คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : พระอรหันต์
ลักษณะของพระอรหันต์
แบ่งตามวิธีการในการพัฒนาตน
พระอรหันต์ ๒ คือ
พระวิปัสสนยานิก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วได้ฌานในภายหลัง
พระสมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นญาณ ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อ
แบ่งตามคุณวิเศษ
พระอรหันต์ ๔ คือ
พระสุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใดๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว
พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ คือ รู้ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) รู้ทำอาสวะให้สิ้น(อาสวักขยญาณ)) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนา และถือธุดงควัตร
พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ คือ ตาทิพย์(ทิพฺพจักขุ)คือฤทธิที่สามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ใกล้ไกลได้ มีพระอนุรุทธะ เป็นเอกทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านการมีตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นโลกใบนี้ ราวกับ มองเม็ดมะขามป้อมบนฝ่ามือ, หูทิพย์(ทิพยโสต) แสดงฤทธิ์ได้โดยเฉพาะมโนมยิทธิการแยกร่างและจิต เป็นฤทธิที่แสดงได้เฉพาะพระอรหันต์ประเภทแฬภิญโญเท่านั้น (อิทธิวิธี) ทายใจผู้อื่นได้(เจโตปริยญาณ) ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) และญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป(อาสวักขยะญาณ)) อานิสงค์จากการปฏิบัติวิปัสสนาและเจริญสมาธิจนได้ฌานสมาปัตติ
พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔)คือแตกฉานในความรู้อันยิ่ง ๔ ประการ ได้แก่ อัตถปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในอรรถ ธัมมะปฏิสัมภิทาความแตกฉานในธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทาความแตกฉานในภาษา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณไหวพริบ
อานิสงค์จากการปฏิบัติวิปัสสนา และเล่าเรียน ตรึกตรอง ทรงจำและแสดง ซึ่งพระธรรมวินัยที่พระศาสดาทรงตรัสสอน(ไตรปิฎก)ซึ่ง
การเล่าเรียนธรรมอานิสงค์ได้ธรรมปฏิสัมภิทา รู้จริงในเหตุของสรรพสิ่งในธรรมชาติ
การตรึกตรองธรรม อานิสงค์ได้อัตถปฏิสัมภิทารู้จริงในผลลัพที่ลึกซึ้ง
การท่องทรงจำธรรม อานิสงค์ได้นิรุตติปฏิสัมภิทา รู้จริงในภาษาต่างๆในโลก
การเทศนาแสดงธรรม อานิสงค์ได้ปฏิภาณปฏิสัมภิทา รู้จริงในการแก้ไขปัญหาเข้าใจในนิสัยสันดานของสัตว์โลก
แบ่งตามคุณสมบัติเฉพาะตน
พระอรหันต์ ๕ คือ
พระปัญญาวิมุต
พระอุภโตภาควิมุต
พระเตวิชชะ
พระฉฬภิญญะ
พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ
พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้ ๕ นัย คือ
ไกลจากกิเลส
กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น
เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด
เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง
ความคิดเห็น