ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สงครามเย็น # COLD WAR

    ลำดับตอนที่ #6 : ความเปลี่ยนแปลงในจีนและบทบาทใหม่เวทีโลก

    • อัปเดตล่าสุด 4 ธ.ค. 53



               การปฏิวัตินำไปสู่การเป็นคอมมิวนิสต์ของจีน (The Chinese Communist Revolution) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2492 (1949) เหมาเจ๋อตุง ได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China : P.R.C.)  พร้อม ๆ กับการเป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหภาพโซเวียตหลังจากที่สหภาพโซเวียตให้การรับรองประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2492 (1949)  ทำให้สหรัฐฯเองต้องตระหนักถึงประเทศที่มีขนาดใหญ่และพลเมืองกว่า 500 ล้านคน    ได้กลายไปเป็นประเทศที่ปกครองระบอบคอมมิวนิสต์

     

              ที่สำคัญได้กลายไปเป็นแนวร่วมที่สำคัญกับสหภาพโซเวียต โดย เหมาเจอตุงได้ประกาศนโยบาย “เอียงเข้าหาข้างหนึ่ง” หรือ Leaning to One Side ซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญาสำหรับกลุ่มประเทศสังคมนิยม ในเดือนกุมภา-พันธ์ พ.ศ.2493 (1950)ประเทศจีนกับสหภาพโซเวียตได้ลงนามสนธิสัญญาในความช่วยเหลือซึ่งมีผลบังคับถึงปี พ.ศ.2523 (1980)

             สนธิสัญญาดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายต่อต้านญี่ปุ่นหรือประเทศใด ๆ ที่จะร่วมมือกับญี่ปุ่นโดยมีจุดมุ่งหมายในการคุกคามต่อจีน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและจีนก็เป็นไปด้วยดีได้ไม่นานนักเมื่อ สหภาพโซเวียตเริ่มมีท่าทีที่รอมชอมกับสหรัฐ ฯ ทำให้จีนคิดว่าสหภาพโซเวียตทรยศต่อแนวคิดของมาร์กและเลนิน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งมาจากผลจากการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐฯและสหภาพโซเวียตในวิกฤตการณ์ขีปนาวุธในคิวบาที่เริ่มมีการเจรจากันระหว่างสหรัฐฯกับสหภาพโซเวียต และนำไปสู่การเจรจาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐฯกับสหภาพโซเวียต (The Comprehensive Nuclear Test Ban Treaty) ที่จะเลิกทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศ ในปี พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963)

              ไม่เพียงแต่เรื่องที่สหภาพโซเวียตมีท่าทีรอมชอมกับสหรัฐฯเท่านั้นที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตเหินห่างจากกัน นอกจากนี้จีนยังไม่พอใจสหภาพโซเวียตที่ให้การสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์กับอินเดียในระหว่างที่อินเดียกับจีนมีข้อพิพาทบริเวณทิเบตในเดือนตุลาคม พ.ศ.2505 (ค.ศ.1962) ต่อมาในปี พ.ศ.2509 (ค.ศ.1966) ได้เกิดกาลียุคขึ้นภายในจีนหลังจากที่เหมาเจอตุงกลับเข้ามามีอำนาจอย่างเต็มที่ในพรรคคอมมิวนิสต์ คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ได้ออกแนวทางปฏิวัติวัฒนธรรม เพื่อทำการต่อสู้กับกลุ่มที่มีแนวความคิดทุนนิยมและพวกที่แบ่งแยกชนชั้น ซึ่งกล่าวได้ว่าขัดกับแนวทางสังคมนิยม

              การดำเนินการดังกล่าวได้เกิดกลุ่มผู้ที่สนับสนุนแนวความคิดดังกล่าวที่เรียก ว่ากลุ่ม “พิทักษ์แดง” หรือ “Red Guard” มีร่วม 10 ล้านคน ปัญหาความวุ่นวายต่าง ๆ เริ่มเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มพิทักษ์แดงได้กระจายไปอยู่ทั่วประเทศ และได้ดำเนินการบุกรุกเข้าไปในโบสถ์ พิพิธภัณฑ์สถาน ทำลายวัตถุโบราณ เผางานศิลปะ งานประพันธ์ รวมถึงการเข้าไปบุกค้นบ้านที่เป็นบ้านผู้ดีเก่า ซึ่งบ้านของผู้ที่เป็นระดับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ก็ไม่ได้ละเว้น เหมาเจอตุงเองได้ออกคำสั่งห้ามตำรวจขัดขวางการเคลื่อนไหวของกลุ่มพิทักษ์แดง

              ผลจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพิทักษ์แดงปรากฏว่ามีผู้ถูกฆ่าตาย 1,700 คน และทั่วประเทศมีคนฆ่าตัวเองตายกว่า 2 แสนคนจากกรณีดังกล่าว  นอกจากนี้เหมาเจอตุงยังได้ให้พรรคคอมมิวนิสต์สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กับกลุ่มพิทักษ์แดงในการเดินทางมาเคลื่อนไหวในกรุงปักกิ่งวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2509 (ค.ศ.1966) เหตุการณ์ความวุ่นวายได้ทอดเวลาไปนานร่วม 10 ปี

              จวบจนกระทั่ง เหมาเจอตุงถึงแก่อสัญกรรมในเดือนกันยายน พ.ศ.2519 (ค.ศ.1976) แนวนโยบายปฏิวัติทางวัฒนธรรมจึงได้ยุติลง

            บทบาทที่สำคัญของจีนที่เกี่ยวข้องกับสงครามเย็นคือ การเข้าไปเกี่ยวข้องในสงครามเกาหลี ให้การสนับสนุนยุทโธปกรณ์กับเกาหลีเหนือ รวมถึงการเคลื่อนกำลังพลกว่า 780,000 นายเข้าสู้รบกับกองกำลังสหประชาชาติ การให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคอินโดจีน เช่น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และเขมรแดง เป็นต้น รวมถึงการเผชิญหน้ากับสหรัฐฯในปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่เกี่ยวกับเกาะใต้หวัน การเผชิญหน้ากันเองระหว่างคอมมิวนิสต์อย่างสหภาพโซเวียตในกรณีพิพาทตามแนวชายแดน (Sino-Soviet Border Conflict) ตลอดแนวยาว 4,380 กม. (2,738 ไมล์)ในปี พ.ศ.2512 (ค.ศ.1969) โดยที่จีนเคลื่อนย้ายกำลัง 814,000 นายเข้าประชิดชายแดนเผชิญหน้ากับกำลังของสหภาพโซเวียตกว่า 658,000 นาย

               จากความขัดแย้งครั้งนี้สหภาพโซเวียตอ้างว่า จีนสูญเสียกำลังพลจากการโจมตีกว่า 620 นาย ในขณะที่ตนเองสูญเสียไป 58 นาย นอกจากการปะทะกันตามแนวชายแดนแล้วยังมีความเชื่อว่า สหภาพโซเวียตนั้นมีแผนที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์กับจีนอีกด้วย  นอกจากนี้จีนเองยังเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทที่ถ่วงดุลในช่วงสงครามเย็นดังเช่น การเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับสหรัฐฯ ในยุคสมัยประธานาธิบดี Richard M. Nixon เหมาเจอตุงได้เชิญประธานาธิบดี Nixon มาเป็นอาคันตุกะอย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 21 -28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515 (ค.ศ.1972)

                      
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×