ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Extern เราจะข้ามผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน

    ลำดับตอนที่ #5 : -6 คนไข้ที่มีการวินิจฉัยห้อยคอ 6-

    • อัปเดตล่าสุด 6 พ.ย. 52


    วศินเดินพร้อมกับเพื่อนๆอีก4คนไปที่ตึกผู้ป่วยนอก ผ่านกลุ่มคนที่รอขึ้นลิฟท์กันมากมายขึ้นไปยังชั้นบน ... ผู้ป่วยที่นี่มากอยู่เสมอ ดังนั้นแทนที่ทั้งหมดจะรอลิฟท์ต่างก็เดินขึ้นบันไดไปด้วยกัน
    ชีวิตexternก็ไม่ได้ยากเย็นอย่างที่วศินกังวล เริ่มแรกมาได้สัปดาห์นึงทุกคนก็ได้เรียนในภาคทฤษฎีและได้ตามอาจารย์ไปดูผู้ป่วยที่ตึกผู้ป่วยนอก สิ่งที่วศินได้เพิ่มขึ้นจากการเรียนทางจิตเวชนี้ไม่ใช่ความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นมุมมองที่เปลี่ยนไปจากเดิมจากที่เคยรู้สึกไม่ค่อยชอบเปลี่ยนเป็นรู้สึกเฉยๆ
    แค่เฉยๆ ... เพราะว่าแต่เดิมวศินก็ไม่ต่างกับคนทั่วไปรู้สึกในแง่ลบกับคนไข้ที่มีอาการทางจิตเวชในภาวะต่างๆ เช่นผู้ที่ติดสุรา , ผู้ป่วยจิตเภท , ผู้ป่วยซึมเศร้า ซึ่งแต่เดิมวศินมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของความเข้มแข็งของจิตใจ แต่พอได้เรียนแล้ววศินก็ตระหนักได้ว่าเรื่องโรคทางจิตเวชนี้เป็นเรื่องของสารเคมีในสมอง ไม่ใช่เรื่องจิตใจที่เข้มแข็งหรือไม่แต่อย่างใด ที่จริงเขาน่าจะตระหนักได้ตั้งแต่เมื่อครั้งที่เจอกับคนที่เกิดอาการหายใจเร็วแล้ว เพราะว่าครั้งนั้นเขาเข้าใจดีว่ามันไม่ใช่โรคของการแกล้งทำแต่เป็นภาวะผิดปกติของสารในร่างกายที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและความรู้สึก
    โรคและภาวะทางจิตเวชก็เช่นกันไม่ได้เกิดจากความไม่เข้มแข็งหรือความตั้งใจเสียทั้งหมด หากแต่เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทภายในสมองร่วมด้วยคู่กันไป

    สำหรับวันนี้ ทุกคนได้รับมอบหมายให้ไปตึกผู้ป่วยนอกเพื่อตรวจผู้ป่วยจิตเวช เป็นการซักประวัติผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามาแล้วระยะหนึ่งและวางแผนการรักษาต่อ (แน่นอนว่าการรักษาจริงเป็นอาจารย์ที่สั่ง)

    "สวัสดีค่ะพี่ พวกหนูที่วันนี้ต้องมาดูคนไข้กับอาจารย์ค่ะ" นวลพูดกับพยาบาลที่นั่งอยู่ที่หน้าเคาน์เตอร์ "อาจารย์นัดไว้ที่ห้อง418ค่ะ"
    พยาบาลชี้ให้เข้าไปที่ห้อง418ซึ่งเป็นห้องที่เตรียมไว้สำหรับให้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่6ใช้สำหรับตรวจผุ้ป่วยตัวอย่าง ข้างๆตัวมีแฟ้มผู้ป่วยที่เตรียมไว้วางอยู่ นักศึกษาแพทย์ทั้ง5คนเดินเข้าไปในห้องเพื่อนั่งรออาจารย์ นั่งเพียงอึดใจนวลก็ลุกขึ้นเดินออกไปนอกห้องก่อนจะกลับเข้ามาและเปิดหนังสือ

    "หาอะไรเหรอนวล" วรรณ เพื่อนกลุ่มเดียวกันถาม
    "เมื่อกี้ชั้นออกไปเปิดดูประวัติคนไข้มา ตกลงคนไข้เป็น schiz"

    schizophrenia หรือโรคจิตเภทคือสิ่งที่นวลกำลังพูดถึง เป็นโรคที่มีอาการหลักคือเรื่องของประสาทหลอนเห็นสิ่งที่ไม่มีให้เห็นได้ยิน สิ่งที่ไม่มีให้ได้ยิน ร่วมกับมีอาการหวาดระแวงกลัวคนจะมาทำร้าย
    จากนั้นทั้งกลุ่มก็นั่งกันเงียบๆอ่านหนังสือต่อไปจนกระทั่งอาจารย์เข้ามา

    อาจารย์เดินเข้ามาพร้อมกับชายคนหนึ่ง ทำให้ทุกคนละสายตาจากหนังสือทันที
    "สวัสดีทุกคน" อาจารย์ทักทุกคน กวาดสายตาไปรอบๆห้อง "นี่คือคุณจตุพร เป็นผู้ป่วยที่รักษาอยู่ที่แผนกผู้ป่วยนอกของภาควิชา"

    ชายหนุ่มเดินไปนั่งลงที่ที่นั่งกลางห้อง ยิ้มให้นักศึกษาแพทย์ทุกคน

    "ผมจะยังไม่บอกว่าผู้ป่วยเป็นอะไร แต่จะให้พวกคุณทำหน้าที่ซักประวัติโดยละเอียดเพื่อให้ได้การวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม .... และพกคุณสามารถเปิดหนังสือได้"
    ช่วงแรก การสัมภาษณ์เริ่มจากที่ประวัติทั่วๆไป เริ่มจากการแนะนำตัวของทุกคน และให้ผู้ป่วยซักประวัติก่อนที่จะต้องมารักษาว่าเกิดอะไรขึ้น ... สิ่งที่ได้คือทางบ้านพามารักษาเนื่องจากมีอาการหงุดหงิดง่ายและอารมณ์รุนแรงขึ้น

    กลุ่มของนวลยิ้มขึ้นนิดๆ เพราะว่าschizophreniaหรือจิตเภท เป็นโรคที่มีอาการเหล่านี้อยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่ทำต่อจากนี้ได้ก็คือการซักประวัติในอาการของโรคจิตเภทให้ครบ

    "คุณจตุพรมีคววามรู้สึกว่ามีใครคิดหรือทำอะไรไม่ดีกับคุณหรือเปล่าคะ" นวลถาม
    "ก็มีบ้างครับ" ชายหนุ่มตอบ
    "ที่ว่าเหมือนมีคนคิดไม่ดีด้วยนี่เป็นยังไงบ้างเหรอครับ" วศินถาามอีกครั้ง เพราะว่ารู้สึกว่ามันยังไม่เพียงพอ ... ผู้ป่วยนั่งนึกอยู่นิดก่อนจะบอกวศินว่าอยากให้ลองยกตัวอย่างมาให้หน่อยเพราะว่าเขาก็นึกไม่ออก

    "ไม่เป็นไรค่ะ" วรรณตัดบท "แล้วอาการนี้เป็นมากี่เดือนแล้วคะ"
    "เริ่มเป็นเมื่อประมาณห้าเดือนก่อนครับ แล้วแม่ผมก็พามาที่โรงพยาบาลเมื่อสามเดือนก่อน แล้วอาการก็ค่อยๆดีขึ้นครับ"
    ""แล้วมีอาการเศร้า เบื่อหรือนอนไม่หลับในช่วง6เดือนที่ผ่านมาหรือเปล่าครับ"บอสถาม
    "ก็มีบ้างครับ" จตุพรทำท่านึก
    "แล้วมีความรู้สึกว่าคนรอบๆข้างทำอะไรที่ไม่ดี แต่จริงๆไม่ได้ทำหรือเปล่าคะ"นวลถามตัดอีกครั้งเพราะที่บอสถามคือส่วนของ เรื่องโรคซึมเศร้าซึ่งไม่เกี่ยวกับจิตเภทเลย
    "ไม่มีครับ"
    "เคยเห็นภาพที่คนอื่นไม่เห็นหรือเปล่าคะ" วรรณถาม
    "ยังไงเหรอครับ"
    "เช่นเวลาอยู่ที่บ้านกับแม่แล้วคุณจตุพรเห็นใครบางคนแต่คุณแม่ไม่เห็นค่ะ"
    "เคยครับ"
    ทุกคนจดลงในสมุดจด ... "แล้วมีได้ยินเสียงแบบที่ไม่เห็นตัวคนพูดบ้างไหมคะ" นวลถามต่อ ซึ่งจตุพรก็พยักหน้ารับว่าเคยเป็น

    "งั้นมาถึงปัจจุบันนะคะ ปัจจุบันนี้คุณจตุพรยังมีอาการเห็นภาพโดยที่คนอื่นในบ้านไม่เห็นหรือได้ยิน เสียงแบบที่ไม่มีตัวคนหรือเปล่าคะ" วรรณถาม
    "ก็มีนี่ครับ" ชายหนุ่มตอบแบบไม่ต้องคิด สีหน้ามั่นใจเต็มที่


    "ตอนนี้คุณจตุพรยังกินยาอยู่หรือเปล่าคะ" แก้ว...หนึ่งในกลุ่มหญิงสาวทั้งสามถาม
    "กินครับ ตอนนี้กินอยู่เท่าเดิม" ชายหนุ่มผู้ป่วยพยักหน้ารับ
    "ถ้าพวกคุณจะดูเรื่องยาผมจะไม่ให้ซักประวัติต่อแล้ว จะดูยาเลยไหม" อาจารย์พูดขัดก่อนจะมีใครถามอะไรต่อ

    "ไม่มีอะไรถามแล้วค่ะ" นวลตอบทันทีและขยับไปข้างหน้าเพื่อจะดูตัวยา
    "งั้นผมขอถามเพิ่มหน่อยครับ" วศินรีบขัดในทันทีซึ่งอาจารย์ก็พยักหน้าให้ซักต่อ นวลขยับเข้ามาใกล้ๆ
    "จะซักอะไรอีก ... ก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นSchiz"เธอกระซิบ
    "ซักประวัติมันต้องซักหาโรคอื่นด้วยสิ"วศินเถียง เพราะว่าเวลาซักผู้ป่วย ผู้ป่วยไม่ได้มาและมีการวินิจฉัยแปะมาเสียหน่อย

    หลังจากนั้นวศินกับบอสก็ช่วยกันยิงคำถามเพื่อสอบถามเรื่องอาการของโรคซึมเศร้า โรคอารมณ์แปรปรวน และกลุ่มโรคจิตกลุ่มไซโคสิส ซึ่งก็ปรากฎว่าไม่มีอาการอะไรเด่นชัดเลย วศินเลยปิดด้วยคำถามที่เขายังติดใจสงสัยอยู่

    "แล้วที่คุณจตุพรบอกว่ามีอาการได้ยินเสียงโดยที่ไม่เห็นตัวคน เป็นยังไงลองเล่าให้ฟังหน่อยสิครับ" นักศึกษาแพทย์หนุ่มถาม
    "ก็ ทุกวันผมจะเปิดวิทยุฟังช่วงเช้า ก็ได้ยินเสียงดีเจครับ ไม่เห็นตัวดีเจสักที" จตุพรตอบ ...

    คำตอบที่ว่าทำให้สามสาวเอามือก่ายหน้าผาก

    "เอ่อ ... แล้วที่บอกว่าเห็นคนที่บ้านโดยที่คนในบ้านคนอื่นไม่เห็นล่ะครับ" วศินตัดสินใจถามต่อ
    "ก็เวลาเพื่อนผมมาหาที่บ้านก็มักจะอยู่แถวห้องนั่งเล่น ส่วนแม่ผมเองก็มักจะอยู่หลังบ้านทุกวัน"

    คำตอบที่ว่าทำให้สามสาวเอามือก่ายหน้าผาก

    "แล้วที่บอกว่าบางครั้งรู้สึกเหมือนมีคนพูดหรือคิดไม่ดีด้วยล่ะครับ"
    "ก็ผมป่วยเป็นอย่างนี้ ก็กังวลว่าจะมีคนบางคนมองในแง่ลบสิครับ"

    คำตอบที่ว่าทำให้สามสาวเอามือก่ายหน้าผาก ส่วนวศินก็เช่นกัน ต่างกันที่ว่าอยากเอาเท้าขึ้นมามากกว่า-_-'
    เพราะยิ่งซักยิ่งพาออกจากการวินิจฉัยไป
    จากประวัติตอนนี้ ไม่สามารถบอกได้เลยว่าตกลงเค้าเป็นอะไรกันแน่ ทั้งที่จริงๆรู้คำตอบกันอยู่แล้ว!


    ในชั่วโมงนั้นหลังจากที่ซักประวัติแล้วและให้ตอบว่านึกถึงโรคใดบ้าง สามสาวตอบเหมือนกันคือเป็นจิตเภท 
    ส่วนบอสกับวศินตอบเหมือนกันคือมีบุคลิกภาพผิดปกติแต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคใด
    ทั้งที่รู้ว่าเป็นschizophreniaแท้ๆ วศินนึกอย่างเสียดาย

    อาจารย์ชมทั้งสามคนที่สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้อง แต่ก็กล่าวต่อไปถึงความสำคัญของการตรวจรักษาผู้ป่วยว่าการซักประวัติเป็น สิ่งที่จำเป็นและต้องทำโดยละเอียดเพื่อจะได้แยกโรคที่มีความคล้ายคลึงกันได้
    "อ้อ ก่อนจะจบคาบผมขอกล่าวชมอีกครั้ง ผู้ป่วยรายนี้เป็นรายที่ไม่สามารถซักประวัติได้เลย ประวัติทั้งหมดที่ได้ ได้จากการสังเกตและจากญาติและคนใกล้ชิด" อาจารย์กล่าว " ผมต้องชมคุณทั้งสามจริงๆที่สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยรายนี้ได้ทั้งที่ขนาดอาจารย์เองยังไม่สามารถวินิจฉัยได้จากประวัติยังไม่ชัดเจน"
    อาจารย์กล่าวชมทั้งสามก็จริง แต่ว่าด้วยน้ำเสียงที่ฟังแล้วแปลกๆอยู่

    หลังจากเดินลงจากห้องมายังชั้นล่างวศินหันจะไปชอวนเพื่อนที่เหลือไปกินข้าวพร้อมกันก่อนจะไปเรียนต่อในคาบบ่าย แต่เพื่อนทั้งสามคนเดินไปแล้ว ...
    เขายังไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นจู่ๆเพื่อนทั้งสามคนจึงทำท่าทางเช่นนี้
    ไม่เข้าใจจริงๆ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×