คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
[แก้] เนื้อเรื่อง
ระวังเสียอรรถรส ข้อความด้านล่างนี้กล่าวถึงเนื้อเรื่องหรือฉากจบ |
คุโด้ ชินอิจิ นักสืบมัธยมปลายวัย 17 ปี ไปเที่ยวสวนสนุก Tropical Land กับเพื่อนตั้งแต่สมัยเด็กชื่อ โมริ รัน ระหว่างนั้นได้เกิดคดีฆาตกรรมขึ้นบนรถไฟเหาะ ชินอิจิซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุสามารถคลี่คลายคดีได้สำเร็จ แต่เขาเกิดสงสัยในตัวชายชุดดำ 2 คนซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุเช่นกัน จึงแอบสะกดรอยตามไปและได้เห็นหนึ่งในผู้ต้องสงสัย (วอดก้า) กำลังแบล็คเมล์ผู้ลักลอบค้าปืนเถื่อน ชินอิจิที่แอบมองอยู่ไม่ทันระวังตัว จึงถูกชายชุดดำอีกคน (ยีน) ใช้ของแข็งตีที่ศีรษะทำให้ชินอิจิสลบไป ชายชุดดำทั้งสองได้กรอกยาพิษ Apotoxin-4869 (aptx4869) (4869 - เชียรกคุ (「シャーロック」 Shyārokku?)) ซึ่งเป็นยาพิษมีฤทธิ์ทำให้เซลล์ในร่างกายตายไปเป็นจำนวนมากและรวดเร็วให้ชินอิจิกิน ซึ่งควรจะส่งผลให้ชินอิจิเสียชีวิต (และในการชันสูตรจะไม่พบยาพิษใดๆ ตกค้างในศพ) แล้วจากไป แต่เนื่องจากยาดังกล่าวอยู่ในขั้นทดลอง จึงเกิดการผิดพลาด เซลล์ในร่างกายชินอิจิตายไม่หมด ชินอิจิจึงไม่เสียชีวิต แต่การที่ร่างกายมีเซลล์น้อยลงมีผลทำให้ร่างกายหดเล็กลงเป็นเด็ก
เมื่อชินอิจิตื่นขึ้นมา ร่างของเขาก็เล็กลงเท่ากับเด็กอายุ 7 ขวบ เขารีบวิ่งไปหาเพื่อนบ้าน ดร.อากาสะ เพื่อบอกเรื่องที่เกิดขึ้น ดร. จึงช่วยหาเสื้อผ้ามาเปลี่ยนให้ ระหว่างนั้นเอง รันก็มาที่บ้าน ดร. เพื่อถามหาชินอิจิ ชินอิจิที่ร่างเล็กอยู่นั้นไม่ต้องการให้รันรู้ถึงเรื่องที่เกิดกับตน จึงรีบคว้าแว่นตาสำรองของคุโด้ ยูซากุผู้เป็นพ่อ ซึ่งวางอยู่ในลิ้นชักโต๊ะทำงานมาสวม พอรันถามว่าชื่ออะไร ชินอิจิชำเลืองไปเห็นหนังสือของ เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ และเอโดงาวะ รัมโป บนชั้นหนังสือของ ดร. เขาจึงบอกไปว่าตนชื่อ เอโดงาวะ โคนัน เป็นญาติของ ดร.อากาสะ พ่อแม่อยู่ต่างประเทศ
ดร.อากาสะ แนะนำให้โคนันไปอยู่ที่บ้านของรันกับพ่อของเธอที่ประกอบอาชีพเป็นนักสืบเอกชน ชื่อ โมริ โคโกโร่ ซึ่งเป็นนักสืบที่ไม่ได้เรื่อง ไม่เอาไหน แต่เพื่อจะสามารถติดตามข่าวของพวกชายชุดดำได้ หลังจากที่โคนันไปอยู่ที่บ้านของรันไม่นาน เมื่อเกิดคดีต่าง ๆ ขึ้น โคนันก็จะช่วยคลี่คลายคดีแทน โมริ โคโกโร่ โดยใช้ปืนยาสลบรูปนาฬิกา(มีเป้าให้เล็งด้วย) ทำให้โคโกโร่หลับ แล้วใช้เครื่องเปลี่ยนเสียงรูปหูกระต่ายเปลี่ยนเสียงพูดแทนโคโกโร่ ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ ดร.อากาสะ เป็นคนประดิษฐ์ขึ้นทั้งสิ้น การคลี่คลายคดีของโคนัน ทำให้โคโกโร่กลายเป็นนักสืบที่โด่งดัง จนได้มีชื่อว่า โคโกโร่นิทรา (โดยหวังว่า การโด่งดังของโคโกโร่ จะทำให้มีคดีเข้ามาให้คลี่คลายมากขึ้น และอาจโชคดีมีคดีที่เกี่ยวกับองค์กรชุดดำเข้ามา ซึ่งจะเป็นเบาะแสในการสืบหาองค์กรชุดดำ และยาแก้พิษของ aptx4869 ชนิดถาวร) หลังจากนั้นคดีมากมายก็เข้ามาหาโคโกโร่เพื่อให้โคนันได้คลี่คลาย ในขณะเดียวกัน โคนันก็พยายามที่จะตามหาชายชุดดำเพื่อที่จะคืนร่างเป็นชินอิจิคนเดิมให้ได้
- เอโดกาวะ โคนัน
- เป็นร่างที่หดตัวเล็กลงของคุโด้ ชินอิจิ วันหนึ่งได้ไปเดทกับโมริ รันที่สวนสนุก tropical land และได้ไขคดีการฆาตกรรมบนรถไฟเหาะ ระหว่างทางกลับชินอิจิได้ไปเห็นชายชุดดำเจรจาแลกของต้องสงสัยแต่หารู้ไม่ว่ามีคนขององค์กรแอบอยู่ด้านหลังอยู่จึงถูกทำร้ายและถูกจับกินยา aptx4869 เพื่อสังหารคุโด้ โดยจะไม่มีร่อยรอยยาพิษหลงเหลือในศพของคุโด้ แต่ยากลับผิดพลาดเนื่องจากยังอยู่ในขั้นทดลองจึงไม่ทำให้คุโด้เสียชีวิต แต่กลับทำให้ร่างกายหดเล็กลงกลายเป็นเด็ก เพื่อจะสืบหาความจริงว่าคนพวกนั้นเป็นใคร ดร.อากาสะจึงฝากให้ โมริ โคโกโร่ พ่อของรันเลี้ยง เพื่อจะติดตามหาชายชุดดำ แต่เนื่องจากเขาเป็นเด็ก จึงต้องอาศัยเครื่องมือจาก ดร. อากาสะ ใช้โคโกโร่เป็นทางผ่านของการคลี่คลายคดี โคนันเป็นนักเรียนชั้นประถม 1 ของโรงเรียนประถมเทตัน ซึ่งในการ์ตูนฉบับภาษาอังกฤษ คุโด้ ชินอิจิจะมีชื่อว่า "จิมมี่ คุโด้" (Jimmy Kudo)
- โมริ รัน
- โมริ รัน(「毛利 蘭」 Mōri Run?) รันเป็นเพื่อนสมัยเด็กกับชินอิจิรันเล่นกับชินอิจิตลอดมาจนเกิดมีหัวใจดวงน้อยให้กับชินอิจิ และเป็นลูกสาวของนักสืบโมริ โคโกโร่ และทนาย คิซากิ เอริ รันมีทั้งความเข้มแข็งและอ่อนโยนเห็นภายนอกอาจดูแข็งแกร่งแต่ภายในแล้วเป็นคนชอบร้องไห้ รันเก่งคาราเต้มาก ตั้งแต่พ่อแม่แยกทางกันเธอก็คอยดูแลโคโกโร่และก็มีการติดต่อกับคิซากิบ้าง ในฉบับภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า "ราเชล มัวร์" (Rachel Moore)
- โมริ โคโกโร่
- โมริ โคโกโร่ (「毛利 小五郎」 Mōri Kogorō?) พ่อของรัน ฉายาของเขาคือโคโกโร่นิทรา เพราะเวลาคลี่คลายคดีจะเหมือนนอนหลับ เป็นเหมือนทางผ่านของโคนันในการนำ ความจริงมาตีแผ่แต่โคโกโร่ก็ยินดีรับความ ชื่นชอบเวลาคนอื่นชมทั้งๆที่ไม่รู้ว่า ตัวเอง ทำอะไรไปบ้าง โคโกโร่มีนิสัยเจ้าชู้, ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่จัดมาก ชอบเล่นไพ่นกกระจอก แต่ก็มีข้อดีคือเล่นยูโดเก่ง และยิงปืนได้แม่น นักร้องที่ชื่นชอบมากคือ โอกิโนะ โยโกะ ในอดีตเป็นตำรวจแผนกฆาตกรรมอีกด้วย ในฉบับภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า ริชาร์ด มัวร์ (Richard Moore) โดยคำว่ามัวร์ มาจากนามสกุล โมริ
ปัจจุบันในประเทศไทย โคนัน ได้ถูกจัดพิมพ์ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ตีพิมพ์แล้ว 60 เล่ม (25 กุมภาพันธ์ 2552) และฉบับ ภาพยนตร์การ์ตูน โดย TIGA จัดทำในรูปแบบของ VCD และ DVD โดยมี โคนัน เดอะซีรีส์(อนึ่ง ก่อนหน้านี้บริษัท วีดิโอสแควร์ เป็นผู้ถือครองลิขสิทธิ์)
- ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน เดอะซีรีส์ 1 (TIGA) VCD 22 แผ่น ,DVD 11 แผ่น
- ตอนที่ 1 คดีฆาตกรรมบนรถไฟเหาะ - ตอนที่ 43(44) คดีลักพาตัวเอโดงาวะ โคนัน
- ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน เดอะซีรีส์ year 2 (TIGA) VCD 22 แผ่น ,DVD 11 แผ่น
- ตอนที่ 44(45) คดีฆาตกรรมสามพี่น้องฮอตตะ - ตอนที่ 85(88) คดีฆาตกรรมบ้านพักสกี (ตอนจบ)
- ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน เดอะซีรีส์ year 3 (TIGA) VCD 27 แผ่น ,DVD เสียงภาษาไทย 13 แผ่น
- ตอนที่ 86(89) คดีปริศนาค้นหาที่เกิดเหตุลักพาตัว - ตอนที่ 131(141) คดีขู่ฆ่าหมู่ในสนามกีฬา (ตอนจบ)
- ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน เดอะซีรีส์ year 4 (TIGA) VCD 26 แผ่น ,DVD เสียงภาษาไทย 13 แผ่น
- ตอนที่ 132(142) คดีฆาตกรรมคนรักมายากล (ภาคคดี) - ตอนที่ 179(193) คดีรถบรรทุกพุ่งชนร้านกาแฟ
- ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน เดอะซีรีส์ year 5 (TIGA) VCD 27 แผ่น , DVD เสียงภาษาไทย 13 แผ่น
- ตอนที่ 180(194) บทเพลงยามค่ำคืนแห่งจิตสังหารสีแดง (ตอนแรก) - ตอนที่ 227(246) กับดักเกมต่อสู้ (ตอนจบ)
- ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน เดอะซีรีส์ year 6 (TIGA) VCD 26 แผ่น , DVD เสียงภาษาไทย 13 แผ่น
- ตอนที่ 228(247) คดีฆาตกรรมในห้องเรียนเครื่องปั้น (ตอนแรก) - ตอนที่ 276(297) คดีสมุดประจำตัวตำรวจหาย
- ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน เดอะซีรีส์ year 7 (TIGA) VCD มีจำหน่ายแล้ว 18 แผ่น (ณ วันที่ 1 เม.ย. 52) + แผ่น Special Episode
- ตอนที่ 277(299) ครูสอนภาษาอังกฤษปะทะยอดนักสืบตะวันตก (ตอนแรก) -
- ตอนที่ 323-324 (xxx-xxx) ฮัตโตริ เฮย์จิ เข้าตาจน (แผ่น Special Episode)
หมายเหตุ :
- เลขตอนตัวแรก หมายถึง ลำดับตอนตามต้นฉบับของญี่ปุ่น
- ส่วนเลขในวงเล็บ หมายถึง ลำดับตอนในไทย โดยอ้างอิงจากปกหลังVCD ของ บ.TIGA ซึ่งจะแบ่งไม่เหมือนกับต้นฉบับของญี่ปุ่น
- โคนัน เดอะ มูฟวี่ทั้งหมด 12 ตอน ดังนี้ (Movie 13 18/4/09 ในญี่ปุ่น)
- คดีปริศนาระเบิดระฟ้า (Tokei Jikake no Matenrou / The Time Bomb Skyscraper)
- คดีฆาตกรรมไพ่ปริศนา (Juuyonbanme no TARGET / The Fourteenth Target)
- ปริศนาพ่อมดคนสุดท้ายแห่งศตวรรษ (Seikimatsu no Majutsushi / The Last Wizard of the Century)
- คดีฆาตกรรมนัยน์ตามรณะ (Hitomi no Naka no Ansatsusha / Captured in Her Eyes)
- คดีปริศนาเส้นตายสู่สวรรค์ (Tengoku he no COUNTDOWN / Countdown to Heaven)
- ปริศนาบนถนนสายมรณะ (BAKER STREET no Bourei / The Phantom of Baker Street)
- คดีฆาตกรรมแห่งเมืองปริศนา (Meikyuu no CROSSROAD / Crossroad in the Ancient Capital)
- มนตราแห่งรัตติกาลสีเงิน (Ginyoku no MAGICIAN / Magician of the Silver Sky)
- ยุทธการเหนือห้วงทะเลลึก (Suiheisenjou no STRATEGY / Strategy Above the Depths)
- บทเพลงมรณะแด่เหล่านักสืบ (Tanteitachi no REQUIEM / The Private Eyes' Requiem)
- ปริศนามหาขุมทรัพย์โจรสลัด (Konpeki no JOLLY ROGER / Jolly Roger in the Deep Azure)
- บทบรรเลงแห่งความตาย(Senritsu no FULL SCORE / Full Score of Fear)
- The Raven Chaser(Shikkoku no CHASER / The Raven Chaser)
- โคนัน ภาคคนแสดง (Meitantei Conan DRAMA SPECIAL) 2 ตอน
- Kudo Shinichi he no Chousenjou ~Sayonara Made no PROLOGUE~ (จดหมายท้าทายถึงคุโด้ ชินอิจิ บทนำก่อนอำลา)
ฉายในประเทศญี่ปุ่น - วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม 2549 เวลา 21.00-22.48 น. // ฉายในประเทศไทย (โรงภาพยนตร์เซ็นจูรี่) - วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 2550 - Kudo Shinichi no Fukkatsu! Kuro no Soshiki to no Taiketsu (เผชิญหน้าองค์กรชุดดำ)
ฉายในประเทศญี่ปุ่น - วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2550 เวลา 21.00-22.48 น. // ฉายในประเทศไทย (โรงภาพยนตร์เซ็นจูรี่) - วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม 2551
และได้มีการออกอากาศทางฟรีทีวี ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี ในช่วงของโมเดิร์นไนน์ การ์ตูน
โดยใช้ชื่อว่า โคนัน เจ้าหนูยอดนักสืบ ดังนี้ (ลำดับตอน อ้างอิงตามญี่ปุ่น)
- ครั้งที่ 1 ตอนที่ 1 คดีฆาตกรรมรถไฟเหาะ - ตอนที่ 43 คดีลักพาตัวเอโดงาวะ โคนัน
(ไม่ทราบปีออกอากาศ) เวลา 9.30-10.00 น.
- ครั้งที่ 2 ตอนที่ 44 คดีฆาตกรรมสามพี่น้องฮอตตะ - ตอนที่ 93 คดีฆาตกรรมหฤโหดนักเดินเขา (ตอนจบ)
31 สิงหาคม พ.ศ. 2545 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เวลา 10.00-10.30 น.[1]
- ครั้งที่ 3 ตอนที่ 94 คดีฆาตกรรมตำนานเจ้าหญิงหิมะ - ตอนที่ 131 คดีขู่ฆ่าหมู่ในสนามกีฬา (ตอนจบ)
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 - 9 เมษายน พ.ศ. 2548 เวลา 9.00-9.30 น.[2]
- ครั้งที่ 4 ตอนที่ 132 คดีฆาตกรรมคนรักมายากล (ภาคคดี) - ตอนที่ 179 คดีรถบรรทุกพุ่งชนร้านกาแฟ
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - 27 มกราคม พ.ศ. 2550 เวลา 9.00-9.30 น.
- ครั้งที่ 5 ตอนที่ 180 บทเพลงยามค่ำคืนแห่งจิตสังหารสีแดง (ตอนแรก) - ตอนที่ 227 กับดักเกมต่อสู้ (ตอนจบ)
5 พฤษภาคม - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เวลา 9.30-10.00 น.
- ครั้งที่ 6 ตอนที่ 228 คดีฆาตกรรมในห้องเรียนเครื่องปั้น (ตอนแรก) - ตอนที่ 276 คดีสมุดประจำตัวตำรวจหาย
10 พฤษภาคม - 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 9.30-10.00 น.
- หมายเหตุ : ทางสถานีอาจมีการสลับตอนออกอากาศเพื่อความเหมาะสมในการออกอากาศ ดังนั้น จะยึดลำดับตอนของญี่ปุ่นเป็นหลัก
- นอกจากนี้ บางตอนของทีวีซีรีส์ ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี ได้นำมาออกอากาศซ้ำในวันหยุดนักขัตฤกษ์ด้วย ดังนี้
- ตอนที่ 132-134 คดีฆาตกรรมคนรักมายากล (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เวลา 8.00-9.00 น.) [3]
- ตอนที่ 140 คดี SOS ! ข้อความจากอายูมิ (30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เวลา 8.00-8.30 น.) [4]
- ตอนที่ 162 ห้องปิดตายลอยฟ้า คดีแรกของ คุโด้ ชินอิจิ (ตอนพิเศษ 1 ชั่วโมง)(10 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 8.00-9.00 น.) [5]
- ตอนที่ 166-168 อาถรรพณ์บ้านแมงมุมที่ทตโทริ (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เวลา 8.00-9.15 น.) [4]
- ตอนที่ 174 แผนฆ่าปีที่ 20 คดีฆาตกรรมต่อเนื่อง ซิมโฟนี่หมายเลข 1 (ตอนพิเศษ 2 ชั่วโมง) (7 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 8.00-10.00 น.)[6]
- ตอนที่ 188 การคืนชีพที่เดิมพันด้วยชีวิต ขบวนการนักสืบในถ้ำ (14 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 8.30-9.00 น.)[6]
- ตอนที่ 189 การคืนชีพที่เดิมพันด้วยชีวิต ยอดนักสืบบาดเจ็บสาหัส (14 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 9.00-9.30 น.)[6]
- ตอนที่ 190 การคืนชีพที่เดิมพันด้วยชีวิต ทางเลือกที่ 3 (15 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 9.00-9.30 น.)[6]
- ตอนที่ 191 การคืนชีพที่เดิมพันด้วยชีวิต อัศวินชุดดำ (15 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 9.30-10.00 น.)[6]
- ตอนที่ 192 การคืนชีพที่เดิมพันด้วยชีวิต ชินอิจิที่กลับมา (16 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 9.00-9.30 น.)[6]
- ตอนที่ 193 การคืนชีพที่เดิมพันด้วยชีวิต สถานที่แห่งความทรงจำ (16 เมษายน พ.ศ. 2551 เวลา 9.30-10.00 น.)[6]
- ตอนที่ 208 ทางเข้าเขาวงกต ความพิโรธของเทวรูปขนาดยักษ์ (ตอนพิเศษ 1 ชั่วโมง) (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 8.00-9.00 น.)[7]
- ตอนที่ 219 รวมพลยอดนักสืบ คุโด้ ชินอิจิ ปะทะ จอมโจรคิด (ตอนพิเศษ 2 ชั่วโมง) (17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 8.00-9.30 น.)[8]
- ตอนที่ 220-221 ผู้จ้างวานที่มีแต่ความเท็จ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 9.00-10.00 น.)[7]
- ตอนที่ 222-224 และแล้วนางเงือกก็หายไป (10 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 8.00-9.30 น.)[9]
- ตอนที่ 228-229 คดีฆาตกรรมในห้องเรียนเครื่องปั้น (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 8.30-9.30 น.)[10]
- ตอนที่ 230-231 ผู้โดยสารปริศนา (6 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 8.00-9.00 น.)[11]
- ตอนที่ 233-234 หลักฐานที่ไม่หายไป (15 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 8.00-9.00 น.)[11]
- ตอนที่ 238-239 คดี "3K"ที่โอซาก้า (13 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 8.00-9.00 น.)[11]
- ตอนที่ 263 โอซาก้าดับเบิ้ลมิสทรี่ นักดาบแห่งนานิวะกับปราสาทเจ้าพิภพ (ตอนพิเศษ 2 ชั่วโมง)(14 เมษายน พ.ศ. 2552 เวลา 8.00-10.00 น.)[11]
ชื่อเหล้ากับองค์กรชุดดำ
เหล่าชายชุดดำได้ใช้โค้ดเนมแทนชื่อจริงของตัวเองไว้ด้วยชื่อเหล้า ซึ่งเหล้าเหล่านี้ก็คือ
- จิน
- จิน หรือ ยีน (Gin) เป็นเหล้าสีขาว มีกลิ่นหอมของผลจูนิเปอร์ ทำมาจากการกลั่นข้าวและผสมกลิ่นรสชาติของสมุนไพร และผลจูนิเปอร์ เป็นที่นิยมกันมากในฮอลันดา ปัจจุบันผลิตกันในหลายๆประเทศ กลิ่นและรสชาติก็แตกต่างกันไป เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีการผลิตและส่วนผสม จินที่ผลิตจากประเทศฮอลันดา รสจะเข้มข้นมาก นิยมดื่มโดยไม่ผสม แต่ควรแช่ให้เย็นจัด จินจากอังกฤษและอเมริกา นิยมดื่มเป็นเครื่องดื่มผสม
- วอดก้า
- วอดก้า (Vodka) เป็นเหล้าสีขาวใส มีกลิ่นเพียงเล็กน้อยจนแทบไม่รู้สึก ดีกรี 40-50 ต้นกำเนิดอยู่ในรัสเซียและโปแลนด์ สมัยก่อนไม่เป็นที่รู้จัก แต่ในปัจจุบันเป็นเหล้าที่นิยมกันมาก เป็นเหล้าที่หมักจากข้าวไรย์หรือมันฝรั่งหรือข้าวโพด ผ่านการกรองและดูดกลิ่นจนเหลือสีเจือปนและกลิ่นน้อยที่สุด คำโฆษณาที่ว่า " It will leave you breathless " คือเมื่อดื่มวอดก้าแล้วจะไม่มีกลิ่นติดค้างเมื่อหายใจ
- เตกีล่า
- เตกีล่า (Tequila) เป็นเหล้าสีขาว กลิ่นแรง หมักจากพืชที่เรียกว่า Mezcal ผลิตในประเทศเม็กซิโก ปกติเตกีลาจะมีสีขาว แต่บางชนิดมีสีเหลืองทองจากการเก็บบ่มในถังไม้ ปกติชาวพื้นเมืองเม็กซิโก นิยมดื่มเหล้าเตกีลาโดยไม่ผสม หากแต่ก่อนดื่มจะหยิบเกลือใส่ปาก บีบมะนาวตาม แล้วจึงยกเหล้า ขึ้นดื่ม เพื่อให้รสชาติของเหล้าคลุกเคล้ากับเกลือและมะนาวในปาก ในปัจจุบันนิยมนำเตกีลามาทำเครื่องดื่มผสม
- เวอร์มุธ
- เบลม็อธ (อ่านแบบญี่ปุ่น) หรือ เวอร์มุธ (Vermouth) เป็นเหล้ายาทำจากรากไม้ รากยา และเครื่องเทศ รสชาติคล้ายๆ ยาบำรุงเลือดลมของไทย, เหล้าองุ่นเจือกลิ่นสำหรับจิบภายหลังอาหาร ชื่อ เบลม็อธ ได้มาจากการที่สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจเจ้าของลิขสิทธิ์ แปลคำว่า เวอร์มุธ ที่ถูกทับศัพท์มาจากภาษาญี่ปุ่น (berumotsu)
- เชอรีบรั่นดี
- เชอร์รีบรั่นดี (Sherry) เหล้าบรั่นดีแช่ลูกเชอร์รี่ หรือ เชอรี่ แดง
- คาลวาโดส
- คาลวาโดส (Calvados) คือเหล้าบรั่นดีกลั่นจากแอ็ปเปิ้ล มาจากฝรั่งเศสทางนอร์มันดีตอนใต้ (from the French région of Lower Normandy
- เกียนตี
- เกียนตี หรือ เคียนติ (Chianti) ไวน์เกียนตีเป็นไวน์อิตาลี เกรดสูงสุด... ใช้องุ่น โจเวเซกับคาไนโอโล.. หอมพลัม เชอร์รี่ แล้วก็แบล็กเบอร์รี่.. วินเทจนุ่มเนียน
- เคียร์
- เคียร์ หรือ คีร์ (Kirsch) เหล้าสปิริตที่กลั่นจากเชอรี่ ผลิตในประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส และสวิสเซอร์แลนด์ รสหอม หวานเล็กน้อย น้ำสีขาว
- กอร์น ชนาปส์
- กอร์น (Korn Schnapps) หรือ คอร์น เชอแนท เหล้าสปิริต กลั่นมาจากข้าวสาลี (Wheat) , ข้าวไรย์ (Rye) , ข้าวบาร์เลย์ (Barley) , ข้าวโอต (Oats) หรือ Buckwheat ไม่มีกลิ่น นิยมดื่มกันมากในประเทศเยอรมัน ดีกรี ประมาณ 32-38% เก็บหมักบ่มไว้นานอย่างน้อย 6 เดือน
ยา APTX 4869
APTX 4869 หรือ Apoptoxin 4869 เป็นยาที่องค์กรชุดดำและมิยาโนะ ชิโฮ(ไฮบาระ ไอ) คิดค้นขึ้นมา Apoptoxin คือสารที่ทำให้เกิดการ Apoptosis หมายถึง โปรแกรมฆ่าเซลล์ หรือหมายความว่า เซลล์จะถูกป้อนข้อมูลให้ทำลายตัวเอง และคงอยู่ตามซิกแนลที่ควบคุมมันไว้ ตอนที่ยายังอยู่ในขั้นทดลองนั้น มีบุคคลในองค์กรตั้งชื่อให้อีกอย่าง โดยเอาซีเรียลนัมเบอร์ 4869 มาอ่านใหม่ว่าชารอกุ ก็คือเชอร์ล็อก "ยอดนักสืบผู้ล้มเหลว"
ชื่อยา 4869 มาจากคำอ่านภาษาญี่ปุ่นของ เชอร์ล็อก โฮลมส์ ซึ่งคำว่า "เชอร์ล็อก" ในภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า เชียรกคุ (「シャーロック」 Shyārokku?) คล้องกับตัวเลข ดังนี้ 4 (「シ」 shi?) , 8 (「ハチ」 hachi?), 6 (「ロック」 rokku?) และ 9 (「キュ」 kyu?)เครดิตhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%8B%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99
ความคิดเห็น