ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #17 : การเคลื่อนที่

    • อัปเดตล่าสุด 20 พ.ค. 52


    การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
    เป็นการเคลื่อนที่ผสมระหว่างในแนวราบ ซึ่งเคลื่อนที่ด้วย
    ความเร็วคงที่ กับแนวดิ่งซึ่งเคลื่อนที่แบบอิสระโดยมี
    ความเร่ง g = 10 m/s2
    1. ในแนวดิ่ง (แกน y )
    ระยะที่ขึ้นได้สูงสุด
    2. ในแนวราบ (แกน x )
    S = ut
    ระยะที่เคลื่อนที่ได้ตามแนวแกน x
    เวลาทั้งหมดในการเคลื่อนที่
    ความเร็วของวัตถุที่ตำแหน่งใด ๆ
    การเคลื่อนที่แบบวงกลม
    เป็นการเคลื่อนที่โดยมีแรงกระทำเข้าสู่ศูนย์กลางของวง
    กลม และจะเกิดความเร่งเข้าสู่ศูนย์กลาง ความเร็วจะมีค่า
    ไม่คงที่ เพราะมีการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ โดยความ
    เร็ว ณ ตำแหน่งใดจะมีทิศสัมผัสกับวงกลม ณ ตำแหน่งนั้น
    สูตรการเคลื่อนที่เป็นวงกลม
    1. ความเร็วเชิงเส้น (v) และความเร็วเชิงมุม
    v = ความเร็วเชิงเส้น หน่วยเป็น
    เมตร/วินาที
    = ความเร็วเชิงมุม หน่วยเป็น
    เรเดียล/วินาที
    T = คาบการเคลื่อนที่ หน่วยเป็น
    วินาที
    f = จำนวนรอบที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ใน
    1 วินาที หน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz)
    2. ความเร่งสู่ศูนย์กลาง
    ac = ความเร่งสู่ศูนย์กลาง หน่วยเป็น
    เมตร/วินาที2
    r = รัศมี หน่วยเป็น เมตร
    F = แรงสู่ศูนย์กลาง หน่วยเป็น นิวตัน (N)
    3. แรงสู่ศูนย์กลาง
    รถเลี้ยวโค้งบนถนนราบ แรงเข้าสู่ศูนย์กลาง จะเป็นแรง
    เสียดทานสถิต (fs) ดังนั้น
    การเลี้ยวโค้งบนถนนเอียง
    วัตถุผูกเชือกแล้วแกว่งให้เป็นวงกลม
    การเคลื่อนที่เป็นวงกลมในแนวดิ่ง (โดยแตก )
    การโคจรของดาว
    r + h = รัศมีวงโคจร , T = คาบการหมุนของดาว
    การเคลื่อนที่แบบหมุน
    ความเร็วเชิงมุม มุมที่หมุนกวาดไป
    โมเมนต์ความเฉื่อย
    การเคลื่อนที่แบบ Simple Harmonic
    เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุกลับไปมา ผ่านตำแหน่งสมดุล
    เช่น การ สั่นของวัตถุที่ผูกกับสปริง หรือการแกว่งของลูกตุ้ม
    นาฬิกา เป็นต้น
    สปริง
    การแกว่งลูกตุ้ม
    วงกลม
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย
    คือการที่วัตถุเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำรอยเดิม มักจะใช้สัญญลักษณ์ว่า SHM. ตัวอย่างของการเคลื่อนที่แบบนี้ได้แก่ การเคลื่อนที่ของวัตถุที่ถูกผูกติดไว้กับสปริงในแนวราบ แล้ววัตถุเคลื่อนที่ไปมาตามแรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุ ซึ่งเขาจะศึกษาการเคลื่อนที่นี้จากรูปที่ 1
    ในรูปที่ 1a ตำแหน่ง x = 0 เป็นตำแหน่งสมดุลของปริง หรือ เป็นตำแหน่งที่สปริงมีความยาวตามปกติ ณ ตำแหน่งนี้สปริงจะไม่ส่งแรงมากระทำต่อวัตถุ ในรูปที่ 1a นี้มีวัตถุมวล m ผูกติดกับสปริง วางอยู่บนพื้นที่ซึ่งไม่มีแรงเสียดทาน ที่ตำแหน่งซึ่งปริงยืดออกจากความยาวปกติเป็นระยะทาง A สปริงจะออกแรงดึงวัตถุมวล m กลับมาอยู่ในตำแหน่งสมดุล x = 0 เรียกแรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุนี้ว่าแรงดึงกลับ (Restoring force) ถ้า F เป็นแรงดึงกลับนี้จะได้ว่า
    F = -kx -----(1)
    แรงดึงกลับมีเครื่องหมายลบ เพราะทิศทางของเวกเตอร์ของแรงกับเวกเตอร์ของการขจัด x มักจะตรงข้ามกันเสมอ ค่า k คือค่านิจของสปริง (spring constant) ในรูปที่ 1 นี้ได้กำหนดให้ทิศทางขวาเป็นบวก ดังนั้นในรูป 1a ตำแหน่ง x = A จึงเป็นบวก ในขณะที่ทิศทางของแรงดึงกลับเป็นลบ และเนื่องจากวัตถุเริ่มเคลื่อนที่ที่ x = A ความเร็วของวัตถุจึงเป็นศูนย์
    เมื่อปล่อยให้วัตถุเคลื่อนที่ตามแรงของสปริง วัตถุจะเคลื่อนที่มาทางซ้าย และในรูปที่ 1b วัตถุผ่านตำแหน่ง x = 0 หรือตำแหน่งสมดุลซึ่งตำแหน่งนี้ แรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุจะเป็นศูนย์ แต่อัตราเร็วของวัตถุจะมากที่สุด โดยทิศของความเร็วจะเป็นจากขวาไปซ้าย หรือความเร็วเป็นลบ เนื่องจากพื้นไม่มีแรงเสียดทาน และสปริงก็ไม่ออกแรงมากกระทำต่อวัตถุ ดังนั้นที่ตำแหน่ง x = 0 นี้ วัตถุจึงสามารถรักษาสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎข้อที่ 1 ของนิวตันไว้ได้ วัตถุจึงยังคงสามารถเคลื่อนที่ต่อไปทางซ้ายได้
    ในขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้ายนั้น วัตถุก็จะผลักให้สปริงหดสั้นไปจากความยาวเดิมด้วย ดังนั้นสปริงจะพยายามออกแรงดึงกลับไปกระทำต่อวัตถุ เพื่อให้ตัวเองกลับไปสู่ความยาวปกติอีก จนในรูปที่ 1 C แสดงถึงขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้ายมากที่สุด ความเร็วของวัตถุจะเป็นศูนย์ทิศของแรงดึงกลับจากซ้ายไปขวา หรือเป็นบวก เวกเตอร์ของการขจัดของวัตถุมีทิศจากขวาไปซ้าย และมีขนาดเป็น A ดังนั้นตำแหน่งของวัตถุขณะนี้จึงเป็น x = -A มีข้อน่าสังเกตว่า ขนาดของการขจัดมากที่สุดของวัตถุไม่ว่าจะเป็นทางซ้ายหรือขวาจะเท่ากัน คือเป็น a เนื่องจากในรูป 1c นี้มีแรงมากระทำต่อวัตถุเพียงแรงเดียว คือแรงจากสปริง ซึ่งมีทิศไปทางขวา วัตถุจึงเคลื่อนที่กลับไปทางขวาด้วยอิทธิพลของแรงนี้
    รูปที่ 1
    ในรูป 1d วัตถุกลับมาที่ตำแหน่งสมดุลของสปริงอีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับในรูป 1b แต่ในขณะนี้วัตถุมีความเร็วเป็นบวก หรือไปทางขวาวัตถุจึงยืดสปริงออกไป โดยยืดได้มากที่สุดถึงตำแหน่ง x = A ดังแสดงในรูป 1 e ซึ่งเป็นสถานเดียวกับรูป 1a ดังนั้นการเคลื่อนที่ของวัตถุจึงกลับมาในลักษณะเดิม คือจาก 1a 1b 1c 1d 1e 1a เป็นอย่างนี้เรื่อยไป ซึ่งจะเห็นว่าวัตถุมีการเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำของเดิม จึงเป็นการเคลื่อนที่แบบ SHM.
    มีข้อพึงระลึกจากสมการที่ (1) หรือ F = -kx ว่า วัตถุที่เคลื่อนที่แบบ SHM นั้น นอกจากจะเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำรอยเดิมแล้ว แรงดึงกลับที่กระทำต่อวัตถุยังแปรผันโดยตรงกับการขจัดของวัตถุอีกด้วย
    ในการศึกษาการเคลื่อนที่แบบ SHM นี้ จะต้องกำหนดปริมาณต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    การขจัด (dis placement) คือระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้โดยนับจากจุดสมดุล
    อัมปลิจูด (amplitude) คือระยะทางมากที่สุดที่วัตถุจะสามารถเคลื่อนที่ไปได้ โดยนับจากจุดสมดุลเช่นเดียวกัน อาจจะพิจารณาได้ว่าอัมปลิจูด ก็คือการขจัดมากที่สุดนั่นเอง
    คาบ (period) คือเวลาที่วัตถุใช้ในการสั่น 1 รอบ (เช่นจากรูป 1a ถึง 1e
    ความถี่ (frequency) คือจำนวนรอบที่วัตถุสั่น หรือเคลื่อนที่ได้ใน 1 วินาที จากนิยามเหล่านี้ ถ้า f เป็นความถี่ และ T เป็นคาบ จะได้ว่า
    T =
    พลังงานของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบ SHM.
    ในการยืดหรือหดสปริง จะต้องมีแรงภายนอกไปกระทำต่อสปริงทำให้เกิดงานขึ้น ทั้งนี้เพราะในการยืดหรือหดของสปริงนั้น พลังงานศักย์ ของสปริงจะเพิ่มขึ้น จากนิยามของพลังงานศักย์ที่ว่า "พลังงานศักย์ของวัตถุ ณ จุดใด คืองานที่ใช้ในการเคลื่อนที่วัตถุจากจุดอ้างอิงไปยังจุดนั้น" ถ้า F เป็นแรงที่กระทำต่อสปริงแล้วทำให้สปริงยืด (หรือหด) เป็นระยะทาง x จากตำแหน่งสมดุล จะได้ว่า
    งานที่ทำต่อสปริง = Fx
    ถ้าให้ตำแหน่งสมดุลเป็นตำแหน่งอ้างอิง จะได้ว่า
    พลังงานศักย์ของสปริงที่ตำแหน่ง x ใด ๆ = Fx
    แต่ในการยืดหรือหดของสปริงนี้ แรงที่กระทำต่อสปริงจะไม่คงที่ โดยจะขึ้นกับระยะทาง ดังนั้นแรง F จึงเป็นแรงเฉลี่ย โดยจะเฉลี่ยระหว่างแรงที่กระทำต่อสปริงที่ตำแหน่ง x = 0 และที่ x ใดๆ
    นั่นคือ
    ดังนั้น พลังงานศักย์ของสปริงที่ตำแหน่ง x ใด ๆ
    เนื่องจาก แรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุเป็นแรงอนุรักษ์ ดังนั้นพลังงานทั้งหมด (total energy) ของวัตถุที่เคลื่อนที่ภายใต้อิทธิพลของแรงสปริงจึงคงที่ ถ้า E เป็นค่าพลังงานทั้งหมดนี้ จะได้ว่า ที่ตำแหน่ง x ใด ๆ ซึ่งวัตถุมีความเร็วเป็น v ใด ๆ (ดังแสดงในรูป 2d) จะได้ว่า
    รูปที่ 2
    ในรูปที่ 2 แสดงการเคลื่อนที่ของวัตถุมวล m ที่ผูกติดกับสปริงเคลื่อนที่บนพื้นราบที่ไม่มีแรงเสียดทาน เช่นเดียวกับในรูปที่ 1 ในรูป a วัตถุอยู่ในตำแหน่ง x = A ซึ่งเป็นค่าอัมปลิจูดของการเคลื่อนที่ ณ ตำแหน่งนี้ วัตถุมีความเร็วเป็นศูนย์ จึงมีแต่พลังงานศักย์ซึ่งมีค่ามากที่สุด
    ในรูป b วัตถุอยู่ในตำแหน่งสมดุล การขจัด x เป็นศูนย์ แต่มีอัตราเร็วมากที่สุด ที่ตำแหน่งนี้จึงมีพลังงานศักย์เป็นศูนย์ แต่มีพลังงานจลน์มากที่สุด ถ้า v0 เป็นอัตราเร็วที่ตำแหน่งนี้จะได้ว่า
    ในรูป c วัตถุอยู่ในตำแหน่ง x = - A ซึ่งก็เป็นอัมปลิจูดเช่นเดียวกันและเหมือนกับในรูป a ความเร็วของวัตถุเป็นศูนย์ วัตถุจึงมีพลังงานจลน์เป็นศูนย์ ในขณะที่มีพลังงานศักย์มากที่สุด
    รูป d เป็นตำแหน่งของวัตถุที่ x ใด ๆ วัตถุมีความเร็วเป็น v ใด ๆ ดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว จึงได้
     
     
    กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันเป็นกฎที่อธิบายธรรมชาติของการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ ในเอกภพ ผู้เสนอคือไอแซก นิวตันนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ
    กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน มีด้วยกัน 3 ข้อ
    1.               วัตถุจะหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วและทิศทางคงที่ได้ต่อเมื่อผลรวมของแรง(แรงลัพธ์)ที่กระทำต่อวัตถุเท่ากับศูนย์
    2.               เมื่อมีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุที่มีมวลเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง โดยขนาดของแรงจะเท่ากับมวลคูณความเร่ง
    3.               ทุกแรงกิริยาย่อมมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงกันข้ามเสมอ
     
        วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ ขณะมีการเคลื่อนที่ได้หลายแบบ เช่น การเคลื่อนที่แนวตรง
    การเคลื่อนที่แนวโค้ง และการเคลื่อนที่วงกลม การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ จะมีลักษณะเฉพาะ
    ของการเคลื่อนที่แบบนั้น ๆ

           การเคลื่อนที่แนวตรง วัตถุจะเคลื่อนที่ในแนวเดิม (ทิศเดิมหรือทิศตรงกันข้าม ) โดยอาจมี
    แรงภายนอกมากระทำต่อวัตถุหรือไม่ก็ได้ ถ้ามีแรงมากระทำ ทิศของแรงที่กระทำจะอยู่ในแนวเดียวกับ
    แนวการเคลื่อนที่ชองวัตถุเสมอ

           การเคลื่อนที่แนวโค้ง วัตถุจะมีการเคลื่อนที่ 2 แนวพร้อม ๆ กัน เช่น เคลื่อนที่ในแนวราบ
    และแนวดิ่ง แรงที่กระทำต่อวัตถุจะมีทิศคงตัวตลอดเวลา โดยทำมุมใด ๆ กับทิศของความเร็ว เช่น แรงดึงดูดของโลก

           การเคลื่อนที่วงกลม วัตถุเคลื่อนที่เป็นส่วนโค้งรอบจุด ๆ หนึ่ง โดยมีแรงกระทำในทิศเข้า
    สู่ศูนย์กลาง

           การเคลื่อนที่แบบฮามอนิกอย่างง่าย วัตถุจะเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำรอยเดิมโดยมี
    แอมพลิจูดคงตัว
     
     
     
              การบอกตำแหน่งของวัตถุใด ๆ ต้องบอกระยะห่างและทิศทางของตำแหน่งวัตถุนั้น
    เทียบกับจุดอ้างอิง จุดอ้างอิงควรเป็นจุดที่อยู่นิ่งเป็นจุดที่อยู่ใกล้วัตถุนั้นและสังเกต
    เห็นได้ชัดเจน ซึ่งจุดอ้างอิงอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

    ระยะทางที่เคลื่อนที่ได้จากตำแหน่งเริ่มต้นถึงตำแหน่งสุดท้าย และระยะทางตรงจากตำแหน่งเริ่มต้น
    ถึงตำแหน่งสุดท้าย อาจมีขนาดเท่ากันหรือแตกต่างกันก็ได้ระยะทางในแนวตรงจากตำแหน่งเริ่มต้น
    ไปยังตำแหน่งสุดท้ายของวัตถุเรียกว่า การกระจัด ( displacement )

               การบอกปริมาณการกระจัดต้องบอกทั้งขนาดและทิศทาง โดยระบุจุดตั้งต้นและจุดสุดท้าย ปริมาณทางวิทยาศาสตร์มี 2 แบบคือ ปริมาณสเกลาร์และปริมาณเวกเตอร์ ปริมาณสเกลาร์เป็นปริมาณที่มีเฉพาะขนาด ส่วนปริมาณเวกเตอร์เป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง
     
     
               ความเร็ว ( velocity ) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างการกระจัดกับเวลาที่ใช้ ความเร็วจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ ( มีทั้งขนาดและทิศทาง )

               อัตราเร็ว ( speed ) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างระยะทางที่ได้กับเวลาที่ใช้ อัตราเร็วจัดเป็นปริมาณสเกลาร์ ( มีเฉพาะขนาดเท่านั้น )
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×