ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #19 : อุบัติภัยจากกัมมันตภาพรังสี

    • อัปเดตล่าสุด 20 พ.ค. 52


    อุบัติภัยจากกัมมันตภาพรังสี

                   ทุกวันนี้มนุษย์ได้ใช้พลังงานที่มีกัมมันตภาพรังสีให้เกิดประโยชน์หลายประการ
    ได้แก่ เรเดียมรักษาโรคมะเร็ง การทำสารพรายน้ำที่หน้าปัดนาฬิกา หรืออุปกรณ์ที่ต้อง
    การให้เห็นในที่มืด เครื่องเอกซเรย์สำหรับตรวจหรือบำบัดโรค เครื่องเร่งอนุภาคกำลังสูง
    เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น แม้ว่าจะเกิดประโยชน์อย่างมาก
    แต่ก็มีโทษอย่างมหันต์ เพราะกัมมันตภาพรังสีจะทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์อย่างมาก
    โดยแท้จริงแล้วมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ นับแต่มีชีวิตถือกำเนิดขึ้นมาในโลก
    ก็ต้องอยู่ท่ามกลางกัมมันตภาพรังสี ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะมีปริมาณไม่
    มากนัก และยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าจะมีอันตรายหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใด
    หรือไม่ แต่ก็เชื่อกันว่ากัมมันตภาพรังสีเพียงเล็กน้อยในธรรมชาติคงจะไม่เป็นอันตราย
    แต่ถ้าได้รับเกินขอบเขตก็จะเป็นอันตรายได้กัมมันตภาพรังสี คือ พลังงานที่ปลดปล่อยออกมานิวเคลียสของปรมาณู เป็นรังสีที่มนุษย์มองไม่เห็น บางชนิดมีลักษณะคล้ายแสงกระจายออกมาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า บางชนิดเป็นก้อนหรือเม็ดที่เล็กมาก เรียกว่า อนุภาค กัมมันตภาพรังสีที่เกิดจากแร่ธาตุธรรมชาติและจาการกระทำของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ 

    1. รังสีที่เป็นอนุภาค มีคุณสมบัติทำให้เกิดการแตกตัวในวัตถุที่มันวิ่งผ่านไป ได้แก่
                  •รังสีแอลฟา (alpha ray) รังสีนี้มาจากนิวเคลียสของอะตอมของสารกัมมันตภาพรังสี
    ที่กำลังสลายตัว มีอำนาจทะลุน้อย วัตถุบางๆ ก็อาจจะหยุดยั้งการเดินทางของรังสีนี้ได้
    รังสีนี้มีอยู่ในธรรมชาติที่กระจายตัวออกมาตามปกติจากแร่กัมมันตภาพรังสีต่างๆ หรือเกิด
    จากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู
                  •รังสีเบตา (beta ray) ประกอบอนุภาคอิเล็กตรอนที่แตกตัวออกมาจากนิวเคลียส ซึ่ง
    อนุภาคอิเล็กตรอนนั้นเกิดจากการแตกตัวของนิวตรอน เป็นการแตกตัวชนิดที่มีพลังงาน
    ต่อเนื่อง มีอำนาจทะลุสูงกว่ารังสีแอลฟา รังสีนี้มีอยู่ในธรรมชาติและเครื่องปฏิกรณ์
    เช่นเดียวกับรังสีแอลฟา    
                  • อนุภาคนิวตรอน (neutron) เป็นอนุภาคที่มีพลังงานสูงมากซึ่งไม่ได้แผ่จากนิวเคลียส
    ของมันเอง แต่เป็นอนุภาคนิวตรอนที่เกิดขึ้นอย่างมากมายและกระจายออกมาจากต้น
    กำเนิด คือ เครื่องเร่งอนุภาค โปรตอน อิเล็กตรอน หรืออนุภาคอื่นๆ รังสีนี้เป็นอันตราย
    ต่อสิ่งมีชีวิตและทำให้ธาตุธรรมดาแผ่กัมมันตภาพรังสีได้        

    2. รังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีคุณสมบัติไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ได้แก่
                   • รังสีแกมมา (gamma ray)เป็นรังสีที่แผ่ออกจากนิวเคลียสของปรมาณูในลักษณะ
    ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีช่วงคลื่นสั้นกว่าแสงเดินทางด้วยความเร็วเช่นเดียวกับแสง
    รังสีแกมมามีพลังงานสูงมาก มีอำนาจทะลุผ่านคอนกรีตหนาถึง 2 เมตรได้ รังสีนี้มีอยู่
    ในธรรมชาติซึ่งกระจายตัวออกมาจากแร่ กัมมันตภาพรังสีต่างๆ และเกิดจากปฏิกรณ์
    ปรมาณูเช่นเดียวกับแอลฟาและเบตา             
                    • รังสีเอกซ์ ( X- ray) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก มีกำเนิดจาก
    เครื่องเอกซเรย์ มีคุณสมบัติคล้ายรังสีแกมมาแหล่งที่มาของกัมมันตภาพรังสี
                    • การแผ่รังสีมาจากนอกโลก คือ รังสีคอสมิค โดยดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดที่
    สำคัญรังสีนี้จะแผ่มายังโลกทุกทิศทาง ทำให้เกิดมีกัมมันตภาพรังสีขึ้นในสิ่งแวดล้อม
    บนโลก ผู้ที่อยู่ในที่สูงจะมีโอกาสได้รับรังสีนี้มากกว่าผู้ที่อยู่ในระดับทะเล เพราะรังสี
    นี้มาจากนอกโลก               
                     • จากสารกัมมันตภาพรังสีที่เกิดในธรรมชาติ เช่น แร่เรเดียม แร่ยูเรเนียม เป็นต้น
    ซึ่งมีอยู่ในน้ำ อากาศและดิน โดยปกติแล้วได้รับสารเหล่านี้ในปริมาณน้อย ถือว่าอยู่
    ในเกณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย            
                     • การแผ่รังสีจากที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นจากเครื่องมือทางการแพทย์
    และอุตสาหกรรม เช่น เครื่องเอกซเรย์ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เป็นต้น รวมทั้งการ
    ทิ้งกากกัมมันตภาพรังสีที่เป็นเชื้อเพลิงรวมทั้งอุบัติภัยในโรงงานที่ใช้สารกัมมันตภาพ
    รังสีเกิดการรั่วไหล ทำให้มีการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีในดิน น้ำ พืชผัก สัตว์เลี้ยง
    สัตว์น้ำ  
                    • ฝุ่นกัมมันตภาพรังสีจากระเบิดนิวเคลียร์ ระเบิดนิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ทั้ง
    ที่นำมาใช้ในการสงคราม และการทดลองใช้ก่อให้เกิดฝุ่นกัมมันตภาพรังสีฟุ้งกระจาย
    ไปทั่วโลก รวมทั้งวัตถุต่างๆที่อยู่ในดิน บริเวณใกล้เคียงกับการจุดระเบิดก็จะกลาย
    เป็นสารกัมมันตภาพรังสีไปด้วยฝุ่นกัมมันตภาพรังสีจะถูกพัดพาไป บางส่วนตกลงบน
    พื้นดิน บางส่วนไปรวมกับก้อนเมฆ เมื่อมีฝนตกหรือหิมะตก ก็จะทำให้ลงสู่พื้นดิน
    ส่วนหนึ่งจะถูกดูดลงสู่ต้นไม้ อีกส่วนติดอยู่ตามใบ เมื่อคนกินเข้าไปก็จะมีอันตรายหรือ
    สัตว์ที่กินพืชนั้นเข้าไป ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่นเนื้อ นม ไข่ จะมีกัมมันตภาพรังสีเป็น
    อันตรายไม่สามารถกินได้ ถ้าตกลงไปในแหล่งน้ำสัตว์น้ำจะมีพิษกัมมันตภาพรังสีด้วย
    การนำพลังงานและกัมมันตภาพรังสีมาใช้ประโยชน์               
                    • ใช้ในทางการแพทย์สำหรับวิจัยโรค เช่น ใช้รังสีเอกซ์ถ่ายภาพอวัยวะในร่างกาย
    หรือตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์และการรักษาโรค เช่น การใช้รังสีแกมมาจาก
    โคบอลต์ 60 รักษาโรคมะเร็ง           
                   • ใช้ในทางอุตสาหกรรม สำหรับตรวจวัสดุที่ไม่บุบสลาย เช่น การใช้รังสีตรวจดูรอย
    ร้าวของเครื่องบิน ใช้ควบคุมความหนาแน่นของแผ่นโลหะ และใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงาน
    ปรมาณู 
                   • ใช้ในทางการเกษตร สำหรับใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและใช้ในการถนอมอาหาร
    หรือฆ่าแบคทีเรียในพืชผลต่างๆ     
                   • ใช้ประโยชน์ในการหาวัตถุโบราณโดยใช้คาร์บอน 14 อันตรายจากกัมมันตภาพรังสี
    กัมมันตภาพรังสีจะเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ1. ทางจมูก คือ การสูดดมเข้าไป

    2. ทางปาก คือ การเอามือไปสัมผัสกัมมันตภาพรังสี แล้วหยิบอาหารเข้าปาก

    3. ทางผิวหนัง ถ้าสารกัมมันตภาพรังสีเป็นของเหลวเมื่อสัมผัสกับผิวจะซึมเข้าร่างกายได้
    อันตรายที่ได้รับจากรังสีที่วิ่งผ่านร่างกาย ทำให้เซลล์ร่างกายแตกตัวหรือเกิดการ
    เปลี่ยนแปลงพลังงานภายในเซลล์อาจเป็นอันตรายถึงตายได้ ความหนักเบาของอาการ
    ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง 
                   1. ปริมาณรังสี ว่าแต่ละครั้งได้รับมากน้อยเพียงใด และรวมถึงจำนวนครั้งที่ได้รับ และ
    ระยะเวลาที่ได้รับรังสีด้วย
                   2. ชนิดของรังสี รังสีแต่ละชนิดมีอำนาจทะลุทะลวงสร้างความเสียหายต่อเซลล์ต่างกัน
                   3. ชนิดของกัมมันตภาพรังสี พลังงานที่เกิดจากการสลายตัวของกัมมันตภาพรังสีมี
    ความแตกต่างกันเช่น รังสีแกมมา มาจากสารเรเดียมมีพลังงานมากว่าที่มาจากสาร
    ทอเรียม นอกจากนี้สารกัมมันตภาพรังสีแต่ละชนิดยังให้กัมมันตภาพรังสีที่แตกต่างกัน
    ด้วยเช่น ยูเรเนียมให้รังสีแอลฟา ทอเรียมให้ รังสีแกมมาและเบตาเป็นต้น          
                   4. ความคงทนต่อรังสี ร่างกายของคนแต่ละคนมีความคงทนต่อรังสีแตกต่างกัน อวัยวะ
    ต่างๆก็มีความคงทนต่อรังสีที่แตกต่างกันและต้นกำเนิดของรังสีมาจากภายในร่างกายหรือ
    ภายนอกร่างกายซึ่งจะมีความรุนแรงแตกต่างกันด้วย 
                  5. ขอบเขตของร่างกายที่ได้รับรังสี ถ้าได้รับรังสีในปริมาณแคบในอวัยวะบางส่วน จะ
    ได้รับการฟื้นตัวๆได้เร็วกว่าในกรณีที่ได้รับรังสีเป็นบริเวณกว้างหรืออวัยวะหลายแห่งก็
    จะรักษาตัวได้มากกว่าความรุนแรงได้มากกว่าอันตรายที่ได้รับจากการได้รับกัมมันต
    ภาพรังสี อาจจะแสดงอาการเกือบทันทีหรืออาจเกิดขึ้นช้าๆต่อระบบต่างๆของร่างกายดังนี้

    1. โครงสร้างเม็ดเลือดและน้ำเหลือง รังสีที่แตกตัวมากกว่า 400 แร็ด จะทำให้เซลล์
    ในกระดูกทุกชนิดลดลงเม็ดเลือดที่ถูกสร้างขึ้นโดยไขกระดูกจะลดจำนวนลง เม็ดเลือด
    แดงที่ถูกรังสีจะรวมตัวกันเป็นตะกอน ทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ จำนวน
    เม็ดเลือดขาวลดลงทำให้ไม่สามารถต้านทานโรคได้และอาจเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาว
    เกล็ดเลือดไม่รวมตัวกัน เมื่อเกิดบาดแผลทำให้เลือดไหนไม่หยุด ระบบท่อน้ำเหลืองก็จะ
    ถูกทำลายทำให้ท่อน้ำเหลืองแตก มีโอกาสติดโรคได้ง่าย           
    2. ระบบทางเดินอาหาร ถ้าได้รับรังสีขนาด 250 – 300 แร็ด ทำให้การทำงานใน
    กระเพาะและหลอดอาหารเปลี่ยนแปลง การสร้างกรดในกระเพาะลดลง ระบบย่อย
    อาหารเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ถ้าได้รับถึง 1600 แร็ด จะทำให้อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
    อาจมีท้องเดิน เนื่องจากมีความผิดปกติของการดูดซึมอาหาร ขาดน้ำอาจทำให้ตายได้
    3. ระบบประสาท รังสีที่แตกตัวจะไปทำลายไขสันหลัง สมอง และระบบประสาทส่วน
    ปลาย เลือด และเซลล์หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงถ้าได้รับรังสี
    10000 แร็ด อาจทำให้ตายได้ทันที  
    4. ระบบไหลเวียนของเลือดและการหายใจ ทำให้การเต้นของหัวใจผิดปกติ การไหล
    เวียนของเลือดและถุงลมปอดถูกทำลาย ปริมาณออกซิเจนในปอดลดลง
    5. ต่อมไทรอยด์ ทำให้ปริมาณของฮอร์โมนลดลงเป็นผลให้เมตาบอลิซึมลดลงกล้ามเนื้อ
    ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่               
    6. โครโมโซมและระบบสืบพันธุ์ รังสีจะทำหน้าที่และทำให้เซลล์เปลี่ยนแปลง โดย
    เฉพาะโครโมโซมซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของ DNA และฮีสโตน อันเป็นตัวที่แสดงถึง
    ลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นพันธุกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเพิ่ม
    จำนวนและการแบ่งตัวของโมเลกุลที่ไม่เป็นปกติ เซลล์แบ่งตัวใหม่มีลักษณะไม่เหมือน
    เดิม เด็กที่ออกมาจะมีลักษณะผิดปกติ ถ้าได้รับรังสีมากไปจะทำให้เซลล์สืบพันธุ์พิการ
    7. อวัยวะส่วนต่างๆ รังสีจะทำอันตรายต่อนัยน์ตาทำให้เลนส์ตาถูกทำลาย เป็นโรค
    มะเร็งที่ผิวหนัง เล็บเปราะ ผมร่วง ถุงน้ำดีและไตผิดปกติ ระบบขับถ่ายผิดปกติ ถ้าเกิด
    ในเด็กจะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักการป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี
                 • บริเวณใดที่มีรังสีควรเข้าไปปฏิบัติงานโดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด           
                 • ควรให้ร่างกายอยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุด             
                 • ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันตัว เช่น ตะกั่ว คอนกรีต ในงานบางอย่างต้องใช้ที่กำบัง
                 • ต้องมีการตรวจสอบสภาพเครื่องมือว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่          
                 • ตรวจสอบปริมาณรังสีในร่างกายเพื่อป้องกัน ก่อนที่จะได้รับรังสีมากจนเกิดอันตราย   
                 • ระวังเรื่องอาหาร ไม่ไห้ปนเปื้อนกับกัมมันตภาพรังสี           
                 • ใช้เครื่องมือป้องกันร่างกาย ใส่ชุดป้องกันรังสี พร้อมติดตั้งเครื่องมือตรวจสอบมิให้เกินกำหนด               
                 • หากพบว่ามีรังสี ให้รีบขจัดออกไปจากบริเวณนั้น  
                 • แหล่งที่มีกัมมันตภาพรังสีต้องมีเครื่องหมายบอกให้ชัดเจนว่าบริเวณนั้นมีกัมมันตภาพรังสี
     
     
     
     
    สืบค้นจาก http://www.se-ed.com (วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×