คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : อียิปต์โบราณ ตอน อักษรภาพไฮโรกลิฟ
ที่นี้น้องๆ ลองมาทายกันซิว่า อักษรภาพที่ 1 และ 2 ในรูปที่ 2 มีค่าเท่าไหร่กันบ้าง ตอบกันได้ไหมเอ่ย คำตอบก็คือ 233 และ 4112 ตามลำดับนั่นเอง น้องๆ นักคณิตศาสตร์ช่างสังเกตคงเริ่มสงสัยแล้วใช่ไหมว่าอักษรภาพที่ 3 และ 4 มีความหมายว่าอย่างไร คำตอบก็คือ ชาวอียิปต์โบราณรู้จักการใช้ระบบเศษส่วนกันแล้วน่ะซิ โดยเขาใช้ภาพที่เหมือนรูปปากแทนความหมายของคำว่า ส่วน อย่างไรก็ตามระบบเศษส่วนแบบอียิปต์นี้ยังมีข้อจำกัดอยู่ตรงที่ เศษจะเป็น 1 และเมื่อเลขส่วนเป็นจำนวนมากๆ เขาจะเขียนภาพที่เหมือนรูปปากนี้อยู่เหนือเฉพาะค่าที่มากที่สุดเท่านั้น (ดังแสดงในอักษรภาพที่ 4 ของรูปที่ 2)
ในช่วงที่อียิปต์โบราณรุ่งเรือง 2000 กว่าปีนั้น อักษรภาพไฮโรกลิฟ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยต่อมาชาวอียิปต์โบราณเห็นว่าการเขียนแบบไฮโรกลิฟนั้น ไม่กระชับ จึงพัฒนาสัญลักษณ์แบบ ไฮราติก (Hieratic) ขึ้นดังแสดงในรูปที่ 3 ตัวเลขแบบไฮราติกนั้น ต้องใช้ความจำมากขึ้น เพราะมีสัญลักษณ์ทั้งหมด 36 ตัว (จากเดิมที่มีอักษรภาพเพียง 7 ตัว) แต่ข้อดีก็คือ เมื่อนำไปเขียนเป็นตัวเลข วิธีใหม่นี้สามารถลดจำนวนสัญลักษณ์ลง จากเดิมตัวเลข 9,999 ต้องใช้อักษรภาพ 36 ตัว ก็เหลือใช้สัญลักษณ์แบบไฮราติก เพียง 4 ตัวเท่านั้น สำหรับข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง สัญลักษณ์แบบไฮราติก และระบบจำนวนที่พวกเราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นก็คือ ตำแหน่งของสัญลักษณ์แบบ ไฮราติก ไม่มีผลต่อค่าของตัวเลข ดังรูปที่ 4 ซึ่งมีค่าเท่ากันคือ 2,765
ระบบเลขของชาวอียิปต์โบราณเป็นระบบเลขไม่มีหลัก เพราะไม่ว่าจะเขียนสัญลักษณ์ไว้ที่ตำแหน่งใดก็มีค่าคงที่เสมอ
บทความนี้ ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติ ทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ของบทความนี้ เป็นของผู้เขียน ซึ่งได้ให้เกียรติ วิชาการ.คอม ในการนำเผยแพร่
ความคิดเห็น