ลำดับตอนที่ #6
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : -6 เหตุผลเป็นคนละเรื่องกับความรู้สึก 6-
สัปดาห์นี้กลุ่มของวศินถูกจัดให้ขึ้นตึกผู้ป่วยศัลยกรรม
วศินเรียนอยู่ในช่วงของจิตเวชนี่นา แล้วทำไมถึงต้องไปอยู่ที่แผนกผ่าตัดล่ะ?
คืนก่อนนั้นที่ห้องนอน
"ของเราจะมีให้ไปขึ้นที่ตึกผู้ป่วยนอกจะมีวันนึงที่ให้ตรวจผู้ป่วยแบบรวมสามวันตามอาจารย์ แล้วอีกวันก็จะให้ตรวจและรักษาคนไข้เก่าเอง" วศินบอกกับโกวิทและสุรศักดิ์ที่ฟังอย่างตั้งใจ
"ส่วนของเราให้ไปที่แผนกอุบัติเหตุ ให้ไปคุยกับผู้ป่วยเรื้อรังแล้วก็ประเมินสภาพทางจิตใจ ที่เหลือก็เป็นการตามพี่resident1เวลามีแผนกอื่นปรึกษามา" สุรศักดิ์พูดบ้าง
"ส่วนของเราเป็นประชุมกลุ่มแล้วก็ดูคนไข้ในที่ชั้น5 มีจัดกิจกรรมให้คนไข้ แล้วก็ตามอาจารย์ดูเป็นเคสๆ" โกวิทเล่าส่วนของตนเอง
สิ่งที่ทั้งสามทำอยู่คือการแชร์ประสบการณ์การเรียนในช่วงที่ผ่านมาของตน ... เพราะว่าทั้งสามคนได้จับกลุ่มให้วนไปภาควิชาต่างๆด้วยกัน ซึ่งในภาควิชาจิตเวชศาสตร์นี้ได้บังเอิญว่าจัดทั้งสามคนแยกจากกัน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ว่าทั้งสามจะได้มาบอกเล่าว่าในแต่ละวันได้เจออะไรกัน มาบ้าง เพื่อว่าเมื่อถึงคราวที่สลับสับเปลี่ยนตึกที่ไปเรียนก็จะได้รู้ตัวไว้ก่อน
วิธีเรียนแบบช่วยเหลือกันนี้ เป็นหนึ่งในมรดกความคิดที่อาจารย์เพิ่มพูน สอนนักศึกษาแพทย์ไว้ตั้งแต่สมัยที่เรียนชั้นปีที่3
ช่วงเช้าหลังจากไปเข้าเรียนที่ตึกผู้ป่วย ช่วงบ่ายก็มีนัดให้ไปพบกันที่ตึกศัลยกรรมกัน เมื่อไปถึง อาจารย์และเพื่อนๆบางคนก็นั่งกันอยู่แล้ว
"เอ้า คุณสองคนดูผู้ป่วยรายนี้แล้วกัน" อาจารย์ยื่นเวชระเบียนผู้ป่วยให้วศินและบอส "ให้ประเมินผู้ป่วยรายนี้ว่ามีภาวะใดบ้างที่ไม่ปกติ และคิดไว้ด้วยว่าจะแก้อย่างไร"
เคสผู้ป่วยที่ทั้งสองได้รับ คือผู้ชายอายุ60กว่าปีที่ได้รับอุบัติเหตุทางจราจรที่ลึกถึงกระดูก จากนั้นมีการติดเชื้อเรื้อรังภายในกระดูกจนต้องได้รับการฝังยาปฏิชีวนะเข้า ไป ปัญหาที่ทำให้แผนกศัลยกรรมต้องปรึกษาทางจิตเวชศาสตร์ก็เนื่องมาจากผู้ป่วยมี การได้ยินผิดปกติไปอันเกิดจากผลข้างเคียงที่พบได้ของยาปฏิชีวนะ
"สวัสดีครับคุณพิเชฐ ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่6ชื่อวศิน"
"สวัสดีครับ ผมนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่6ชื่อบรรจงครับ ตอนนี้ผมทั้งสองคนได้รับมอบหมายให้มาพูดคุยเรื่องเกี่ยวกับเรื่องอาการที่ คุณพิเชฐเป็นอยู่นะครับ"
ชายสูงวัยที่นั่งบนเตียงผู้ป่วยหันมาดูทั้งสองคนก่อนจะหมุนนิ้วไปที่ใบหู "ได้ ... แต่พวกคุณคุยดังๆหน่อยนะ ผมไม่ค่อยได้ยิน"
ทั้งวศินและบอสเริ่มคุยกับคุณลุงเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไปก่อน โดยเริ่มจากเหตุการณ์ตั้งแต่ต้น ได้ความว่าคุณลุงพิเชฐขับรถจักรยานยนต์ไปแล้วเกิดล้มลงจนข้อมือเป็นแผลบวม หลังเกิดเหตุก็ไปรักษากับหมอพื้นบ้านจนกระทั่งผ่านไปหนึ่งเดือน แผลก็ไม่หาย ที่สุดแล้วไปรักษาที่โรงพยาบาลหมอเลยบอกว่าติดเชื้อเข้าไปในกระดูก รักษาอยู่อีกหลายเดือนก็ไม่หาย หมอก็บอกว่าต้องตัดมือทิ้ง
"แล้วตอนนั้นลุงว่าอย่างไรต่อครับ" วศินถาม
"ลุงถามหมอที่นั่นว่าไม่ตัดได้ไหม" ผู้ป่วยตอบ "หมอที่นั่นก็บอกลุงว่าลุงมีทางเลือกอยู่สองทางอย่างแรกคือตัดออก อีกทางคือให้ยาฆ่าเชื้อบางตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งทางหลังจะเสี่ยงกว่า"
"แล้วลุงเลือกอย่างหลังใช่ไหมครับ" บอสถามซึ่งผู้ป่วยก็พยักหน้ารับ
"ผมก็เลือกเอามือผมไว้ หมอที่นั่นเลยส่งผมมาที่นี่ หมอที่นี่ก็พูดเหมือนกันว่าน่าจะตัดเพราะเป็นมามากแล้ว" ลุงพูดเสียงดังจนผู้ป่วยเตียงอื่นๆหันมาดู "ผมก็เลยถามว่าให้ยาเสี่ยงยังไง"
"หมอที่ผ่าตัดเค้าบอกแล้วเหรอครับ" วศินถาม
"ใช่ บอก แต่บอกไม่ละเอียด หมอมันชุ่ยมาก ดูซิผมเลยเป็นอย่างนี้" ลุงพิเชฐโวยเสียงดังขึ้นอีก
"ตอนนั้นเค้าบอกหรือเปล่าครับว่ายาตัวที่ให้ มีโอกาสที่ให้แล้วจะเกิดอาการผิดปกติที่หู" บอสถามอีกครั้งหนึ่งเพื่อประเมินเรื่องการให้ข้อมูลก่อนการรักษา
" บอกสิ บอกว่าให้แล้วหูอาจจะหนวก ไตอาจจะวาย " ผู้ป่วยร้องเสียงดังตามปกติของผู้ที่หูไม่ค่อยได้ยินที่จะพูดเสียงดังกว่าปกติ " ผมก็นึกว่าแค่ได้ยินน้อยลงนิดหน่อย แต่ถ้ามันบอกผมว่าผมจะไม่ได้ยินเลยแบบนี้ ผมยอมตัดแขนเสียดีกว่า "
ว่าแล้วผู้ป่วยที่นั่งตรงหน้าวศินก็ร้องไห้ขึ้น พยาบาลและผู้ป่วยที่อยู่ข้างหันมามองนิดหน่อยก่อนที่จะทำกิจกรรมของตนเองต่อไปราวกับว่าสิ่งที่เห็นเป็นเรื่องธรรมดา
" ไม่เป็นไรครับคุณลุง ไม่เป็นไร" บอสจับมือของผู้ป่วยไว้ก่อนจะปลอบ รอให้ผู้ปวยหยุดร้องไห้ก่อนแล้วค่อยๆคุยต่อ ... การสนทนาหลังจากนั้นเป็นการถามเพื่อหาภาวะโรคซึมเศร้าและภาวะทางจิตเวชอื่นๆ
จบคาบดังกล่าวแล้ว วศินและบอสเขียนรายงานผู้ป่วยและเตรียมนำเสนออาจารย์ในช่วงเช้าวันถัดมา
วันรุ่งขึ้นExternวศินเดินไปที่ห้องอาจารย์เพื่อส่งรายงาน เมื่อบรรจงเดินออกมาเขาก็เดินสวนเข้าไป ... อาจารย์นั่งอยู่ตรงนั้นโดยมีทั้งเวชระเบียนประวัติผู้ป่วยและรายงานของบรรจง วางอยู่ตรงหน้า
วศินรายงานเคสผุ้ป่วยร่วมกับการวินิจฉัยที่คาดไว้ ผู้ป่วยไม่ถึงกับเป็นโรคซึมเศร้า แต่กำลังอยู่ในภาวะเสียใจากการสูญเสีย ยังไม่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตัวเองมากนัก
หลังจากรายงานเสร็จ วศินส่งรายงานให้อาจารย์ซึ่งพลิกดูทีละหน้า
"คุณมีอะไรสงสัยไหม" อาจารย์ถามหลังจากอ่านรายงานเสร็จ วศินนึกอยู่ครู่หนึ่งก่อนที่จะตัดสินใจถาม
"ผมสงสัยเรื่องผู้ป่วยรายนี้ครับอาจารย์" วศินเอ่ย " เขาบอกว่าถ้าเค้ารู้มาก่อนว่าอาการจะเป็นถึงขนาดนี้ เขายอมเสียแขนดีกว่า "
"น่าสนใจ ... แล้วยังไงต่อ" อาจารย์หันมาและจ้องวศิน
"ผมสงสัยว่า.... ถ้า ... ถ้าเราเตรียมตัวผู้ป่วยดีกว่านี้ อธิบายข้อดีข้อเสียของการรักษาดีกว่านี้ เขาจะไม่มีปัญหานี้หรือเปล่าครับ"วศินพูดโดยนึกวิธีพูดให้Softที่สุดเท่าที่ จะทำได้
"ประเด็นของคุณดีมาก ช่างสังเกตดี" อาจารย์ตอบอย่างมีรอบยิ้ม " ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการอธิบายเกี่ยวกับการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว หากคุณลองเอาเวชระเบียนมาดู คุณจะเห็นว่าในนั้นมีการพูดคุยเรื่องนี้หลายครั้ง ... ตั้งแต่ก่อนการรักษา และระหว่างที่รักษาก็มีหลายครั้งที่แพทย์แนะนำให้หยุดยา"
"มีการส่งไปตรวจเช็คสภาพหูหลายครั้ง ซึ่งพบว่าประสาทหูเริ่มเสื่อมถอยลงช้าๆ" อาจารย์เปิดเวชระเบียนให้วศินดู มีผลการตรวจการได้ยินและคำแนะนำจากแพทย์หูคอจมูก "มีการแนะนำหลายครั้ง ซึ่งถ้าคุณดูตรงนี้ จะมีหมอคนนึงเขียนไว้ว่าผุ้ป่วยรายนี้บอกว่า 'ยอมไม่ได้ยินดีกว่าถูกตัดแขน' เพราะงานและชีวิตของเขาจำเป็นต้องใช้มือ มากกว่า"
"แล้วทำไมเขาถึงบอกกับผมแบบนั้นล่ะครับ เป็นไปได้ไหมครับว่าเขาไม่เข้าใจจริงๆ" วศินยังสงสัยต่อไปอีก
"เป็นคำถามที่ดี ... ซึ่งถ้าคุณได้ใช้เวลากับผู้ป่วยรายนี้ ลองพูดคุยเรื่องนี้เป็นเวลานานพอ เขาจะค่อยๆยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นว่าแรกเริ่มเดิมทีเกิดจากทางเลือกที่เขา เลือกเอง" อาจารย์อธิบาย
"ทำไมเป็นอย่างนั้นครับอาจารย์" วศินร้องขึ้น เขาคิดมาเสมอว่าถ้าหากคุยเตรียมตัวผู้ป่วยไว้ก่อนอย่างดี ผู้ป่วยก็ย่อมเข้าใจและไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ ...
"คุณเคยเรียนเรื่องลำดับ5ขั้นของอลิซาเบธ คูเบอร์โรสไหม" อาจารย์ถาม
"เคยครับ ที่ว่าคนที่สูญเสียจะมีอาการของการไม่ยอมรับความจริง โกรธและโทษผู้อื่น ต่อรอง เศร้า และยอมรับ "
"เมื่อตกอยู่ในขั้นเหล่านี้ ส่วนใหญ่เราใช้เหตุผลไม่ได้หรอก ... และที่คุณได้เจออยู่ก็คือกำลังโกรธและเศร้าอยู่ " อาจารย์บอก "ถ้าคุณใช้เหตุผลกับเค้าแล้วเค้ายอมรับได้ แปลว่าเค้าไม่ได้โกรธแต่อยู่ในช่วงระยะที่ยอมรับไปแล้ว"
วศินเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว ... แม้ว่ามันจะต่างไปจากความเชื่อของเขาค่อนข้งมากทีเดียว เพราะแต่เดิมเขาเข้าใจว่าการอธิบายอย่างดีจะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ทุกรายไป
"เดี๋ยวอย่าเพิ่งไปผมมีอีกเรื่องนึง" อาจารย์โบกมือห้ามเมื่อเห็นวศินกำลังจะลุกขึ้น
"ครับ"
"อีกเรื่องนึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจะต้องรู้ไว้" อาจารย์กล่าว "คุณสังเกตไหมว่าผมไม่ได้ให้เวชระเบียนคุณดูตั้งแต่ต้น"
วศินนึกดูดีๆ ... จริงสิ อาจารย์ให้เขาดูแต่เวชระเบียนส่วนที่ผู้ป่วยมานอนที่โรงพยาบาล แต่ได้ให้ดูช่วงก่อนหน้านั้นเลย ทั้งที่ถ้าเขาดูก็จะบอกได้ว่าผู้ป่วยพูดไม่ตรงกับความจริง
"จากที่ผมฟังคุณพูด สิ่งที่คุณจะต้องระวังเมื่อคุณไปทำงานจริงๆคือ ...'เราไม่รู้ว่าผู้ป่วยพูดตรงกับความจริงมากแค่ไหน' อย่าลืมว่าสิ่งที่เขาพูดออกมาคือสิ่งที่เขารับรู้ ซึ่งสิ่งที่รับรู้อาจจะไม่ตรงกับความจริงก็ได้" อาจารย์สอน "ผู้ป่วยรายนี้ตอนที่ได้รับคำแนะนำ มีญาติใกล้ชิดเข้าร่วมการแนะนำเสมอก็เลยไม่มีปัญหาอะไร"
"แต่ในชีวิตจริง หากญาติไม่ได้ร่วมการแนะนำ มาเจอหมอคนที่สองแล้วหมอเกิดตำหนิแพทย์คนแรกว่าไม่ยอมอธิบายให้ละเอียด ... คุณสามารถคิดได้นะว่าจะเกิดอะไรขึ้น"
"เป็นแพทย์ที่มีจิตใจดีและเห็นใจคนไข้อย่างเดียวไม่พอหรอก ... คุณต้องเฉลียวด้วย"
วศินเรียนอยู่ในช่วงของจิตเวชนี่นา แล้วทำไมถึงต้องไปอยู่ที่แผนกผ่าตัดล่ะ?
คืนก่อนนั้นที่ห้องนอน
"ของเราจะมีให้ไปขึ้นที่ตึกผู้ป่วยนอกจะมีวันนึงที่ให้ตรวจผู้ป่วยแบบรวมสามวันตามอาจารย์ แล้วอีกวันก็จะให้ตรวจและรักษาคนไข้เก่าเอง" วศินบอกกับโกวิทและสุรศักดิ์ที่ฟังอย่างตั้งใจ
"ส่วนของเราให้ไปที่แผนกอุบัติเหตุ ให้ไปคุยกับผู้ป่วยเรื้อรังแล้วก็ประเมินสภาพทางจิตใจ ที่เหลือก็เป็นการตามพี่resident1เวลามีแผนกอื่นปรึกษามา" สุรศักดิ์พูดบ้าง
"ส่วนของเราเป็นประชุมกลุ่มแล้วก็ดูคนไข้ในที่ชั้น5 มีจัดกิจกรรมให้คนไข้ แล้วก็ตามอาจารย์ดูเป็นเคสๆ" โกวิทเล่าส่วนของตนเอง
สิ่งที่ทั้งสามทำอยู่คือการแชร์ประสบการณ์การเรียนในช่วงที่ผ่านมาของตน ... เพราะว่าทั้งสามคนได้จับกลุ่มให้วนไปภาควิชาต่างๆด้วยกัน ซึ่งในภาควิชาจิตเวชศาสตร์นี้ได้บังเอิญว่าจัดทั้งสามคนแยกจากกัน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ว่าทั้งสามจะได้มาบอกเล่าว่าในแต่ละวันได้เจออะไรกัน มาบ้าง เพื่อว่าเมื่อถึงคราวที่สลับสับเปลี่ยนตึกที่ไปเรียนก็จะได้รู้ตัวไว้ก่อน
วิธีเรียนแบบช่วยเหลือกันนี้ เป็นหนึ่งในมรดกความคิดที่อาจารย์เพิ่มพูน สอนนักศึกษาแพทย์ไว้ตั้งแต่สมัยที่เรียนชั้นปีที่3
ช่วงเช้าหลังจากไปเข้าเรียนที่ตึกผู้ป่วย ช่วงบ่ายก็มีนัดให้ไปพบกันที่ตึกศัลยกรรมกัน เมื่อไปถึง อาจารย์และเพื่อนๆบางคนก็นั่งกันอยู่แล้ว
"เอ้า คุณสองคนดูผู้ป่วยรายนี้แล้วกัน" อาจารย์ยื่นเวชระเบียนผู้ป่วยให้วศินและบอส "ให้ประเมินผู้ป่วยรายนี้ว่ามีภาวะใดบ้างที่ไม่ปกติ และคิดไว้ด้วยว่าจะแก้อย่างไร"
เคสผู้ป่วยที่ทั้งสองได้รับ คือผู้ชายอายุ60กว่าปีที่ได้รับอุบัติเหตุทางจราจรที่ลึกถึงกระดูก จากนั้นมีการติดเชื้อเรื้อรังภายในกระดูกจนต้องได้รับการฝังยาปฏิชีวนะเข้า ไป ปัญหาที่ทำให้แผนกศัลยกรรมต้องปรึกษาทางจิตเวชศาสตร์ก็เนื่องมาจากผู้ป่วยมี การได้ยินผิดปกติไปอันเกิดจากผลข้างเคียงที่พบได้ของยาปฏิชีวนะ
"สวัสดีครับคุณพิเชฐ ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่6ชื่อวศิน"
"สวัสดีครับ ผมนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่6ชื่อบรรจงครับ ตอนนี้ผมทั้งสองคนได้รับมอบหมายให้มาพูดคุยเรื่องเกี่ยวกับเรื่องอาการที่ คุณพิเชฐเป็นอยู่นะครับ"
ชายสูงวัยที่นั่งบนเตียงผู้ป่วยหันมาดูทั้งสองคนก่อนจะหมุนนิ้วไปที่ใบหู "ได้ ... แต่พวกคุณคุยดังๆหน่อยนะ ผมไม่ค่อยได้ยิน"
ทั้งวศินและบอสเริ่มคุยกับคุณลุงเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไปก่อน โดยเริ่มจากเหตุการณ์ตั้งแต่ต้น ได้ความว่าคุณลุงพิเชฐขับรถจักรยานยนต์ไปแล้วเกิดล้มลงจนข้อมือเป็นแผลบวม หลังเกิดเหตุก็ไปรักษากับหมอพื้นบ้านจนกระทั่งผ่านไปหนึ่งเดือน แผลก็ไม่หาย ที่สุดแล้วไปรักษาที่โรงพยาบาลหมอเลยบอกว่าติดเชื้อเข้าไปในกระดูก รักษาอยู่อีกหลายเดือนก็ไม่หาย หมอก็บอกว่าต้องตัดมือทิ้ง
"แล้วตอนนั้นลุงว่าอย่างไรต่อครับ" วศินถาม
"ลุงถามหมอที่นั่นว่าไม่ตัดได้ไหม" ผู้ป่วยตอบ "หมอที่นั่นก็บอกลุงว่าลุงมีทางเลือกอยู่สองทางอย่างแรกคือตัดออก อีกทางคือให้ยาฆ่าเชื้อบางตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งทางหลังจะเสี่ยงกว่า"
"แล้วลุงเลือกอย่างหลังใช่ไหมครับ" บอสถามซึ่งผู้ป่วยก็พยักหน้ารับ
"ผมก็เลือกเอามือผมไว้ หมอที่นั่นเลยส่งผมมาที่นี่ หมอที่นี่ก็พูดเหมือนกันว่าน่าจะตัดเพราะเป็นมามากแล้ว" ลุงพูดเสียงดังจนผู้ป่วยเตียงอื่นๆหันมาดู "ผมก็เลยถามว่าให้ยาเสี่ยงยังไง"
"หมอที่ผ่าตัดเค้าบอกแล้วเหรอครับ" วศินถาม
"ใช่ บอก แต่บอกไม่ละเอียด หมอมันชุ่ยมาก ดูซิผมเลยเป็นอย่างนี้" ลุงพิเชฐโวยเสียงดังขึ้นอีก
"ตอนนั้นเค้าบอกหรือเปล่าครับว่ายาตัวที่ให้ มีโอกาสที่ให้แล้วจะเกิดอาการผิดปกติที่หู" บอสถามอีกครั้งหนึ่งเพื่อประเมินเรื่องการให้ข้อมูลก่อนการรักษา
" บอกสิ บอกว่าให้แล้วหูอาจจะหนวก ไตอาจจะวาย " ผู้ป่วยร้องเสียงดังตามปกติของผู้ที่หูไม่ค่อยได้ยินที่จะพูดเสียงดังกว่าปกติ " ผมก็นึกว่าแค่ได้ยินน้อยลงนิดหน่อย แต่ถ้ามันบอกผมว่าผมจะไม่ได้ยินเลยแบบนี้ ผมยอมตัดแขนเสียดีกว่า "
ว่าแล้วผู้ป่วยที่นั่งตรงหน้าวศินก็ร้องไห้ขึ้น พยาบาลและผู้ป่วยที่อยู่ข้างหันมามองนิดหน่อยก่อนที่จะทำกิจกรรมของตนเองต่อไปราวกับว่าสิ่งที่เห็นเป็นเรื่องธรรมดา
" ไม่เป็นไรครับคุณลุง ไม่เป็นไร" บอสจับมือของผู้ป่วยไว้ก่อนจะปลอบ รอให้ผู้ปวยหยุดร้องไห้ก่อนแล้วค่อยๆคุยต่อ ... การสนทนาหลังจากนั้นเป็นการถามเพื่อหาภาวะโรคซึมเศร้าและภาวะทางจิตเวชอื่นๆ
จบคาบดังกล่าวแล้ว วศินและบอสเขียนรายงานผู้ป่วยและเตรียมนำเสนออาจารย์ในช่วงเช้าวันถัดมา
วันรุ่งขึ้นExternวศินเดินไปที่ห้องอาจารย์เพื่อส่งรายงาน เมื่อบรรจงเดินออกมาเขาก็เดินสวนเข้าไป ... อาจารย์นั่งอยู่ตรงนั้นโดยมีทั้งเวชระเบียนประวัติผู้ป่วยและรายงานของบรรจง วางอยู่ตรงหน้า
วศินรายงานเคสผุ้ป่วยร่วมกับการวินิจฉัยที่คาดไว้ ผู้ป่วยไม่ถึงกับเป็นโรคซึมเศร้า แต่กำลังอยู่ในภาวะเสียใจากการสูญเสีย ยังไม่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือการทำร้ายตัวเองมากนัก
หลังจากรายงานเสร็จ วศินส่งรายงานให้อาจารย์ซึ่งพลิกดูทีละหน้า
"คุณมีอะไรสงสัยไหม" อาจารย์ถามหลังจากอ่านรายงานเสร็จ วศินนึกอยู่ครู่หนึ่งก่อนที่จะตัดสินใจถาม
"ผมสงสัยเรื่องผู้ป่วยรายนี้ครับอาจารย์" วศินเอ่ย " เขาบอกว่าถ้าเค้ารู้มาก่อนว่าอาการจะเป็นถึงขนาดนี้ เขายอมเสียแขนดีกว่า "
"น่าสนใจ ... แล้วยังไงต่อ" อาจารย์หันมาและจ้องวศิน
"ผมสงสัยว่า.... ถ้า ... ถ้าเราเตรียมตัวผู้ป่วยดีกว่านี้ อธิบายข้อดีข้อเสียของการรักษาดีกว่านี้ เขาจะไม่มีปัญหานี้หรือเปล่าครับ"วศินพูดโดยนึกวิธีพูดให้Softที่สุดเท่าที่ จะทำได้
"ประเด็นของคุณดีมาก ช่างสังเกตดี" อาจารย์ตอบอย่างมีรอบยิ้ม " ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการอธิบายเกี่ยวกับการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว หากคุณลองเอาเวชระเบียนมาดู คุณจะเห็นว่าในนั้นมีการพูดคุยเรื่องนี้หลายครั้ง ... ตั้งแต่ก่อนการรักษา และระหว่างที่รักษาก็มีหลายครั้งที่แพทย์แนะนำให้หยุดยา"
"มีการส่งไปตรวจเช็คสภาพหูหลายครั้ง ซึ่งพบว่าประสาทหูเริ่มเสื่อมถอยลงช้าๆ" อาจารย์เปิดเวชระเบียนให้วศินดู มีผลการตรวจการได้ยินและคำแนะนำจากแพทย์หูคอจมูก "มีการแนะนำหลายครั้ง ซึ่งถ้าคุณดูตรงนี้ จะมีหมอคนนึงเขียนไว้ว่าผุ้ป่วยรายนี้บอกว่า 'ยอมไม่ได้ยินดีกว่าถูกตัดแขน' เพราะงานและชีวิตของเขาจำเป็นต้องใช้มือ มากกว่า"
"แล้วทำไมเขาถึงบอกกับผมแบบนั้นล่ะครับ เป็นไปได้ไหมครับว่าเขาไม่เข้าใจจริงๆ" วศินยังสงสัยต่อไปอีก
"เป็นคำถามที่ดี ... ซึ่งถ้าคุณได้ใช้เวลากับผู้ป่วยรายนี้ ลองพูดคุยเรื่องนี้เป็นเวลานานพอ เขาจะค่อยๆยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นว่าแรกเริ่มเดิมทีเกิดจากทางเลือกที่เขา เลือกเอง" อาจารย์อธิบาย
"ทำไมเป็นอย่างนั้นครับอาจารย์" วศินร้องขึ้น เขาคิดมาเสมอว่าถ้าหากคุยเตรียมตัวผู้ป่วยไว้ก่อนอย่างดี ผู้ป่วยก็ย่อมเข้าใจและไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ ...
"คุณเคยเรียนเรื่องลำดับ5ขั้นของอลิซาเบธ คูเบอร์โรสไหม" อาจารย์ถาม
"เคยครับ ที่ว่าคนที่สูญเสียจะมีอาการของการไม่ยอมรับความจริง โกรธและโทษผู้อื่น ต่อรอง เศร้า และยอมรับ "
"เมื่อตกอยู่ในขั้นเหล่านี้ ส่วนใหญ่เราใช้เหตุผลไม่ได้หรอก ... และที่คุณได้เจออยู่ก็คือกำลังโกรธและเศร้าอยู่ " อาจารย์บอก "ถ้าคุณใช้เหตุผลกับเค้าแล้วเค้ายอมรับได้ แปลว่าเค้าไม่ได้โกรธแต่อยู่ในช่วงระยะที่ยอมรับไปแล้ว"
วศินเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว ... แม้ว่ามันจะต่างไปจากความเชื่อของเขาค่อนข้งมากทีเดียว เพราะแต่เดิมเขาเข้าใจว่าการอธิบายอย่างดีจะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ทุกรายไป
"เดี๋ยวอย่าเพิ่งไปผมมีอีกเรื่องนึง" อาจารย์โบกมือห้ามเมื่อเห็นวศินกำลังจะลุกขึ้น
"ครับ"
"อีกเรื่องนึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจะต้องรู้ไว้" อาจารย์กล่าว "คุณสังเกตไหมว่าผมไม่ได้ให้เวชระเบียนคุณดูตั้งแต่ต้น"
วศินนึกดูดีๆ ... จริงสิ อาจารย์ให้เขาดูแต่เวชระเบียนส่วนที่ผู้ป่วยมานอนที่โรงพยาบาล แต่ได้ให้ดูช่วงก่อนหน้านั้นเลย ทั้งที่ถ้าเขาดูก็จะบอกได้ว่าผู้ป่วยพูดไม่ตรงกับความจริง
"จากที่ผมฟังคุณพูด สิ่งที่คุณจะต้องระวังเมื่อคุณไปทำงานจริงๆคือ ...'เราไม่รู้ว่าผู้ป่วยพูดตรงกับความจริงมากแค่ไหน' อย่าลืมว่าสิ่งที่เขาพูดออกมาคือสิ่งที่เขารับรู้ ซึ่งสิ่งที่รับรู้อาจจะไม่ตรงกับความจริงก็ได้" อาจารย์สอน "ผู้ป่วยรายนี้ตอนที่ได้รับคำแนะนำ มีญาติใกล้ชิดเข้าร่วมการแนะนำเสมอก็เลยไม่มีปัญหาอะไร"
"แต่ในชีวิตจริง หากญาติไม่ได้ร่วมการแนะนำ มาเจอหมอคนที่สองแล้วหมอเกิดตำหนิแพทย์คนแรกว่าไม่ยอมอธิบายให้ละเอียด ... คุณสามารถคิดได้นะว่าจะเกิดอะไรขึ้น"
"เป็นแพทย์ที่มีจิตใจดีและเห็นใจคนไข้อย่างเดียวไม่พอหรอก ... คุณต้องเฉลียวด้วย"
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น