คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานชั้นต้น (primary source)
2. หลักฐานชั้นรอง (secondary source)
1. หลักฐานชั้นต้น (primary source)
คือ หลักฐานที่บันทึกโดยผู้เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น งานเขียนประวัติศาสตร์ของผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ กรอบความคิดและโลกทัศน์ของปัญญาชนอังกฤษในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 นับว่าเป็นหลักฐานชั้นต้น เนื่องจากงานเขียนนี้เกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อม ขนบธรรมเนียม และกรอบความคิดของสังคมอังกฤษในช่วงปลาย
2. หลักฐานชั้นรอง (secondary source)
คือ หลักฐานที่ผู้บันทึกได้รับรู้เหตุการณ์จากการสื่อสารของบุคคลอื่นมาอีก ทอดหนึ่ง รวมทั้งงานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษาข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น เช่น งานเขียนทางประวัติศาสตร์เรื่อง การเสื่อมและการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (The history of the Decline and Fall of the Roman Empire) ของ เอ็ดเวิร์ด กิบบอน (Edward Gibbon) คริสต์ศตวรรษที่ 18
หนังสือ The history of the Decline and Fall of the Roman Empire
เอ็ดเวิร์ด กิบบอน (Edward Gibbon) ผู้แต่ง
จำแนกตามลักษณะของหลักฐาน
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. หลักฐานลายลักษณ์อักษร
2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. หลักฐานลายลักษณ์อักษร
คือ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ ได้แก่ จารึก ตำนาน บันทึกความทรงจำ เอกสารทางราชการ ชีวประวัติ จดหมาย ส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม เช่น
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า จดหมายเหตุลาลูแบร์
(Du Royaume de Siam)
2.หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
คือ หลักฐานที่เป็นวัตถุ ซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ รูปเคารพ มหาวิหาร โครงกระดูกมนุษย์ กระดูกสัตว์ เช่น
พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ภาชนะดินเผาที่เขียนลายด้วยสีแดง จากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี
ความคิดเห็น