ยักษ์หน้าถ้ำที่คูหาภิมุข
หากกล่าวถึงคำว่า “ยักษ์” หลายๆคนคงนึกถึง “ทศกัณฐ์” ยักษ์ร้ายที่เป็นศัตรูคู่อาฆาตตัวฉกาจของพระรามใน “รามเกียรติ์” หรือ เรื่องราวพระนารายณ์อวตารปาง “รามจันทราวตาร”
“ยักษ์” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หน้า 896 กล่าวไว้ว่าหมายถึง “อมนุษย์พวกหนึ่ง หากเป็นชายให้เรียกว่ายักษ์ หากเป็นหญิงให้เรียกว่านางยักษ์ หรือ ยักขินี ยักษ์ถือเป็นอมนุษย์ที่มีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดำอำมหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้ บางที่ใช้ปะปนกับคำว่าอสูร รากษส และมารก็มี”
ยักษ์หน้าถ้ำที่คูหาภิมุข เป็นประติมากรรมแบบลอยตัว(round relief)
หรือรูปปั้นที่ สามารถแลดูได้รอบทิศ ปรากฏพบอยู่ภายในอาณาบริเวณของวัดคูหาภิมุข หรือวัดหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยรูปลักษณะเป็นยักษ์ในความเชื่อของคนท้องถิ่น กล่าวคือ ยักษ์ตนดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายคนป่าเผ่าซาไก ตัวดำผมหยิก ไว้หนวดเครารกรุงรัง มีเขี้ยวงอกออกมาพ้นริมฝีปาก นุ่งกางเกงหรือผ้าถุงสีแดงฉูดฉาดตา ยืนตัวตรง มือทั้งสองข้างจับไม้กระบองที่มีหัวกะโหลกมนุษย์เป็นด้ามท้ายแนบไว้กลางลำตัวอย่างทะมัดทะแมง มีงูบอง หรืองูบองหลา(งูจงอาง) เป็นสายสร้อยคล้องคอ
ตามความเชื่อของชาวบ้านตำบลหน้าถ้ำว่า ยักษ์ตนนี้มีมานานแล้วโดยมีหน้าที่เฝ้าหน้าถ้ำคูหาภิมุขมิให้ผู้ใดเข้ามาขโมยทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้ภายในถ้ำไปได้ มีตำนานเล่าว่า
ในสมัยก่อนมีขุนโจรที่มีจิตใจแสนชั่วช้าพร้อมด้วยลูกสมุน
ได้เข้ามาขโมยทรัพย์สมบัติภายในถ้ำ จึงโดยยักษ์เฝ้าหน้าถ้ำทุบตีด้วยกระบองถึงแก่ความตาย และยักษ์ตนนั้นก็ได้กลายเป็นหินเฝ้าอยู่หน้าถ้ำดังปรากฏให้เห็นตราบปัจจุบัน
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น