ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลโดราเอมอนขั้นเทพ

    ลำดับตอนที่ #1 : โดราเอมอน

    • อัปเดตล่าสุด 8 พ.ค. 52


    โดราเอมอน
    โดราเอมอน
    โดราเอมอน
    ชื่อไทยโดราเอมอน
    ชื่อญี่ปุ่นドラえもん
    ชื่ออังกฤษDoraemon
    ประเภทสำหรับเด็ก
    แนวตลก, ไซไฟ
    หนังสือการ์ตูน
    ผู้แต่งฟูจิโกะ F. ฟูจิโอะ
    สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์โชงะกุกัง
    สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
    นิตยสารโชกักอิจิเน็นเซย์-โยะเน็นเซย์
    โคโรโคโรคอมิก
    เทเลบิคุง
    ตีพิมพ์เมื่อพ.ศ. 2512พ.ศ. 2539
    จำนวนเล่ม45 เล่ม
    ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์
    โดราเอมอน ฉบับนิปปอนทีวี (2516)
    ผู้กำกับมิตสึโอะ คามิริ
    ผลิตโดยนิปปอนเทเลวิชัน โดงะ
    ฉายทางนิปปอนเทเลวิชัน
    ฉายครั้งแรก1 เมษายน พ.ศ. 251630 กันยายน
    พ.ศ. 2516
    จำนวนตอน26 ตอน
    ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์
    โดราเอมอน ฉบับทีวีอาซาฮี (2522-2548)
    ผู้กำกับเรียว โมโตฮิระ > สึโตมุ ชิบายามะ
    ออกแบบตัวละครเออิจิ นากามูระ
    ผลิตโดยAsatsu-DK
    ฉายทางทีวีอาซาฮี
    โมเดิร์นไนน์ทีวี
    ฉายครั้งแรก2 เมษายน พ.ศ. 252218 มีนาคม
    พ.ศ. 2548
    จำนวนตอน1,049 ตอน
    ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์
    โดราเอมอน ฉบับทีวีอาซาฮี (2548-ปัจจุบัน)
    ผู้กำกับโคโซ คุสึบะ > โซอิจิโร่ เซ็น
    ออกแบบตัวละครอายูมุ วาตานาเบะ
    ผลิตโดยAsatsu-DK, ชินเอโดงะ
    ฉายทางทีวีอาซาฮี
    ฉายครั้งแรก15 เมษายน พ.ศ. 2548ปัจจุบัน
    จำนวนตอน ?
    ส่วนหนึ่งของสารานุกรมการ์ตูนญี่ปุ่น

    โดราเอมอน (「ドラえもん」 Dora'emon – โดะระเอะมง?) หรือ โดเรมอน เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวหูด้วน ชื่อ โดราเอมอน ที่มาจากอนาคตกลับมาช่วยเหลือเด็กประถมจอมขี้เกียจ โนบิตะ ด้วยของวิเศษจากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) มีการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์โชงะกุกัง[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ในหนังสือทั้งหมด 6 เล่มพร้อมกัน โดยมีทั้งหมด 1,344 ตอน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] และในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับ รางวัลเท็ตซึกะ โอซามุ เป็นการ์ตูนดีเด่น[ต้องการแหล่งอ้างอิง] อีกทั้งยังได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของทวีปเอเชีย จากประเทศญี่ปุ่น[1] จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรีเพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นด้วย[2]

    ในประเทศไทย โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนมีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ ออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัทโรส มีเดีย[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    [แก้] โครงเรื่อง

    เนื้อเรื่องส่วนมากจะเกี่ยวกับปัญหาของโนบิตะเด็กชายชั้น ป.4 ที่มักถูกเพื่อนๆ แกล้ง (แต่บ่อยครั้งก็เป็นฝ่ายหาเรื่องใส่ตัวเอง) ไม่ค่อยชอบทำการบ้าน,อ่านหนังสือ และไปโรงเรียนสายบ่อย ๆ โดยมีเพื่อนที่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องคือโดราเอมอน (โนบิตะทำอะไรไม่ค่อยเป็น ต้องพึ่งโดราเอม่อนแทบทุกอย่าง) หุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่คอยดูแลช่วยเหลือโนบิตะตลอดเวลาด้วยของวิเศษจากอนาคต ไจแอนท์เด็กที่ดูเป็นอันธพาล แต่ที่จริงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวและรักการร้องเพลง ซูเนโอะผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ เป็นคู่หูกับไจแอนท์ที่คอยกลั่นแกล้งโนบิตะอยู่ตลอด เดคิสุงิ เป็นเด็กเรียนเก่ง นิสัยดี รักความถูกต้อง มีน้ำใจ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ชิซุกะผู้หญิงเพียงคนเดียวในกลุ่มเป็นเด็กเรียนดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นเด็กสาวที่โนบิตะหลงรัก ในอนาคตก็ได้มาเป็นเจ้าสาวของโนบิตะด้วย ไจโกะน้องสาวของใจแอนท์ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ตัวละครสำคัญนอกจากนี้ก็มีโดเรมี หุ่นยนต์แมวที่มีกระเป๋ามิติที่ 4 และของวิเศษ (แต่จะออกน่ารักๆ ดูเป็นแบบผู้หญิงมากกว่า) เช่นเดียวกับโดราเอมอนผู้เป็นพี่ชาย และคุณพ่อและแม่ของโนบิตะ ซึ่งแม่ดูจะมีบทบาทในเรื่องมากกว่าพ่อ

    แม้ว่าโนบิตะ ไจแอนท์ ซูเนโอะ และคนอื่นจะดูเหมือนมีปัญหากันบ่อยแต่ลึกแล้วก็รักและช่วยเหลือกันดี จะเห็นได้จากตอนพิเศษต่างๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ต้องออกไปผจญภัย (บางทีก็นอกโลก ใต้ทะเล หรือว่ายุคไดโนเสาร์)

    [แก้] รายชื่อตัวละคร

    ดูตัวละครทั้งหมดที่ ตัวละครในโดราเอมอน

    ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน เป็นเรื่องราวของกลุ่มเพื่อนในวัยเด็ก 4 คน และมีหุ่นยนต์แมวจากอนาคตเป็นตัวละครหลักดังนี้

    โดราเอมอน 
    หุ่นยนต์แมวจากอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นหลานของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา
    โนบิตะ 
    เด็กชายที่ไม่เอาไหน ทั้งเรื่องการเรียน กีฬา นิสัยขี้เกียจ และชอบนอนกลางวัน แต่ก็มีความสามารถด้านยิงปืนและพันด้าย ชอบชิซุกะมานาน และถูกใจแอนท์กับซึเนะโอะแกล้งประจำ
    ชิซุกะ 
    เด็กสาวน้ำใจดี เป็นที่รักของทุกคน ชอบการอาบน้ำเป็นอย่างมาก และชอบกินมันเผาเป็นพิเศษ
    ซึเนะโอะ 
    เด็กขี้อวดประจำโรงเรียน ฐานะดี และเป็นเพื่อนซี้กับไจแอนท์ ชอบพูดยกยอ และขี้ประจบ
    ไจแอนท์ 
    เด็กอ้วน หัวโจกประจำกลุ่ม ชอบแกล้งโนบิตะเป็นประจำ แต่ก็มีหลายครั้งที่แสดงความผูกพันกับโนบิตะ ฝันอยากจะเป็นนักร้องแต่เสียงไม่เอาไหน
    โดเรมี 
    หุ่นยนต์แมวจากอนาคตน้องสาวของโดราเอมอน

    ทีมพากย์โดราเอม่อน

    [แก้] โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ และโดราเอมอนตอนพิเศษ

    ดูบทความหลักที่ โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์

    โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เป็นอะนิเมะตอนพิเศษ ซึ่งมีการจัดทำขึ้นเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว และหนังสือการ์ตูน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] โดยปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) เป็นปีแรกที่มีการสร้างฉบับภายนตร์ชื่อตอนว่า ตะลุยแดนไดโนเสาร์[ต้องการแหล่งอ้างอิง] และมีการสร้างตอนพิเศษเรื่อยมาทุกปี[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ทั้งนี้ในปีพ.ศ. 2548 เป็นปีครบรอบ 25 ปีของการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังมีการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ออกมาเป็นตอนพิเศษอีกด้วย โดยมีวีซีดีออกมาครบแล้ว 25 แผ่น 25 ตอน [ต้องการแหล่งอ้างอิง]

    1. โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ
    2. ตะลุยจักรวาล (โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ)
    3. ตะลุยแดนมหัศจรรย์ (บุกดินแดนมหัศจรรย์)
    4. ผจญภัยใต้มหาสมุทร (ตะลุยปราสาทใต้สมุทร)
    5. ผจญภัยในดินแดนแห่งเวทมนตร์ (ตะลุยแดนปีศาจ)
    6. สงครามอวกาศ (สงครามอวกาศ)
    7. สงครามหุ่นเหล็ก (ผจญกองทัพมนุษย์เหล็ก)
    8. บุกแดนใต้พิภพ (เผชิญอัศวินไดโนเสาร์)
    9. ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ (กำเนิดประเทศญี่ปุ่น)
    10. ท่องแดนเทพนิยายไซอิ๋ว (ไม่มีในหนังสือ)
    11. ตะลุยอาณาจักรดาวสัตว์ (ตะลุยดาวต่างมิติ)
    12. ผจญภัยในดินแดนอาหรับราตรี (แดนอาหรับราตรี)
    13. ท่องแดนสวรรค์ (บุกอาณาจักรเมฆ)
    14. ความลึกลับของหุ่นกระป๋อง (ฝ่าแดนเขาวงกต)
    15. สามอัศวินมังกร (สามอัศวินในจินตนาการ)
    16. ตำนานการสร้างโลก (บันทึกการสร้างโลก)
    17. รถไฟสายกาแล็คซี่ (ผจญภัยสายกาแล็คซี่)
    18. ผจญภัยเมืองในฝัน (ตะลุยเมืองตุ๊กตาไขลาน)
    19. ผจญภัยดินแดนทะเลใต้ (ผจญภัยเกาะมหาสมบัติ)
    20. ท่องอวกาศ (บันทึกท่องอวกาศ)
    21. ตำนานจ้าวสุริยา (ตำนานสุริยกษัตริย์)
    22. อัศวินแดนวิหค (อัศวินแดนวิหค)
    23. ผจญภัยในอาณาจักรหุ่นยนต์ (ตะลุยอาณาจักรหุ่นยนต์)
    24. มหัศจรรย์ดินแดนแห่งสายลม (มหัศจรรย์ลูกพระพาย)
    25. ผจญภัยในอาณาจักรโฮ่งเหมียว (ผจญภัยข้ามมิติสู่อาณาจักรโฮ่งเหมียว)
    26. ไดโนเสาร์ของโนบิตะ 2006 (ไดโนเสาร์ของโนบิตะเดอะมูฟวี่)
    27. ตะลุยแดนปีศาจกับ7ผู้วิเศษ (โลกเวทมนทตร์และปีศาษ)
    28. ตะลุยจักรวาลใหม่ (โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ2009)

    [แก้] โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี

    ดูบทความหลักที่ โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี

    โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีเป็นภาพยนตร์การ์ตูนชุดสัญชาติญี่ปุ่น (อะนิเมะ) โดยสร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มใน ปีพ.ศ. 2516 โดยนิปปอนเทเลวิชัน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] และต่อมาปี พ.ศ. 2522 ทีวีอาซาฮี นำมาออกอากาศต่อซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง[ต้องการแหล่งอ้างอิง] สำหรับประเทศไทยเริ่มออกกาศครั้งแรกในปีพ.ศ. 2525 ทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี หรือช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ในสมัยนั้น[ต้องการแหล่งอ้างอิง]และได้หายไปจากช่อง อ.ส.ม.ท.ไปสักพัก แล้วกลับมาอีกครั้งในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

    [แก้] โดราเอมอนกับประเทศไทย

    หนังสือการ์ตูนโดราเอมอน ที่มีการตีพิมพ์ในไทย ชุดพิเศษ เล่ม 7
    ด้านหลังแฮนด์บิลภาพยนตร์โดเรม่อน ตอนผจญไดโนเสาร์

    การ์ตูนโดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนภาษาไทย สร้างปรากฏการณ์เป็นที่กล่าวถึงในวงการการ์ตูนเป็นอย่างมาก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงกลางปีพ.ศ. 2524 โดยสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักพิมพ์มิตรไมตรี โดยตั้งชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ว่า "โดราเอมอน แมวจอมยุ่ง" แปลเป็นภาษาไทยโดย อนุสรณ์ สถิรวัฒน์[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ต่อมาสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจก็ได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้เช่นกัน แต่เลือกใช้ชื่อว่า "โดเรมอน" เพื่อไม่ให้ซ้ำกับทางสำนักพิมพ์แรก[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ในสมัยนั้นยังเป็นช่วงของหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่มีการซื้อลิขสิทธิ์ถูกต้องจากทางญี่ปุ่น ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงไม่ได้พิมพ์ตอนตามลำดับของต้นฉบับทำให้มีการลงตอนซ้ำกัน โดราเอมอนได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงแข่งกันทางด้านความถี่ของการออกจัดจำหน่าย จากเดือนละเล่มในช่วงต้น ก็เปลี่ยนเป็นเดือนละ 2 เล่ม จนถึงอาทิตย์ละเล่ม สุดท้ายทางสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ก็พิมพ์ถึงเดือนละ 3 เล่ม พิมพ์ไม่น้อยกว่า 70,000 เล่มต่อครั้ง ด้วยความถี่ในการพิมพ์ และการไม่มีการจัดลำดับถูกต้องตามต้นฉบับ ทำให้ในเวลาเพียง 7-8 เดือนการ์ตูนเรื่องนี้ก็ตีพิมพ์ครบทุกตอนตามต้นฉบับของฟูจิโกะ ฟูจิโอะที่ใช้เวลาเขียนติดต่อกันร่วม 10 ปี[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

    หลังจากนั้น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เห็นความนิยมของโดราเมอน จึงได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้ลงเป็นตอนๆ ในแต่ละวันโดยเริ่มวันแรกวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2525[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่มีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้องการไม่ให้ชื่อซ้ำกับทาง 2 สำนักพิมพ์แรก ไทยรัฐจึงได้ตั้งชื่อใหม่อีกเป็น "โดรามอน เจ้าแมวจอมยุ่ง"[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนไทยเรียกชื่อ โดราเอมอน ต่างกันหลายชื่อ[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

    สำนักพิมพ์สุดท้ายที่ตีพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนในยุคนั้นคือ สยามสปอร์ตพับลิชชิง หรือสยามอินเตอร์คอมิกส์ ในปัจจุบัน และใช้ชื่อตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่มีการแถมรูปลอกมาพร้อมในเล่ม อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตที่แดนเนรมิต ใช้ชื่องานว่า "โลกของโดรามอน" จัดให้มีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดร้องเพลงโดราเอมอนภาษาไทย ซึ่งร่วมมือกับค่ายเพลง อโซน่า ถึง 6 เพลง อีกทั้งยังมีนำเข้าสินค้าตัวละครโดราเอมอนจากประเทศฮ่องกงมาจำหน่ายในงานอีกด้วย จนในปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนอย่างถูกต้อง โดยสำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ซึ่งมีการตีพิมพ์ 45 เล่ม และมีการรวมเล่มพิเศษอีกหลายฉบับเช่น โดราเอมอนชุดพิเศษ โดราเอมอนพลัส และโดราเอมอนบิ๊กบุคส์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์ซ้ำแล้วหลายรอบ

    ในปีพ.ศ. 2525 ทางไชโยภาพยนตร์ได้มีการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ขึ้นถึง 2 ตอนด้วยกัน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] คือตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ และโนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ทางช่อง 9 ก็ได้มีการออกอากาศโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี ทางโทรทัศน์ เริ่มเมื่อวันที่ 5 กันยายน ในปีเดียวกัน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเช่นกัน ทำให้ช่อง 9 ได้รับการยอมรับในเรื่องของการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ และทีมนักพากย์การตูนอีกด้วย (นิตยสาร a day, 2545: 70) สำหรับในปัจจุบัน โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์มีการจัดฉายในโรงภาพยนตร์เป็นประจำทุกปีอีกครั้ง โดยบริษัทดับบลิวพีเอ็มฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มในปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ส่วนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีนั้น ก็มีการฉายซ้ำเป็นระยะ และฉายตอนใหม่อยู่เรื่อย ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี และลิขสิทธิ์ในตัวละครที่นำไปผลิตเป็นสินค้าเป็นของ บริษัทเอไอ (Animation International) ของประเทศฮ่องกง[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

    [แก้] เพลงประกอบ

    ดูบทความหลักที่ เพลงประกอบ

    เพลงเริ่มของโดราเอมอน คือเพลง "โดราเอมอนโนะอุตะ" (「ドラえもんのうた」 Doraemon no uta – เพลงของโดราเอมอน?) ซึ่งในระหว่างปี 2522-2548 นั้นมีผู้ขับร้อง 5 คน[ต้องการแหล่งอ้างอิง]ในช่วงเวลาแตกต่างกัน ในขณะที่เพลงจบนั้นมีทั้งหมด 11 เพลง[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

    [แก้] ความนิยม

    โดราเอมอนเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และแม้ว่าเรื่องนี้จะจบลงไปนานแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ โดยมีการพิมพ์ใหม่ หรือนำออกมาฉายซ้ำออกอากาศอยู่เรื่อยๆ[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

    เคยมีการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาว่าสาเหตุที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นที่นิยมมากนั้น เป็นเพราะตัวละครโนบิตะ มีลักษณะเป็นคนอ่อนแอ ขี้แพ้ ทำอะไรก็มักไม่ค่อยสำเร็จ หากมีเรื่องที่ถนัดอยู่บ้างก็เป็นเรื่องที่สังคมไม่ให้ความสำคัญหรือการยกย่อง เช่น เล่นพันด้าย หรือยิงปืนแม่น[ต้องการแหล่งอ้างอิง] และเนื่องจากลักษณะนี้เองทำให้ผู้อ่านส่วนใหญ่มีความรู้สึก "มีส่วนร่วม" และเปิดใจให้ตัวละครอย่างโนบิตะเข้ามาในจิตใจได้ เพราะในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่ล้วนรู้สึกว่าตนเองคือผู้แพ้ คือผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกรังแก ไร้ความสามารถ หน้าตาไม่ดี ไม่มีความสามารถ และย่อมอยากและหวังว่าสักวันหนึ่งจะมีผู้มาช่วยเหลือเรื่องต่างๆให้แก่เรา ซึ่งในเรื่องนี้ก็คือโดราเอมอนนั่นเอง[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

    โดราเอมอนนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นแม่อย่างหนึ่งก็ได้ จากเรื่องจะเห็นได้ว่า โดราเอมอนมักออกมาช่วยเหลือ ปกป้อง แก้ปัญหาให้โนบิตะ ในยามคับขันหรือเดือดร้อน เสมอๆ เป็นบทบาทของ "แม่ผู้ใจดี"[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งก็คือสิ่งที่มนุษย์เราต้องการอยู่ลึกๆ และในบางตอนโดราเอมอนก็แสดงบท "แม่ใจร้าย" คือการแก้เผ็ดหรือปล่อยให้โนบิตะผจญกับความยากลำบากที่มักเป็นผู้ก่อขึ้นเองจากความรู้สึกในด้านชั่วร้าย เช่นการอิจฉาริษยาผู้อื่น การเกลียดชังผู้อื่น การโกหก เพื่อเป็นการสั่งสอนโนบิตะให้รู้จักความผิดชอบชั่วดี[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

    [แก้] ข่าวลือกับตอนจบของโดราเอมอน

    ที่จริงแล้วการ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน นั้นไม่มีตอนจบ เนื่องจากผู้เขียนได้เสียชีวิตไปก่อน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] แต่ก็มีหลายกระแสที่ออกมาบอกว่าผู้แต่งได้วางโครงเรื่องไว้ในตอนจบ[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งต่างกันหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ที่นักอ่านชาวไทยรู้กันดีคือ โดราเอมอนและตัวละครเสริมอื่นๆ นั้นไม่มีจริง มีเพียงแต่ โนบิตะ ซึ่งโนบิตะในตอนจบนั้นที่จริงแล้วเป็นเด็กที่ไม่สบายใกล้เสียชีวิต อยู่ในโรงพยาบาล และเพื่อนๆยืนอยู่ข้างเตียงของโนบิตะที่ใกล้ตายอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งตอนจบนี้มีความสะเทือนใจอย่างมาก ผิดไปจากการ์ตูนที่เขาแต่งหลายๆเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จบลงด้วยดีมาตลอด[3]

    ส่วนตอนจบอีกแบบหนึ่งก็คือ อยู่ดีๆ วันหนึ่งโดราเอมอนก็เกิดแบตเตอรี่หมด แล้วหยุดทำงานเสียเฉยๆ โนบิตะจึงปรึกษากับโดรามี น้องสาวของโดราเอมอน โดรามีบอกโนบิตะว่า ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโดราเอมอน ความจำทั้งหลายจะหายหมด เนื่องจากแบตเตอรี่สำรองไฟที่เก็บความจำของหุ่นยนต์รูปแมวนั้นเก็บไว้ที่หู และอย่างที่ทราบกันว่าโดราเอมอนไม่มีหู ดังนั้นถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เขาจะต้องสูญเสียความจำ ต้องนำไปซ่อมที่โลกอนาคต แต่การใช้ ไทม์แมชชีนนั้นผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายใหม่ของโลกอนาคต ถ้าส่งโดราเอมอนกลับ โดราเอมอนจะมาหาโนบิตะอีกไม่ได้ ทำให้โนบิตะตัดสินใจไม่เปลี่ยนแบตเตอรี่ แล้วตั้งใจเรียนจนเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก แล้วก็แต่งงานกับชิสึกะและสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้สำเร็จ โดยที่ความทรงจำไม่หายไป (โดยก่อนที่โนบิตะจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้เรียกชิสึกะมาดูโดราเอมอน) และเขาก็มีลูกชื่อโนบิสึเกะ และอยู่ด้วยกันอย่างมีสุข[3]

    [แก้] โดจินชิ

    โดราเอมอน เป็นหนึ่งในการ์ตูนหลายเรื่องที่ถูกเขียนซ้ำโดยนักวาดการ์ตูนคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้แต่งเรื่องตัวจริง หรือที่เรียกว่า โดจินชิ ออกมามากมาย[ต้องการแหล่งอ้างอิง] แต่สำหรับโดจินชิที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดก็คือ ผลงานของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ยาสุเอะ ทาจิมะ[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งเป็นโดจินชิตอนจบของโดราเอมอน โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากตอนจบของโดราเอมอนหลายๆ แบบที่ถูกเล่าลือตามเมลลูกโซ่มานาน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] งานโดจินชิเล่มนี้ ได้ออกวางขายครั้งแรกในงานคอมมิกมาร์เก็ต ฤดูร้อน ปี 2548 (ครั้งที่ 68) และครั้งต่อมาในฤดูหนาว (ครั้งที่ 69) ปีเดียวกัน[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนหนังสือถึงกับขาดตลาด และถูกนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง

    แต่เนื่องจากโดจินชิเล่มนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงจนมียอดจำหน่ายมากถึง 15,550 เล่ม นับตั้งแต่ที่เริ่มเปิดตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อทางสำนักพิมพ์โชงะกุกัง ผู้ถือลิขสิทธิ์โดราเอมอนฉบับรวมเล่มเป็นอย่างมาก ทำให้ทางสำนักพิมพ์ต้องออกมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้เขียนว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และขอให้หยุดจำหน่ายโดจินชิเล่มนี้ในทันที รวมถึงการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตด้วย[4][5]

    [แก้] โดราเอมอนกับการ์ตูนไทย

    โดราเอมอนไทย คือ การ์ตูนแอนิเมชั่นไทย โดยฝีมือคนไทย โดราเอมอนชอบโดรายากิ ส่วนโนบิตะชอบเรียน ชอบหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก และชอบอ่านนิทานสนุกสนาน ขณะนี้บริษัทไร้ท์ บิยอนด์ทำการ์ตูนไทยโดราเอมอน ชุด "นิทานของโนบิตะ" ซึ่งออกจำหน่ายในรุปแบบ วีซีดีและดีวีดี

    [แก้] เกร็ด

    รถไฟที่ตกแต่งด้วยตัวละครโดราเอมอน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×