ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #10 : หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกลาง ( จีน )

    • อัปเดตล่าสุด 11 ธ.ค. 54


     หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง (ค.ศ. 220- ค.ศ.1368 )
       มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และรับอิทธิพลอารยธรรมต่างชาติเข้ามา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา     

    1. งานบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์
        เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุด จัดทำบันทึกประวัติศาสตร์ในทุกราชวงศ์ เรียกว่า เจิ้งสื่อ โดย จักรพรรดิราชวงศ์ใหม่ทรงให้ราชบัณฑิตจัดทำประวัติศาสตร์ของราชวงศ์เก่าที่ล่มสลายไป เพื่อเป็นบทเรียนทางศีลธรรมสำหรับชนชั้นปกครองในราชวงศ์ปัจจุบัน 
     

         บันทึกที่สำคัญในประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง
    มีหลายฉบับด้วยกัน เช่น
    โฮ่วฮันฉู่ หรือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง เรียบเรียงใน ค.ศ. 300
    สุย
    ฉู่ หรือประวัติศาสตร์ราชวงศ์สุย เรียบเรียงใน ค.ศ. 644 สมัยราชวงศ์ถัง
    ถังฉู่ หรือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังเรียบเรียงใน ค.ศ. 945 สมัยห้าราชวงศ์
    ซ่งสื่อ หรือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ซ่ง เรียบเรียงใน ค.ศ. 1345 สมัยราชวงศ์หยวน

    หยวนสื่อ
    เรียบเรียงใน ค.ศ. 1370 สมัยราชวงศ์หมิง


    2. หลักฐานแหล่งโบราณคดีถ้ำพุทธศิลป์ 

        สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ มีการขุดเจาะถ้ำ  มีศิลปกรรมทั้งด้านประติมากรรมและจิตรกรรมตามปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ถ้ำที่สำคัญ ได้แก่ ถ้ำหยุนกัง ในมณฑลฉ่านซี และถ้ำตุนหวงในมณฑลกันซู

           สมัยราชวงศ์ถัง มีการสร้างถ้ำในพระพุทธศาสนา คือ  ถ้ำหลงเหมิน ในมณฑลเหอหนาน ผู้อุปถัมภ์การสร้างถ้ำพุทธศิลป์มีตั้งแต่พระจักรพรรดิ พระราชวงศ์ พระภิกษุ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป


     

    ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่ตุนหวง เล่าเรื่องราวในตำนานของกวาง

         หลักฐานที่ค้นพบในถ้ำ
          คัมภีร์พระพุทธศาสนา ,ประติมากรรม ถ้ำหยุนกังและถ้ำหลงเหมิน ,จิตรกรรม ถ้ำตุนหวง แสดงถึงเนื้อหาในคัมภีร์พระสูตรทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่แพร่หลายในประเทศจีนและเอเชียกลาง

       
                     

    ถ้ำหยุนกัง ในมณฑลฉ่านซี                                            ถ้ำสลักหินหยุนกัง

      
    พุทธรูปจากถ้ำ


          ถ้ำหินหลงเหมิน อยู่ในหุบเขาหลงเหมิน ห่างจากเมืองลั่วหยางมณฑลเหอ หนานไปทางทิศใต้ ด้านตะวันออกและตะวันตกเป็นภูเขา มีแม่น้ำอี๋สุ่ย ไหลผ่านตรงกลางมองดูเสมือนประตูที่มีมังกรโลดแล่นขนาบอยู่ จึงได้ชื่อว่า หลงเหมิน คือ ประตูมังกร ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญ  ทางการคมนาคม มีภูเขาสีเขียวและน้ำใส อากาศดี และหินในสถานที่นี้มีคุณภาพดี เหมาะสำหรับการแกะสลัก

              

    ถ้ำหลงเหมิน ในมณฑลเหอหนาน


          สร้างในสมัยจักรพรรดิเสี้ยวเหวินราชวงศ์เว่ยเหนือใช้เวลากว่า 400 ปี มีความยาวจากใต้สู่เหนือของถ้ำประมาณ 1 กิโลเมตร มีถ้ำหินกว่า 1,300 ถ้ำ ช่องบรรจุพระพุทธรูป 2,345 ช่องมีคำเขียนและศิลาจารึก กว่า 3,600 ชิ้น เจดีย์พุทธศาสนากว่า 50 องค์ พระพุทธรู
              
                           
    ถ้ำหินหลงเหมิน 


    พุทธรูปจากถ้ำหลงเหมิน

         ถ้ำกลางปินหยาง ถ้ำหินแกะสลัก สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ ใช้เวลาสร้างนานที่สุด 24 ปี ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ 11 องค์ พระพุทธรูปศากยมุนีมีความสำคัญที่สุด มีลักษณะที่เด่นสง่า น่าเลื่อมใส มีรอยแย้มพระสรวล อิ่มเอิบด้วยเมตตา  มีพระสาวก 2 องค์และพระโพธิสัตว์ 2 องค์ ยืนอยู่ด้านซ้ายภาพหินแกะสลักภายในถ้ำ เช่น พระสาวกฟังธรรมและนางฟ้าบนเพดานถ้ำก็สร้างขึ้นด้วยฝีมือ อันละเอียดประณีต


    ถ้ำกลางปินหยาง

          วิหารเฟิ่งเซียน ถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในถ้ำหลงเหมิน เป็นตัวแทนศิลปะหินแกะสลักสมัยราชวงศ์ถัง วิหารนี้ยาว 30เมตรและกว้างก็ 30เมตร พระพุทธไวโรจนะในถ้ำมีความสูง 17เมตร มีพุทธศิลป์อันล้ำเลิศ และเป็นพระพุทธรูปหินสลักมหึมา สวยที่สุดในโลก

          ถ้ำกู่หยาง ถ้ำที่สร้างขึ้นอันดับแรกและมีสิ่งที่เก็บสะสมไว้มากที่สุดในถ้ำหลงเหมิน ทั้งพระพุทธรูปหินแกะสลักจำนวนมาก และคำเขียนที่บอกชื่อนายช่าง วันเวลาและ สาเหตุในการสร้าง พระพุทธรูปเหล่านี้ ซึ่งเป็นข้อมูลอันล้ำค่าในการวิจัยศึกษาศิลปะหินแกะสลักและศิลปะในการเขียนตัวอักษรจีนแบบลายมือพู่กัน


     



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×