ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #11 : ตะขาบ

    • อัปเดตล่าสุด 20 พ.ค. 52


    ตะขาบ (Centipede) (จัดอยู่ในไฟลัมClass Chilopoda เป็นสัตว์ขาข้อที่พบได้ในเขตร้อนชื้น อาศัยอยู่บนบก ตะขาบมีขนาดความยาวของลำตัวตั้งแต่ 3 - 8 ซม. ขนาดใหญ่ที่สุดคือชนิด Scolopendra heros มีความยาว 8 - 10 " ลำตัวแบนราบ มีปล้อง 15 - 100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำตัวชัดเจน มีหนวด 1 คู่ โดยมีเขี้ยวพิษ 1 คู่ ซึ่งดัดแปลงมาจากปล้องแรกของลำตัว เขี้ยวพิษเชื่อมต่อกับต่อมพิษ เมื่อกัดเหยื่อจะปล่อยพิษออกมา ทำให้เหยื่อเจ็บปวด และเป็นอัมพาต ตะขาบวางไข่ในที่ชื้นหรือต้นพืชหญ้า ใช้เวลาในการเจริญเติบโตนาน ลอกคราบ 10 ครั้ง ตัวเต็มวัยมีอายุ 3 - 5 ปี จึงเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ และ สภาพพื้นที่มันชอบวางไข่ จะเป็นที่ชื้นหรือต้นพืชหญ้า ในเวลากลางวันจะซ่อนอยู่ในที่เย็นๆ ใต้ก้อนหิน ออกหาเหยื่อในเวลากลางคืน กินแมลงเป็นอาหาร เมื่อถูกตะขาบกัดจะพบรอยเขี้ยวสองรอย ลักษณะเป็นจุดเลือดออกตรงบริเวณ ที่ถูกกัด พิษของตะขาบทำให้มีการอักเสบ ปวดบวมแดงร้อน ชา เกิดอัมพาต ตรงบริเวณที่ถูกกัด ในบางรายอาจมีอาการแพ้ หรือกระวนกระวาย อาเจียน หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มึนงง ปวดศีรษะ อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตรงบริเวณที่ถูกกัด อาจเป็นแผลไหม้อยู่ 2-3 วัน




    อาร์โธรพอด
     
    http://www.pluakdaeng.net/webwat/A.html
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×