ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #8 : หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ( อินเดีย )

    • อัปเดตล่าสุด 11 ธ.ค. 54


     

     หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยโบราณ
           
    เริ่มประมาณ 900-600ปีก่อนค.ศ. เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอีกษรอินเดียโบราณถึง ค.ศ.535
    สิ้นสุดราชวงศ์คุปตะ

    1.ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช (274-236ปีก่อนค.ศ.)

          บันทึกเรื่องราว  พระราชกรณียกิจและหลักธรรมคำสอนของพระองค์  โดยจารึกไว้ตามผนังถ้ำ เสาหิน ศิลาจารึก  ที่มีชื่อเสียง คือ เสาหิน ที่มี  หัวเสาเป็นรูปสิงห์หันหลังชนกัน เป็น สัญลักษณ์ ของอินเดีย ตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ


    2.ตำราอรรถศาสตร์

          เขียนโดย พราหมณ์เกาฏิลยะ ราว 400 ปีก่อนค.ศ. สะท้อนภาพการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมสมัยนั้น

    3.ด้านสถาปัตยกรรม

            -มหาสถูปสาญจี (เจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก) พระเจ้าอโศกมหาราชโปรดฯให้สร้างสถูปสาญจี สถูปอินเดียรุ่นแรก ประมาณ พ.ศ. 300 ตั้งอยู่บนเนินเขาในเขตหมู่บ้านสาญจี อำเภอไรเซ่น แคว้นมัธยมประเทศ ประเทศอินเดีย คำว่า "สาญจี" เป็นชื่อของหมู่บ้านที่องค์สถูปตั้งอยู่  สถูปสาญจี เป็นรูปโอคว่ำตั้งอยู่ บนฐาน
    และฉัตรปักบนยอด สถูปนี้สร้างเลียนแบบมาจากเนินดินหลุมฝังศพ  ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่บรรจุอัฐิธาตุแต่บางครั้งก็ใช้เป็นอนุสาวรีย์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
    ิ์สำหรับกระทำพิธีประทักษิณ คือการเดินเวียนขวารอบสถานที่เคารพ ซุ้มประตูหินทั้ง 4 ทิศ จำหลักภาพเกี่ยวกับเรื่องราวและสถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่ปฐมเทศนา สถานที่ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า 

     

         


                        ซุ้มประตูทางด้านทิศใต้                         ภาพสลักพระพุทธประวัติที่เสาซุ้มประตู
                                                                                                        ด้านบนฝูงลิงถวายน้ำผึ้ง
         

    4.จิตรกรรม

             -สมัยคุปตะ และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็นภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก แสดงถึงความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง


     
     
         ภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำอชันตะ




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×