ลำดับตอนที่ #8
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #8 : การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
หลังจากสตาลิน (Joseph Stalin) ประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียตฯ ถึงแก่กรรมใน พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) ผู้ที่ก้าวขึ้นมามีอำนาจต่อคือ นิคิตา ครุสชอฟ (Nikita Khrushchev) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ก็ตามดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพโซเวียตฯ กับจีน
( นิคิตา ครุสชอฟ )
โดยสหภาพโซเวียตฯได้ขยายการช่วยเหลือจีนด้วยการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 200 แห่ง และเครื่องมือทางอุตสาหกรรมจำนวนมาก อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสหภาพโซเวียตกับจีนมีอันต้องเปลี่ยนไป ทั้งนี้เนื่องจาก ครุสชอฟ ได้ประกาศแก้ไขทบทวนคำสอนของคอมมิวนิสต์ในเรื่อง “สงครามกับการปฏิวัติ” เพื่อนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการลดกำลังทหารและอาวุธในนโยบายของคอมมิวนิสต์ในยุคนิวเคลียร์ นอกจากนี้ ครุสชอฟ ยังได้กล่าวตำหนิสตาลินอย่างรุนแรง ทำให้จีนไม่พอใจและเหมาเจ๋อตุง ผู้นำจีนในขณะนั้นได้กล่าวว่า“การตำหนิสตาลินของครุสชอฟเป็นความผิดพลาด”
ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2500 (ค.ศ.1957) สหภาพโซเวียตฯ ได้จัดการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกที่กรุงมอสโก ซึ่งถือว่าเป็นการพบกันระหว่างผู้นำคอมมิวนิสต์ทั่วโลกครั้งแรกหลังจากสงครามโลกครั้งที่2ยุติลง โดยการจัดการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ให้โลกคอมมิวนิสต์ยอมรับในแนวคิดใหม่ของครุสชอฟที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และ การเปลี่ยนแปลงไปสู่ลัทธิสังคมนิยมอย่างสันติวิธี ในการประชุมครั้งนั้นผู้นำจีน (เหมาเจ๋อตุง) ไม่ได้แสดงออกถึงท่าทีว่ายอมรับหรือไม่ยอมรับในแนวคิดของครุสชอฟ นอกจากนี้ผู้นำจีน ยังได้ขอให้สหภาพโซเวียตถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเป็นเรื่องที่ครุสชอฟ ต้องยอมเพื่อรักษาเอกภาพในโลกคอมมิวนิสต์
ถัดมาในปี พ.ศ.2501 (ค.ศ.1958) ครุสชอฟ เดินทางไปเยือนจีนอย่างเร่งด่วน ซึ่งไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริงแต่มีการคาดการณ์ว่าการเดินทางเยือนจีนครั้งนั้นของครุสชอฟ ได้ถูกขอร้องจากเหมาเจ๋อตุงให้ช่วยเหลือจีนบุกเกาะไต้หวัน แต่ครุสชอฟคงไม่เห็นด้วย แต่เพื่อเป็นการรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 (ค.ศ.1959) สหภาพโซเวียตฯได้ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของจีนครั้งใหญ่
ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2500 (ค.ศ.1957) สหภาพโซเวียตฯ ได้จัดการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกที่กรุงมอสโก ซึ่งถือว่าเป็นการพบกันระหว่างผู้นำคอมมิวนิสต์ทั่วโลกครั้งแรกหลังจากสงครามโลกครั้งที่2ยุติลง โดยการจัดการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ให้โลกคอมมิวนิสต์ยอมรับในแนวคิดใหม่ของครุสชอฟที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และ การเปลี่ยนแปลงไปสู่ลัทธิสังคมนิยมอย่างสันติวิธี ในการประชุมครั้งนั้นผู้นำจีน (เหมาเจ๋อตุง) ไม่ได้แสดงออกถึงท่าทีว่ายอมรับหรือไม่ยอมรับในแนวคิดของครุสชอฟ นอกจากนี้ผู้นำจีน ยังได้ขอให้สหภาพโซเวียตถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเป็นเรื่องที่ครุสชอฟ ต้องยอมเพื่อรักษาเอกภาพในโลกคอมมิวนิสต์
ถัดมาในปี พ.ศ.2501 (ค.ศ.1958) ครุสชอฟ เดินทางไปเยือนจีนอย่างเร่งด่วน ซึ่งไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริงแต่มีการคาดการณ์ว่าการเดินทางเยือนจีนครั้งนั้นของครุสชอฟ ได้ถูกขอร้องจากเหมาเจ๋อตุงให้ช่วยเหลือจีนบุกเกาะไต้หวัน แต่ครุสชอฟคงไม่เห็นด้วย แต่เพื่อเป็นการรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 (ค.ศ.1959) สหภาพโซเวียตฯได้ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของจีนครั้งใหญ่
ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2502(ค.ศ.1959) จีนได้ประกาศว่าสหภาพโซเวียตฯ ได้ยกเลิกการช่วยเหลือเทคโนโลยีทางด้านการป้องกันประเทศ โดยข้อตกลงความช่วยเหลือนี้จะมีผลครอบคลุมถึงการที่สหภาพโซเวียตฯ จะต้องส่งตัวอย่างของอาวุธนิวเคลียร์ให้กับจีน การประกาศของจีนในครั้งนี้ถือได้ว่ามิตรภาพที่ดีงามที่เคยมีต่อกันนั้นได้ล่มสลายลง ทำให้เวทีระหว่างประเทศคอมมิวนิสต์หลายครั้งถัดมาเกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างสหภาพโซเวียตฯ กับจีน และในปีถัดมา พ.ศ.2503 ช่างเทคนิคและครอบครัวของชาวสหภาพโซเวียตฯ ที่พำนักอยู่ในจีนได้ทยอยเดินทางออกจากจีน
ความขัดแย้งระหว่างสหภาพโซเวียตฯและจีนที่เริ่มต้นมาจากมุมมองที่ต่างกันลัทธิคอมมิวนิสต์ ได้ขยายวงออกไปจนเกิดแนวความคิดตะวันตกและคอมมิวนิสต์ตะวันออก ต่อมาเมื่อ ครุสชอฟ ได้หมดอำนาจลง คนที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำคนต่อไปคือ เลโอนิด เบรซเนฟ (Leonid Brezhnev) ได้พยายามที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนให้ดีขึ้น
ความขัดแย้งระหว่างสหภาพโซเวียตฯและจีนที่เริ่มต้นมาจากมุมมองที่ต่างกันลัทธิคอมมิวนิสต์ ได้ขยายวงออกไปจนเกิดแนวความคิดตะวันตกและคอมมิวนิสต์ตะวันออก ต่อมาเมื่อ ครุสชอฟ ได้หมดอำนาจลง คนที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำคนต่อไปคือ เลโอนิด เบรซเนฟ (Leonid Brezhnev) ได้พยายามที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนให้ดีขึ้น
( เลโอนิด เบรซเนฟ )
แต่เขายังคงไม่ละทิ้งแนวความคิดในการอยู่ร่วมกับตะวันตกอย่างสันติ ทำให้ในที่สุดจีนเองก็ได้กล่าวประนาม เบรซเนฟ อย่างรุนแรงและสถานการณ์ต่างๆ ไม่ได้ดีขึ้น ถึงแม้จะเปลี่ยนผู้นำไปอีกหลายคน เช่นยูริ แอนโดรปอฟ (Yuri Andropov) คอนสแตนติน เชอร์เนนโก (Konstantin Chernenko) จนกระทั่งมาถึง มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ที่ออกนโยบายต่างๆ เช่น การควบคุมเศรษฐกิจผ่านทางนโยบาย กลาสนอสต์ (การเปิดกว้างทางการเมือง) เปเรสตรอยกา (การวางโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่) และอุสโคเรนิเย (การเร่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ)
(ยูริ แอนโดรปอฟ) (คอนสแตนติน เชอร์เนนโก)
ทำให้สหภาพโซเวียตฯ หันไปมีความสนิทกับประเทศตะวันตกมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ ที่มีความร่วมมือกันลดอาวุธนิวเคลียร์ที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับ องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
ในเดือน ธันวาคม พ.ศ.2532 ประธานาธิบดีจอร์จ บุช แห่งสหรัฐอเมริกา กับประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ พบกันที่เกาะมอลตา ประกาศว่า สงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้วอย่างเป็นทางการ
ต่อมากลางปี พ.ศ.2533 ประเทศในยุโรปตะวันออก พันธมิตรของสหภาพโซเวียตฯ เคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ส่งผลให้ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกถึงกาลอวสาน
ในปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และยังได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งศตวรรษ(Man of the Decade)
แต่ปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานทำให้นโยบายเปเรสทรอยก้าล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ชิน สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริงและประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยุบพรรคคอมมิวนิสต์และการสลายตัวของสหภาพเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ปีพ.ศ. 2534 (ค.ศ.1991) ต่อหน้ามหาชน ถือเป็นการอวสานของสหภาพโซเวียตฯ อย่างสิ้นเชิง
ดังนั้นนโยบายทางเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตฯ ที่หันมาใช้แบบทุนนิยมของตะวันตก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ.1985) การลงนามในสัญญาลดอาวุธและการค้ากับตะวันตก ถือได้ว่าเป็นการยุติสงครามเย็นที่ทั้งสองประเทศมหาอำนาจสู้รบกันมากว่า 40 ปี การเปลี่ยนแปลงนโยบายของกอร์บาชอฟ ทำให้ความตึงเครียดซึ่งปกคลุมโลกมานานกว่า 4 ทศวรรษหายไปในช่วงเวลาเพียงคืนเดียว ความจริงแล้วเมื่อมองย้อนไปถึงสมัยครุสชอฟเป็นผู้นำของโซเวียตจะเห็นได้ชัดเจนว่านโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติกลับกลายเป็นนโยบายที่กอร์บาชอฟนำมาใช้ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนพร้อมกับการหายไปของ สงครามเย็น
(ยูริ แอนโดรปอฟ) (คอนสแตนติน เชอร์เนนโก)
ทำให้สหภาพโซเวียตฯ หันไปมีความสนิทกับประเทศตะวันตกมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ ที่มีความร่วมมือกันลดอาวุธนิวเคลียร์ที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับ องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
ในเดือน ธันวาคม พ.ศ.2532 ประธานาธิบดีจอร์จ บุช แห่งสหรัฐอเมริกา กับประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ พบกันที่เกาะมอลตา ประกาศว่า สงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้วอย่างเป็นทางการ
ต่อมากลางปี พ.ศ.2533 ประเทศในยุโรปตะวันออก พันธมิตรของสหภาพโซเวียตฯ เคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ส่งผลให้ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกถึงกาลอวสาน
ในปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และยังได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งศตวรรษ(Man of the Decade)
แต่ปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานทำให้นโยบายเปเรสทรอยก้าล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ชิน สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริงและประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยุบพรรคคอมมิวนิสต์และการสลายตัวของสหภาพเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ปีพ.ศ. 2534 (ค.ศ.1991) ต่อหน้ามหาชน ถือเป็นการอวสานของสหภาพโซเวียตฯ อย่างสิ้นเชิง
ดังนั้นนโยบายทางเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตฯ ที่หันมาใช้แบบทุนนิยมของตะวันตก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ.1985) การลงนามในสัญญาลดอาวุธและการค้ากับตะวันตก ถือได้ว่าเป็นการยุติสงครามเย็นที่ทั้งสองประเทศมหาอำนาจสู้รบกันมากว่า 40 ปี การเปลี่ยนแปลงนโยบายของกอร์บาชอฟ ทำให้ความตึงเครียดซึ่งปกคลุมโลกมานานกว่า 4 ทศวรรษหายไปในช่วงเวลาเพียงคืนเดียว ความจริงแล้วเมื่อมองย้อนไปถึงสมัยครุสชอฟเป็นผู้นำของโซเวียตจะเห็นได้ชัดเจนว่านโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติกลับกลายเป็นนโยบายที่กอร์บาชอฟนำมาใช้ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนพร้อมกับการหายไปของ สงครามเย็น
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น