ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามเย็น # COLD WAR

    ลำดับตอนที่ #7 : การเข้ายึดครองอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียต

    • อัปเดตล่าสุด 4 ธ.ค. 53



              เมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ.2516 (ค.ศ.1973) Mohammad Daoud Khan หลานของกษัตริย์ Mohammad Zahir Shah ของอัฟกานิสถาน ได้ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถาน (People's Democratic Party of Afghanistan: PDPA) ทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากกษัตริย์ Shah และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี  ซึ่งต่อมาได้สถาปนาสาธารณรัฐอัฟกานิสถาน และได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ.2521(ค.ศ.1978) โดยได้ปลดฝ่ายตรงข้ามที่น่าสงสัยออกจากรัฐบาลอันนำไปสู่การนองเลือด และ ประธานธิบดี Khan ได้เสียชีวิตจากการนองเลือดในครั้งนั้น และ Nur Muhammad Taraki ผู้ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรค PDPA ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี โดยมี Hafizullah Amin เป็นรองประธานาธิบดี อย่างไรก็ดีได้มีความแตกแยกภายในพรรค PDPA โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ต่อมา ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2522 รองประธานาธิบดี Amin ได้ทำการยึดอำนาจ จากประธานาธิบดี Taraki หลังจากที่ Taraki เป็นประธานาธิบดีได้ประมาณ 18 เดือน ผลคือ Amin ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี และ ประธานาธิบดี Taraki เสียชีวิตจากการยึดอำนาจดังกล่าว 
              ประธานาธิบดี Aim เมื่อก้าวขึ้นมามีอำนาจได้เริ่มคุกคามสมาชิกพรรค PDPA จำนวนมากด้วยการกล่าวหาและจับกุม ทำให้ผู้คนเกิดความหวาดกลัวและโกรธเกลียด ประธานาธิบดี Aim เป็นจำนวนมาก ผู้ที่รอดจากการคุกคามของประธานาธิบดี Aim ต่างก็หลบหนีออกไปรอบ ๆประเทศเช่น ปากีสถาน หรือ อิหร่าน และในที่สุดคือการนำไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มต่อต้านนั่นเอง
     

    ( ประธานาธิบดี Aim )

              ประธานาธิบดี Aim ได้สั่งการให้ปราบปรามกลุ่มต่อต้านอย่างหนัก แต่ยิ่งปราบปรามยิ่งมีกลุ่มต่อต้านเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ประธานาธิบดี Aim เริ่มหันไปหาประเทศที่จะสามารถให้การสนับสนุนเขาในการปราบปรามได้ ซึ่งก็ไม่มีประเทศใดให้การสนับสนุน ประธานาธิบดี Aim จึงหันไปหาสหภาพโซเวียต ทางสหภาพโซเวียตได้ส่งความช่วยเหลือทางทหารซึ่งนำไปสู่การเคลื่อนย้ายกำลังเข้าไปอยู่ในอัฟกานิสถานพร้อมกับที่ปรึกษาทางทหาร แต่ภาพของประธานาธิบดี Aim ได้ปรากฏเด่นชัดคือต่อต้านรัฐอิสลาม เน้นการผสมผสานประกอบกับ KGB ที่รายงานว่าประธานาธิบดี Aim เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารประธานาธิบดี Taraki
               โดยหน่วยรักษาความปลอดภัยของประธานาธิบดีAim 2 คนเป็นผู้สังหาร และยังมีรายงานว่าประธานาธิบดีAim ได้มีการประชุมลับกับ CIA ทำให้สหภาพโซเวียตเริ่มมอง ประธานาธิบดีAim เป็นสายลับของ CIA  ประธานาธิบดีAim เริ่มรู้ตัวว่าสหภาพโซเวียตไม่ไว้ใจตนเอง จึงระมัดระวังแม้กระทั่งอาหารยังต้องสับเปลี่ยนหลอกล่อจนในที่สุดลูกเขยของ ประธานาธิบดี Aim ได้รับพิษจนถึงขั้นบาดเจ็บอย่างรุนแรง
               เนื่องจาก KGB ได้ส่งสายลับ Mitalin TalyBov ลอบเข้าไปเป็นหัวหน้าพ่อครัวของประธานาธิบดี ต่อมาเมื่อ 22 ธันวาคม พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) ที่ปรึกษาทางทหารของสหภาพโซเวียตได้แนะนำให้กองทัพอัฟกานิสถานนำรถถังและ ยุทโธปกรณ์สำคัญเข้ารับการปรณนิบัติบำรุงตามวงรอบ รวมถึงระบบโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อออกไปนอกกรุงคาบูลชำรุดต้องได้รับการซ่อมแซม ฝ่ายบริหารจึงให้ประธานาธิบดีAim ย้ายจากที่ทำงานในกรุงคาบูลไปยังพระราชวัง Tajbeg

     
    (พระราชวัง Tajbeg)

              ด้วยความเชื่อว่าจะปลอดภัยเมื่อกองกำลังของสหภาพโซเวียตบุกเข้าสู่อัฟกานิสถาน แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้ดีขึ้นอย่างที่คาดหวังนัก เมื่อสหภาพโซเวียตฯ ได้ส่งกำลังทางอากาศเข้าสมทบกับกำลังภาคพื้นของตนเองที่กรุงคาบูลในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) หลังจากย้ายเข้าไปพำนักในพระราชวัง Tajbeg ได้เพียง 5 วัน ทหารสหภาพโซเวียตฯ ประมาณ 700 นาย จาก KGB OSNAZ (Alpha Group) และ GRU SPETSNAZ ซิ่งเป็นหน่วยรบพิเศษของสหภาพโซเวียตฯ จาก Alpha Group และ Zenith Group เข้าทำการยึดสถานที่สำคัญทางราชการ หน่วยทหาร สถานีวิทยุโทรทัศน์ ในกรุงคาบูล และยังบุกเข้าไปยังพระราชวัง Tajbeg โดยการปฏิบัติการทางทหารในครั้งนี้เริ่มต้นเมื่อเวลา 19.00 น. ของวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) หน่วยรบพิเศษสหภาพโซเวียต (Spetsnaz) ได้ทำการระเบิดศูนย์การการติดต่อสื่อสารของกรุงคาบูล ทำให้กรุงคาบูลกลายเป็นอัมพาตไป ต่อมาเมื่อเวลา 19.15 น. การบุกเข้าสู่พระราชวัง Tajbeg ได้เริ่มขึ้น และการปฏิบัติการยุติลงเมื่อตอนเช้าของวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) พร้อมกับประธานาธิบดี Aim และหน่วยรักษาความปลอดภัย 200 นายเสียชีวิต
              ผบ.กองกำลังทหารสหภาพโซเวียตที่เมืองเทอมิทธ์ (Termez) ซึ่งอยู่บริเวณชายแดนอัฟกานิสถานกับสหภาพโซเวียตฯ (ปัจจุบันคือบริเวณของ อุซเบกิสถาน) ได้ประกาศผ่านทางวิทยุกระจายเสียงกรุงคาบูลว่า “อัฟกานิสถานได้รับอิสระภาพจากอำนาจของประธานาธิบดี Aim แล้ว” ย้อนกลับไปวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2522 กองกำลังทางบกของสหภาพโซเวียตภายใต้การควบคุมของ จอมพลSergei Sokolov ได้สั่งเคลื่อนย้ายกำลังเข้าสู่อัฟกานิสถานผ่านทางตอนเหนือ ตอนเช้าวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979)
               กองพลส่งทางอากาศ ที่ 103rd Guards 'Vitebsk' ได้ทำการเคลื่อนที่ทางอากาศไปยังสนามบินที่บากราม และกำลังทางบกที่เคลื่อนที่ตามเข้าสู่อัฟกานิสถานจะประกอบไปด้วย กำลังพลภายใต้กองทัพที่ 40 ของสหภาพโซเวียตฯ นอกจากนี้ยังมีกำลังตามมาสมทบอีกคือ พล.ร.ยานยนต์ที่ 58 และ พล.ร.ยานยนต์ที่ 201 และหน่วยทหารขนาดเล็กอีกจำนวนหนึ่ง สรุปโดยภาพรวมแล้วใช้กำลังพลในขั้นต้นประมาณ 80,000 นาย รถถัง 1,800 คัน และอากาศยานประมาณ 2,000 ลำ และในเฉพาะสัปดาห์ที่ 2 นั้นสหภาพโซเวียตได้ใช้เที่ยวบินไปยังกรุงคาบูลกว่า 4,000 เที่ยว
              ในที่สุดช่วงต้นของสงครามสหภาพโซเวียตฯ มีกำลังพลอยู่ในอัฟกานิสถานกว่า 100,000 นาย การเข้ายึดครองอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียตฯ นั้นสหภาพโซเวียตฯ ได้ทุ่มกำลังทหาร และทรัพยากรทางทหารจำนวนมากเข้าไปสู่อัฟกานิสถาน แต่การยึดครองก็ไม่ได้ง่าย สะดวก และดูโสภานัก

                       

               เมื่อกองกำลังของสหภาพโซเวียตได้เผชิญกับกลุ่มต่อต้าน ที่ใช้แนวความคิดในเรื่องของสงครามกองโจรเข้าทำการต่อกรกับกองทัพอันเกรียงไกรที่มียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยอย่างครบครันในลักษณะของสงครามอสมมาตร โดยการเผชิญกันครั้งนี้ระหว่างสหภาพโซเวียตฯกับกลุ่มต่อต้านที่ชื่อ “มูจาฮิดีน” ซึ่งมูจาฮิดีนนั้นได้รับการสนับสนุนจากประเทศหลายประเทศ คือ สหรัฐฯ ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย อังกฤษ จีน และประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ การดำเนินการโดยใช้สงครามตัวแทน (Proxy War) นี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบของความขัดแย้งในยุคสงครามเย็น
              ในระหว่างที่สหภาพโซเวียตฯ เข้ายึดครองมีการปฏิบัติการทางทหารทั้งหมด 4 ขั้นตอนคือ  
                    ขั้นที่ 1 เข้ายึดครอง (ธันวาคม พ.ศ.2522-กุมภาพันธ์ พ.ศ.2523): เป็นช่วงต้นของการเข้ายึดครองด้วยการเคลื่อนย้ายกำลังเข้าสู่อัฟกานิสถาน ทางบก 2 ทางและทางอากาศ 1 ทาง แต่สหภาพโซเวียตฯ สามารถยึดพื้นที่ได้อย่างจำกัดเนื่องจากเผชิญกับการต่อต้าน 
                   ขั้นที่ 2 การรุก (มีนาคม พ.ศ.2523-เมษายน พ.ศ.2528): เมื่อเผชิญกับการต่อต้านจากลุ่มต่างๆ สหภาพโซเวียตฯจึงทำการยึดครองเมืองสำคัญ พื้นที่ยุทธศาสตร์ และ พื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางการสื่อสาร ในขณะที่กลุ่มต่อต้านมูจาฮิดีนได้แบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ กระจายกันทำสงครามกองโจร
                   ขั้นที่ 3 ขั้นกำหนดยุทธศาสตร์ออกจากอัฟกานิสถาน (เมษายน พ.ศ.2528-มกราคม พ.ศ.2530): เมื่อ มิกาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำสหภาพโซเวียตฯ ทำให้นโยบายในอัฟกานิสถานเปลี่ยนไป จึงมีแนวความคิดที่จะถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน และเริ่มโอนพื้นที่การรบให้กับกำลังของอัฟกานิสถาน
                   ขั้นที่ 4 ขั้นถอนตัว (มกราคม พ.ศ.2530  - กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532): ในขั้นการถอนตัวของกองกำลังสหภาพโซเวียตฯ แบ่งกำลังออกเป็น 2 ส่วน กำลังส่วนแรกจะถอนตัวออกระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม - 16 สิงหาคม พ.ศ.2531 และกำลังส่วนที่ 2 ถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2532 (ค.ศ.1989) - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) โดยระหว่างที่กองกำลังของสหภาพโซเวียตฯ ถอนตัวนั้นไม่ได้ถูกรบกวนโดยกลุ่มมูจาฮิดีนเลย การถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานเป็นการยุติบทบาทของสหภาพโซเวียตฯ ที่มีต่ออัฟกานิสถาน
              การเผชิญหน้าของสหภาพโซเวียตฯ นั้นทำให้สหภาพโซเวียตฯ มีสภาพที่ไม่แตกต่างอะไรนักกับที่สหรัฐฯเผชิญในสงครามเวียดนาม สหภาพโซเวียตฯต้องติดอยู่ในอัฟกานิสถานนานร่วม 10 ปี ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 (ค.ศ.1989) สหภาพโซเวียตฯ ได้สูญเสียทหารและเจ้าหน้าที่ไปร่วม 15,000 คน ในขณะที่ฝ่ายอัฟกานิสถานสูญเสียทหารและพลเรือนไปร่วม 1,000,000 คน

      
              
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×