ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องราวของวิชาฟิสิกส์

    ลำดับตอนที่ #2 : บทที่ ๒ การพัฒนาด้านความคิดเกี่ยวกับฟิสิกส์

    • อัปเดตล่าสุด 7 เม.ย. 50


    บทที่ ๒ การพัฒนาด้านความคิดเกี่ยวกับฟิสิกส์

    ฟิสิกส์ (Physics) เป็นคำที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษากรีก ที่แปลว่า ธรรมชาติ จุดมุ่งหมายของวิชาฟิสิกส์คือการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสของมนุษย์และเหตูการณที่เกิดขึ้นรอบๆตัว ยกตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวสิ่งต่างๆ และเสียงที่ได้ยิน เป็นต้น

    ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ได้มีการแบ่งฟิกสิกส์ออกเป็นหลายสาขา ตามปรากฏการณ์หรือลักษณะเด่นที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกัน เช่น วิชากลศาสตร์ ความร้อน(หรืออุณหพลศาสตร์) แสง เสียง และแม่เหล็กไฟฟ้า โดยวิชาย่อยๆของฟิสิกส์ จะมีความสัมพันธ์กันน้อยมาก ยกเว้นวิชากลศาสตร์ที่เป็นวิชาพื้นฐานของสาขาทุกสาขาในวิชาฟิสิกส์

    วิชาฟิสิกส์ในคริสศตวรรษที่ ๑๙ นี้เรียกรวมว่าเป็น ฟิสิกส์ยุคเก่า (Classical Physics)

     

    ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของฟิสิกส์ในปัจจุบัน

    ในคริสศตวรรษที่ ๒๐ มีการพัฒนาความคิดของวิชาฟิสิกส์ขึ้นมาใหม่ โดยจะเรียนรู้ลึกไปถึงระบบของสสาร ทำให้เกิดสาขาวิชาใหม่ที่สำคัญคือ

    1.      ฟิสิกส์ควอนตัม (Quantum Physics)

    2.      ทฤษฎีสัมพันธภาพ (Relativity Physics)

    ดังนั้นฟิสิกส์ควอนตัมและทฤษฎีสัมพันธภาพ เรียกรวมว่าเป็น ฟิสิกส์ยุคใหม่ (Modern Physics)

    ความแตกต่างระหว่างฟิสิกส์ยุคเก่าโดยเปลี่ยนเป็นยุคใหม่หมายถึงการศึกษแนวใหม่เพื่อวิเคราะห์และศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

     

    นิยามของวิชาฟิสิกส์ที่ใช้ในปัจจุบันคือ ฟิสิกส์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงองค์ประกอบของสสารและอันตรกิริยาระหว่างองค์ประกอบของสารนั้น เพื่อจะนำไปสู่การอธิบายสมบัติของสสารในภาพรวมและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆที่สังเกตได้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×