ ( fossil ) ที่สำรวจพบปรากฎว่ามีรูปร่างใกล้เคียงกับแมงดาทะเลในปัจจุบันมากแสดงว่าแมงดาทะเลสามารถรักษาโครงสร้างของบรรพบุรุษ และสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมอย่างดี ดังนั้น แมงดาทะเลจึงมีชื่อเรียกว่า " Living fossil " หรือ " ฟอสซิลที่ยังมีชีวิตอยู่ "        
                แมงดาทะเลชื่อภาษาอังกฤษ (common name) เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า Horseshoe crab , King crab มีชื่อเป็นปู (crab) ทั้งที่แมงดาทะเลไม่ใช่ปูหรือกุ้ง แท้ที่จริงแล้ว แมงดาทะเลถูกจัดอยู่ในพวกเดียวกับแมงป่อง และแมงมุม เพราะมีลักษณะโครงสร้างและมีอวัยวะภายในคล้ายกัน แม้ว่าแมงดาทะเลจะอาศัยอยู่ในทะเลโดยมีเหงือกสำหรับหายใจและมีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งต่างจากแมงมุม และแมงป่อง ที่อาศัยอยู่บนบกและไม่ใช้เหงือกหายใจก็ตาม
    ร่างกายของแมงดาทะเลสามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนด้วยกันคือส่วนเรียกว่า prosoma เป็นแผ่นกว้างโค้งรูปครึ่งวงกลมคล้ายเกือกม้า ด้านบนมีตาข้าง (lateral eyes) 1 คู่เป็นตาประกอบ มี ommatidia หลายร้อยหน่วยที่ไม่สามารถรับภาพได้ แต่สามารถจับการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆได้ มีตากลาง (median eyes) ขนาดเล็กหลายอันทำหน้าที่รับแสง รยางค์บน prosoma มีด้วยกัน 7 คู่ดังนี้ รยางค์คู่แรกคือ chelicerae ปลายรยางค์เป็นก้ามหนีบทำหน้าที่จับอาหาร รยางค์คู่ที่สองคือ pedipalpi ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับรยางค์สามคู่ถัดมาซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ (walking legs) เพียงแต่ว่าในตัวผู้ ที่ปล้องสุดท้ายของ pedipalpi จะโป่งเป็นกระเปาะและปลายสุดจะงอเป็นตะขอเพื่อใช้เกี่ยวกับตัวเมียระหว่างผสมพันธุ์ ในปล้องสุดท้ายของขาเดินคู่สุดท้ายจะเปลี่ยนรูปร่างจากเป็นก้ามหนีบมาเป็นแผ่นแบนๆคล้ายใบไม้เพื่อช่วยในการขุดทรายหรือโคลน บริเวณ coxae ของ pedipalpi และ coxae ของขาเดิน 3 คู่แรกจะมีแผงขนแข็งอยู่รอบด้านในเรียกว่า gnathobase มีหน้าที่ช่วยกรองอาหารเข้าปาก ส่วนขาเดินคู่สุดท้ายไม่มี gnathobase แต่จะมีอวัยวะทำความสะอาดเหงือกเรียกว่า flabellum รยางค์คู่สุดท้ายของส่วน prosoma คือ chilaria มีหน้าที่ช่วยในการกินอาหารโดยช่วยผลักชิ้นส่วนอาหารไปข้างหน้า ในส่วนของ opisthosoma จะเชื่อมต่อกับส่วน prosoma โดยมีโครงสร้างคล้ายบานพับและกล้ามเนื้อยึดเอาไว้ ทำให้สามารถขยับขึ้นลงได้ ขอบด้านข้างจะมีหนามข้างละ 6 อันสามารถเคลื่อนไหวได้และเกี่ยวข้องกับการรับความรู้สึก รยางค์คู่แรกของ opisthosoma คือ แผ่นปิดของรูสืบพันธุ์ (genital operculum) รยางค์อีก 5 คู่ถัดมาเรียกว่าแผ่นเหงือก แผ่นเหงือกแต่ละข้างจะมีแผ่นเหงือกย่อย (gill leaflets) จำนวนมาก ส่วนท้ายสุดของลำตัวมีหาง (telson) ทำหน้าที่ช่วยยันพื้นเพื่อช่วยพลิกตัวหากว่าต้องหงายท้อง
    หัวใจของแมงดาทะเลจะเป็นท่อยาวตั้งแต่ prosoma ไปจนถึง opisthosoma มีรูเปิดเข้าหัวใจ (ostia) 8 คู่ซึ่งมีลิ้น (valve) คอยควบคุมการปิดเปิด เลือดที่ใช้แล้วจะไปรวมที่ haemocoelic sinus และส่งเลือดไปฟอกที่แผ่นเหงือกก่อนกลับไปสู่ ostia ต่อไป เลือดมีเซลล์อะมีโบไซท์ทำให้เลือดแข็งตัวและมีขบวนการ phagocytosis เหมือนในเม็ดโลหิตขาว แมงดาทะเลจะมีต่อมที่โคนขา (coxal gland) ทำหน้าที่ในการขับถ่ายโดยไปเปิดออกที่ขาเดินคู่สุดท้าย รังไข่และอัณฑะจะอยู่ติดกับลำไส้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะขยายไปเจริญเติบโตในส่วนของ prosoma ด้วย
    การสืบพันธุ์ ( Reproductive system ) แมงดาทะเลเป็นพวกที่มีเพศแยก (dioecious) ลักษณะ ภายนอกของตัวผู้และตัวเมียจะแตกต่างกันเล็กน้อย เมื่อเจริญเต็มที่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่และ แข็งแรงกว่าตัวผู้ บริเวณด้านล่างของส่วนหัวของตัวผู้จะโค้งเว้าเข้าไปมากกว่าเมื่อเทียบกับตัวเมียเพื่อประโยชน์ในการเกาะติดกับส่วนท้องด้านหลังของตัวเมีย ขาเดินคู่ที่สอง  ( และคู่ที่สามในบางชนิด ) จะดัดแปลงไปมีลักษณะเหมือนขอจับเรียกว่า แคสเปอร์( clasper )เพื่อไว้จับเกาะติดกับด้านหลังของตัวเมียเช่นกัน หนามบริเวณขอบด้านข้างของส่วนท้อง ( marginal spine ) มีความแตกต่างกันในตัวผู้และตัวเมีย ต่อมที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ ( reproductive gland ) จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นท่อวาสเดฟเฟอเรนเทีย ( vasdeferentia ) 1 คู่ ในตัวผู้และเป็นท่อนำไข่ ( oviduct ) 1 คู่ในตัวเมีย ซึ่งจะเปิดออกสู่ภายนอกที่ฐานของแผ่นปิดเหงือก ( gill operculum หรือ genital operculum ) ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการผสมพันธุ์ copuratory organ ไข่เป็นแบบเซนโทรเลซิทัล ( centrolecithal ) คือมีปริมาณไข่แดง ( yolk ) เป็นจำนวนมากอยู่ในบริเวณกึ่งกลาง และส่วนของไซโตปลาสซึ่ม          ( cytoplasm ) จะอยู่ในบริเวณรอบๆ ไข่สามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มได้ในช่วงกว้าง ( euryhaline ) และยังสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงความชื้นได้สูงอีกด้วย แมงดาทะเลจะมีวัยเจริญพันธุ์เต็มที่ ( sexual maturity )เมื่ออายุประมาณ 9-12 ปี
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×