คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ++ที่มาของชื่อเดือน++
รู้หรือเปล่าชื่อเดือนในภาษาอังกฤษที่เราใช้กันอยู่ทุกวันน่ะ มีที่มา ! ไม่ใช่ว่าตั้งมาสุ่มๆ เรามาเริ่มไล่กันเลยดีกว่าว่าเดือนไหนมีที่มาอย่างไร
สมัยก่อนปีหนึ่งๆ มี 355 วัน แต่มีแค่ 10 เดือน
March หรือมีนาคม เป็นเดือนแรกของปี ก็เป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งคำว่า March นั้นมีที่มาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งสงครามที่ชื่อว่า Mars เนื่องจากว่าชาวโรมันน่ะทำสงครามกันบ่อยนั่นเอง
April หรือ เมษายน มาจากภาษาละตินที่มีความหมายว่า "เปิดรับ" เนื่องจากผลผลิตที่หว่านไปในช่วงเดือนมีนาคมจะมาได้ผลเดือนนี้
May หรือ พฤษภาคม มาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งการเจริญเติบโต ที่มีชื่อว่า Maia เพราะพวกโรมันเชื่อว่า Maia จะช่วยคุ้มครองพืชพันธุ์ ให้เติบโตอุดมสมบูรณ์ดี
June หรือ มิถุนายม เป็นชื่อที่ตั้งเป็นเกียรติแก่เทพเจ้า Juno ราชินีแห่งสรวงสวรรค์และการแต่งงาน อาจเป็นได้ว่า ชาวโรมันแต่งงานกันมากในเดือนนี้ เพราะเป็นช่วงที่อุดมสมบูรณ์
July หรือ กรกฎาคม ไม่ได้ตั้งชื่อตามเทพเจ้าหรือฤดูกาล แต่มาจากชื่อของจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ Julius Caesar
August หรือ สิงหาคม ก็ตั้งชื่อตามหลานชายของ Julius ที่ชื่อ Caesar Augustus เพราะว่าเขาอยากมีชื่อเสียงเหมือน Julius บ้าง จึงตั้งชื่อเดือนนี้ โดยใช้ชื่อของเขา เดิมทีเดือนสิงหาคมมีแค่ 30 วันซึ่งน้อยกว่าเดือนของ Julius แต่ Augustus เพิ่มวันให้เดือนของตน โดยเอาวันจากเดือนกุมภาพันธ์มาหนึ่งวัน เพื่อให้ตนเท่าเทียมกัน Julius
September หรือ กันยายน มาจากคำภาษาละตินว่า Septem ซึ่งแปลว่า '7' และเดือนนี้ก็เป็นเดือนที่ 7
October หรือ ตุลาคม ก็มาจากคำภาษาละตินที่แปลว่า '8' ซึ่งคือคำว่า Octo
November หรือ พฤศจิกายน ก็มาจากคำที่แปลว่า '9' คือคำว่า Novem นั่นเอง
December หรือ ธันวาคม ก็แน่นอนมาจากคำว่า Decem ที่แปลว่า '10' งัย
January หรือ มกราคม ถูกเพิ่มมาทีหลังพร้อมกับเดือน กุมภาพันธ์ คำว่า January มาจากชื่อของเทพเจ้า Janus ซึ่งเป็นเทพ 2 หน้า หน้าหนึ่งมองไปในอดีต อีกหน้ามองไปสู่อนาคต ซึ่งเป็นช่วงที่คนเราต้องมองย้อนสิ่งที่ตนทำ และมองไปข้างหน้าเฝ้ารอคอยปีใหม่
February หรือกุมภาพันธ์ มาจากคำภาษาละตินที่แปลว่า 'ชะล้าง' ซึ่งเป็นเดือนที่คนต้องชะล้างตัวเองให้สะอาดรอรับปีใหม่
ตอนนี้เพื่อนๆ ก็คงรู้แล้วนะว่าชื่อของแต่ละเดือนน่ะมีที่มาอย่างไร
ความคิดเห็น