ลำดับตอนที่ #10
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #10 : อาหารไอโอดีน
ปลาลิ้นหมา, ปลาซีกเดียว (Tongue sole)
รูปร่างแบนราบ ตาทั้ง 2 ข้างอยู่ชิดกันบนหัวด้านบนที่มีสีเข้ม หัวค่อนข้างแหลม ปากโค้งงอเหมือนตะขอ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบหลังครีบก้นเชื่อมติดกับครีบหาง ครีบหางแหลม ขนาดตัวยาว 20 30 ซม. อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลทั่วไป เนื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี่
ปลาจวด (Croaker)
รูปร่างยาวเรียว ลำตัวค่อนข้างหนา ท่อนหางแบน ตาเล็ก ปากกว้าง ครีบหลังมีสองอัน ครีบอันที่ 2 มีฐานยาว ครีบหางสี่เหลี่ยมคล้ายขนมเปียกปูน ขนาดตัวยาว 21 -62 ซม. อาศัยบริเวณใกล้ฝั่งน้ำลึกในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน เนื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 102 กิโลแคลอรี่
ปลาใบขนุน (False trevally)
รูปร่างลำตัวค่อนข้างแบน ส่วนหัวสั้น ปากกว้าง จะงอยปากสั้น ตาโตเกล็ดขนาดใหญ่ หลุดง่าย ครีบหลังมี 2 อันครีบหางเว้าลึก ตัวสีขาวเงินปนเทา ขนาดตัวยาว 10 30 ซม. อาศัยบริเวณพื้นหน้าดินชายฝั่งทะเลในอ่าวไทยและอันดามัน เนื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี่
ปูทะเล (Serrated mud crab)
รูปร่างกระดองรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือน้ำตาลแก่ ขอบกระดองช่วงบนด้านตามีหนาม มีก้ามใหญ่ 2 ก้าม ซ้ายขวามีขาด้านละ 4 ขา เลือดของปูสีฟ้าใส เมื่อถูกความร้อนมีสีขาวขุ่น ขนาดกระดองยาว 15 25 ซม. อาศัยตามป่าชายเลนน้ำท่วมไม่ถึงโดยขุดรูอยู่ เนื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 116 กิโลแคลอรี่
ปลาจักรผาน, ปลาซีกเดียว (Indian halibut)
รูปร่างตัวแบน ยาวรี หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ตาทั้ง 2 ข้างใกล้กัน และอยู่บนด้านเดียวกัน ครีบหลังครีบหางและครีบก้นไม่เชื่อมต่อกัน ครีบหางมีปลายเว้าเป็น 2 ลอน สีของลำตัวด้านมีตาเป็นสีน้ำตาลเข้มตลอดตัว ว่ายน้ำลักษณะแบนราบ คนทั่วไปเรียกว่า “ปลาตาเดียว” ขนาดตัวยาว 18 50 ซม. อาศัยตามหน้าดินใต้ทะเลในอ่าวไทย ในเนื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 77 กิโลแคลอรี่
ปลาน้ำดอกไม้, ปลาสากเหลือง (Obtuse barracuda)
รูปร่างลำตัวกลมเรียวยาว ปากกว้าง จะงอยปากแหลม ขากรรไกรล่างยาวกว่าบน ครีบหลังมี 2 อัน ครีบหู ครีบก้นและครีบหางมีสีเหลืองครีบหางเป็นแฉกลึก ขนาดตัวยาว 20 30 ซม. อาศัยอยู่ในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เนื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี่
ปลาเห็ดโคน, ปลาช่อนทรายแก้ว (Silver sillago)
รูปร่างยาวเรียวด้านข้างแบน หัวยาวเรียว จะงอยปากแหลม ปากเล็ก ครีบหลังมี 2 อัน ครีบหลังอันที่ 2 มีฐานยาว ครีบหางตัดตรงขอบครีบหางมีแถบสีดำ เกล็ดเล็กหยาบ ตัวสีเนื้อหรือสีน้ำตาลอ่อน ขนาดตัวยาว 10 30 ซม. อาศัยพื้นทะเลที่เป็นทรายโดยฝังตัวอยู่ และโผล่ตามามองจับเหยื่อ เนื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 97 กิโลแคลอรี่
ปลากุเรา (Threafin)
รูปร่างยาวเรียวค่อนข้างหนา ข้างแบน หัวเล็ก ครีบหลังมี 2 อัน ก้านครีบหูด้านล่างแยกเป็นรยางค์ 4 เส้น ครีบหางเป็นแฉกลึก ขนาดตัวยาว 40 60 ซม. อาศัยอยู่ในอ่าวไทย บางครั้งก็พบบริเวณน้ำกร่อย เนื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 92 กิโลแคลอรี่
ปลาโอดำ (Longtail - tuna)
รูปร่างเพรียวแบบรูปกระสวย ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังมี 2 อัน แยกออกจากกัน ครีบหูยาว ครีบหางใหญ่เว้าลึกเป็นรูปวงเดือน เกล็ดเล็กละเอียดอยู่บริเวณแนวท้อง ขนาดตัวยาว 40 70 ซม. อาศัยอยู่เป็นฝูงในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน เนื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 121 กิโลแคลอรี่
ปลาทรายแดง (Threadfin bream)
รูปร่างเรียว ท่อนหัวโต ด้านข้างแบน ตาโต จะงอยปากสั้น ปากกว้างเฉียวขึ้นเล็กน้อย ครีบท้องกับครีบหูอยู่ใกล้กัน ครีบหูมีปลายแหลม ครีบหางแยกเป็นแฉกเว้า ลำตัวส่วนใหญีสีชมพูอมแดง ขนาดตัวยาว 12 32 ซม. อาศัยอยู่เป็นฝูงในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เนื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 88 กิโลแคลอรี่
ปลาหางเหลือง (Yellowtail fusilier)
รูปร่างป้อม ตัวและหางเรียว หัวโตโค้งนูน จะงอยปากเว้าลง ตาโต ปากเล็กเฉียงขึ้น ครีบหลังและครีบก้นปลายยาวจรดโคนหาง ครีบหางขนาดใหญ่ปลายเป็นแฉกลึก ครีบหูและครีบท้องมีปลายแหลม ขนาดตัวยาว 40 60 ซม. เนื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 89 กิโลแคลอรี่
ปลาข้างตะเภา (Jarbua crescent grunter, Theraponid)
รูปร่างลำตัวป้อมแบนไปด้านข้าง สี และลำตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุของปลา เมื่อเล็ก ลำตัวมีสีขาว หัวด้านบนมีสีเหลือง มีแถบน้ำตาลปนดำ “S” แถบพาดตามความยาวลำตัว ขนาดยาว 15 20 ซม. อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เนื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 92 กิโลแคลอรี่
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น