ลำดับตอนที่ #3
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : ความขัดแย้งสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็น
ในช่วงที่เยอรมันกำลังจะพ่ายแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงท้ายสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายพันธมิตรหลายประเทศพยายามที่จะกรีฑาทัพเข้าสู่เยอรมันทั้งนี้เพื่อถือโอกาสยึดครองพื้นที่ของเยอรมันเมื่อสงครามโลกยุติลงในการตักตวงผลประโยชน์จากค่าปฏิกรสงคราม ซึ่งเมื่อสงครามยุติลงมี 4 ประเทศเข้ายึดครองเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ และ สหภาพโซเวียต โดย อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหรัฐฯพยายามที่สถาปนาดินแดนเยอรมันทั้งหมดเข้าด้วยกันแต่สหภาพโซเวียตไม่ยินยอม จึงทำให้ อังกฤษ ฝรั่งเศส และ สหรัฐฯรวมดินแดนเยอรมันที่ตนเองยึดครองไว้เข้าด้วยกันเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (เยอรมันตะวันตก)
ส่วนดินแดนที่สหภาพโซเวียตยึดครองสถาปนาเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน (เยอรมันตะวันออก) เมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ.1949) โดยทั้งสองประเทศแบ่งเมืองหลวงออกเป็นส่วนคือ เบอร์ลินตะวันออก และเบอร์ลินตะวันตก และสิ่งที่ตามมาคือการสร้างกำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) (ในภาเยอรมันเรียกว่า Berliner Mauer) เป็นกำแพงที่กั้นเบอร์ลินตะวันตก ออกจากเยอรมนีตะวันออกโดยรอบ
เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) เพื่อจำกัดการเข้าออกระหว่างเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก โดยกำแพงเบอร์ลินนี้ได้ถูกสร้างไว้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนจะทลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ.1989) เยอรมันทั้งสองประเทศได้ผนวกเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งถือกันว่าเป็นการสิ้นสุดยุคสงครามเย็น เพราะกำแพงเบอร์ลินถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น ในระหว่างที่กำแพงยังตั้งอยู่นั้น มีความพยายามหลบหนีข้ามเขตแดนราว 5,000 ครั้ง มี 192 คนถูกฆ่าระหว่างการหลบหนี และอีกประมาณ 200 คนบาดเจ็บสาหัส ในช่วงแรกนั้น การหลบหนีเป็นไปอย่างไม่ยากนัก เนื่องจากกำแพงในช่วงแรกเป็นเพียงรั้วลวดหนามเตี้ย ๆ และบางส่วนก็กระโดดออกมาทางหน้าต่างของตึกที่อยู่ติดกับกำแพง แต่ไม่นานนักกำแพงก็เปลี่ยนเป็นคอนกรีตที่แน่นหนา ส่วนหน้าต่างตึกต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกำแพงก็ถูกก่ออิฐปิดตาย
- สงครามเกาหลี : เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง เกาหลีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศโดยใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นเส้นแบ่งเขต โดยเกาหลีเหนือเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ ส่วนเกาหลีใต้ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ต่อมาเมื่อ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ.1950) ได้เกิดสงครามเกาหลีขึ้น เมื่อกำลังทหารเกาหลีเหนือทำการรุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมา และเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ.1950) สามารถยึดกรุงโซลได้
สหประชาชาติได้มีมติให้นำกำลังทหารเข้าช่วยเกาหลีใต้ ภายใต้การนำของสหรัฐฯ (มีกำลังทหารจากประเทศไทยเข้าร่วมด้วย) เมื่อกำลังสหประชาชาติเข้าไปช่วยเหลือเกาหลีใต้ ทำให้จีนเคลื่อนย้ายกำลังพลเข้าสู่พื้นที่การรบตามมา ในสงครามเกาหลีตลอดห้วงเวลาร่วม 3 ปีที่แต่ละฝ่ายทำการรบกันคือตั้งแต่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) ถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) นั้น
หลังจาก นับตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 (ค.ศ. 1951) เป็นต้นมา การสู้รบด้วยกำลังทหารขนาดใหญ่แทบจะไม่เกิดขึ้นอีก ทำให้มีความพยายามที่จะเจรจาสงบศึกกันของทั้งสองฝ่าย โดยการเจรจายุติสงครามครั้งแรกเกิดขึ้นที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองเคซอง เมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2494 (ค.ศ. 1951) ต่อมาได้ย้ายไปเจรจากันที่ ตำบลปันมุมจอม (Punmumjom) ข้อตกลงสงบศึกที่ปันมุมจอมนี้เป็นผลจากการเจรจาที่ยืดเยื้อถึง 255 ครั้ง ใช้เวลา 2 ปี 17 วัน ในสงครามเกาหลีนี้ มีผู้สูญเสียจากการรบกว่า 4 ล้านคน ทั้งทหารและพลเรือน
- สงครามในอินโดจีน : สถานการณ์ในอินโดจีนในห้วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 จวบจนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงนั้นมีความร้อนแรงไม่แพ้ภูมิภาคด้านอื่น ๆ โดยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรอินโดจีนหลัก ๆ จะเป็นประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา ซึ่งเคยเป็นประเทศอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ ประเทศไทยและพม่าก็ยังเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามสถานการณ์ในห้วงสงครามเย็น
- เวียดนาม : สถานการณ์เริ่มมาจากขบวนการเวียดมินห์ภายใต้การนำของ โฮจิมินห์ ได้เคลื่อนไหวต่อต้านฝรั่งเศสและญี่ปุ่นที่เข้ายึดครองเวียดนามในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสได้กลับเข้าไปมีอำนาจในคาบสมุทรอินโดจีน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสอีกครั้ง โฮจิมินห์ได้ร้องขอให้สหรัฐฯช่วยเหลือในการเจรจากับฝรั่งเศสแต่สหรัฐฯได้นิ่งเฉยเพราะมีความเกรงใจฝรั่งเศส โฮจิมินห์จึงได้เปลี่ยนไปร้องขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนแทน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับและได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี
และสถานการณ์ในคาบสมุทรอินโดจีนได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อขบวนการเวียดมินห์ที่เดียนเบียนฟู ส่งผลให้ เวียดนาม ลาว เขมรได้รับเอกราช และด้วยความพ่ายแพ้นี้เองทำใหฝรั่งเศสต้องถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ สหรัฐฯ จึงได้ถือโอกาสนี้เข้ามามีบทบาทแทนฝรั่งเศสในภูมิภาคทางเวียดนามใต้นี้
การเข้าไปมีอิทธิพลในเวียดนามใต้ได้นำไปสู่การเกิดขึ้นของขบวนการ เวียดกง ซึ่งการต่อต้านนี้ได้สถานการณ์ได้ลุกลามไปสู่สงครามจำกัด (Limited War) ที่รู้จักกันในชื่อ “สงครามเวียดนาม” โดยการสู้รบในสงครามเวียดนามได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการทำสงครามสมัยใหม่ด้วยบทเรียนราคาแพงของสหรัฐฯ นำมาซึ่งการถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ เมื่อสหรัฐฯ ไม่สามารถสร้างชัยชนะขึ้นได้ในดินแดนเวียดนาม สหรัฐฯได้ใช้เวลานานหลายปี ใช้กำลังพลมหาศาล กองทัพที่เกรียงไกรมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย แต่สูญเสียกำลังพลเกือบจะ 6 หมื่นคนในขณะที่เวียดนามสูญเสียคนไปหลายล้านคน (ในสงครามเวียดนามไทยสูยเสียทหารไป 351 นาย)
ในที่สุดสหรัฐฯได้ถอนกำลังทหารออกไปจากภูมิภาคนี้ด้วยปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศของตนเอง ทำให้เวียดนามรวมประเทศเวียดนามเหนือและใต้และปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ ต่อมาในสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน สหรัฐฯได้ประกาศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ ฯ และเวียดนามขึ้นอีกครั้ง
- ลาว : หลังจากฝรั่งเศสได้ถอนตัวไปจากภูมิภาคนี้ไปพร้อม ๆ กับการได้รับเอกราชของลาว แต่สถานการณ์ไม่ได้สงบเรียบร้อยตามมาเมื่อ ขบวนการกู้ชาติที่มีความนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ไม่ยอมรวมกับฝ่ายรัฐบาลที่นิยมประชาธิปไตย (เป็นรัฐบาลที่ฝรั่งเศสได้จัดตั้งก่อนจะถอนทหารออก) เลยส่งผลให้สงครามในลาวที่ต่อสู้เพื่อเอกราชเปลี่ยนสถานภาพไปสู่สงครามระหว่างลัทธิ โดยสหรัฐฯได้ให้การสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล ในขณะที่ฝ่ายขบวนการกู้ชาติได้รับการสนับสนุนจากพวกเวียดมินห์ แต่ฝ่ายรัฐบาลได้พ่ายแพ้เมื่อสหรัฐฯถอนกำลังออกจากภูมิภาคนี้ ฝ่ายลาวสูญเสียไปประมาณ 5 หมื่นคน
- กัมพูชา : เมื่อกัมพูชาได้รับเอกราชหลังจากความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในเดียนเบียนฟู ได้ดำเนินนโยบายเป็นกลางเพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์รอบ ๆ ประเทศพร้อม ๆ กับรับการช่วยเหลือจากทุกฝ่ายทั้งโลกประชาธิปไตยและโลกคอมมิวนิสต์ ต่อมาเมื่อสหรัฐฯไม่สามารถควบคุมการดำเนินการต่างของเจ้าสีหนุในขณะนั้นได้ ทำให้สหรัฐฯสนับสนุนให้มีการปฏิวัติรัฐประหารขึ้น ทำให้เจ้าสีหนุลี้ภัยไปกรุงปักกิ่งและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นและร่วมมือกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่รู้จักกันในชื่อ “เขมรแดง (Khmer Rouge) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “พรรคคอมมิวนิสต์เขมร” (Khmer Communist Party) หรือ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (National Army of Democratic Kampuchea) คือ พรรคการเมืองกัมพูชาที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522
ในที่สุดเมื่อสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้รัฐบาลกัมพูชาได้พ่ายแพ้ต่อเขมรแดงและกัมพูชาได้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบสังคมนิยม ในความขัดแย้งนี้มีผู้เสียชีวิตระหว่างสงครามกว่า 7 หมื่นคน และเสียชีวิตเมื่อเขมรแดงที่นำโดยนายพลพต เข้ายึดครองกัมพูชาอีกกว่า 1.5 ล้านคน
- ไทย : ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นแนวความคิดในเรื่องของการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ได้เริ่มแพร่หลายเข้ามายังประเทศไทย เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 พรรคคอมมิวนิสต์ไทยได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ “ต่อต้านญี่ปุ่นโดยประสานกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน” เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงการเคลื่อนไหวของพรรคมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มแรกเดิมทีได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามต่อมาได้รับการสนับสนุนจากประเทศจีน การขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีการออกกฏหมายคือ “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์” ซึ่งมีโทษที่รุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต เมื่อ 6 กรกฎาคม 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้สั่งประหารชีวิต นายศุภชัย ศรีสติ ข้อมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และด้วยการปราบปรามอย่างหนักนี้เองได้ส่งผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ นำไปสู่ขั้นการทำสงครามปฏิวัติในที่สุด เมื่อ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ได้เกิดการปะทะที่หมู่บ้านนาบัว ต.เรณู อ.ธาตุพนม จังหวัด นครพนม ระหว่างกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับตำรวจส่งผลให้ เกิดการสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย การเริ่มขั้นสงครามปฏิวัติในครั้งนี้รู้จักกันในนาม “วันเสียงปืนแตก”
เมื่อการปราบปรามคอมมิวนิสต์ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทำให้มีผู้คนการหลบหนีเข้าป่าเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ทำให้การต่อสู้ขยายตัวออกเป็นวงกว้าง เมื่อสหรัฐฯถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ทำให้หลายฝ่ายมีความเชื่อประเทศไทยจะรอดพ้นจากการล้มล้างระบอบการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ เพราะตั้งแต่การถอนตัวออกจากเวียดนามของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาถอนกำลังหน่วยสุดท้ายออกจากเวียดนามใต้เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2516ต่อมาเมื่อ 1 มกราคม 2518 กรุงพนมเปญเมืองหลวงของเขมร ตามมาด้วยกรุงไซ่ง่อน เมืองหลวงของเวียดนามใต้ แตกเมื่อ 30 เมษายน 2518 และกรุงพนมเปญได้แตกอีกครั้ง เมื่อ พล.อ.เทียนวันดุง ของเวียดนามได้นำกำลังกว่า 20 กองพล เข้ายึดเขมร เมื่อ 7 มกราคม 2522 หรือที่รู้จักกันในนาม ยุทธการบัวบาน และนักการทหารหลายคนมีความเชื่อว่า หลังจากเขมรแตกแล้วมีความเป็นไปได้ที่เวียดนามจะทำการรุกต่อมายังไทย การที่ประเทศต่าง ๆ แตกกันเป็นทอด ๆ นี้เองทำให้มีนักวิชาการไปกำหนดเป็นแนวคิดที่เรียกว่าทฤษฏีโดมิโน โดยประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในความเชื่อที่ว่าจะแตกเป็นประเทศต่อไปในแนวคิดของทฤษฏีโดมิโน เพราะกำลังพลมหาศาลของเวียดนามที่เคลื่อนเข้ามาประชิดชายแดนไทย ทำให้เป็นการยากที่ประเทศไทยจะต้านทาน
ในที่สุดรัฐบาลได้อาศัยความร่วมมือกับประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ในการปราบคอมมิวนิสต์ในประเทศ ซึ่งประเทศนั้นคือประเทศจีน เป็นที่ทราบกันดีว่าการก่อความไม่สงบไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดจะสามารถดำเนินการต่อไปได้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ให้การสนับสนุน และในยุคนั้นจีนสามารถกล่าวได้ว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนรายใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เมื่อประเทศไทยสามารถเจรจาขอให้จีนยุติการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้
ประเทศไทยเริ่มดำเนินการกดดันโดยใช้กำลังทหารอย่างหนัก พร้อมทั้งออกนโยบายรองรับให้ผู้หลงผิดวางอาวุธกลับมาเป็นผู้พัฒนาชาติไทย และนโยบายดังกล่าวคือ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 66/23 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ และ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 65/25 เรื่อง แผนรุกทางการเมือง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้นำพาประเทศไทยไปสู่บรรยากาศแห่งความปรองดองแห่งชาติในที่สุด
สหประชาชาติได้มีมติให้นำกำลังทหารเข้าช่วยเกาหลีใต้ ภายใต้การนำของสหรัฐฯ (มีกำลังทหารจากประเทศไทยเข้าร่วมด้วย) เมื่อกำลังสหประชาชาติเข้าไปช่วยเหลือเกาหลีใต้ ทำให้จีนเคลื่อนย้ายกำลังพลเข้าสู่พื้นที่การรบตามมา ในสงครามเกาหลีตลอดห้วงเวลาร่วม 3 ปีที่แต่ละฝ่ายทำการรบกันคือตั้งแต่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) ถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) นั้น
หลังจาก นับตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2494 (ค.ศ. 1951) เป็นต้นมา การสู้รบด้วยกำลังทหารขนาดใหญ่แทบจะไม่เกิดขึ้นอีก ทำให้มีความพยายามที่จะเจรจาสงบศึกกันของทั้งสองฝ่าย โดยการเจรจายุติสงครามครั้งแรกเกิดขึ้นที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองเคซอง เมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2494 (ค.ศ. 1951) ต่อมาได้ย้ายไปเจรจากันที่ ตำบลปันมุมจอม (Punmumjom) ข้อตกลงสงบศึกที่ปันมุมจอมนี้เป็นผลจากการเจรจาที่ยืดเยื้อถึง 255 ครั้ง ใช้เวลา 2 ปี 17 วัน ในสงครามเกาหลีนี้ มีผู้สูญเสียจากการรบกว่า 4 ล้านคน ทั้งทหารและพลเรือน
- สงครามในอินโดจีน : สถานการณ์ในอินโดจีนในห้วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 จวบจนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงนั้นมีความร้อนแรงไม่แพ้ภูมิภาคด้านอื่น ๆ โดยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรอินโดจีนหลัก ๆ จะเป็นประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา ซึ่งเคยเป็นประเทศอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ ประเทศไทยและพม่าก็ยังเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามสถานการณ์ในห้วงสงครามเย็น
- เวียดนาม : สถานการณ์เริ่มมาจากขบวนการเวียดมินห์ภายใต้การนำของ โฮจิมินห์ ได้เคลื่อนไหวต่อต้านฝรั่งเศสและญี่ปุ่นที่เข้ายึดครองเวียดนามในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสได้กลับเข้าไปมีอำนาจในคาบสมุทรอินโดจีน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสอีกครั้ง โฮจิมินห์ได้ร้องขอให้สหรัฐฯช่วยเหลือในการเจรจากับฝรั่งเศสแต่สหรัฐฯได้นิ่งเฉยเพราะมีความเกรงใจฝรั่งเศส โฮจิมินห์จึงได้เปลี่ยนไปร้องขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนแทน ซึ่งก็ได้รับการตอบรับและได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี
และสถานการณ์ในคาบสมุทรอินโดจีนได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อขบวนการเวียดมินห์ที่เดียนเบียนฟู ส่งผลให้ เวียดนาม ลาว เขมรได้รับเอกราช และด้วยความพ่ายแพ้นี้เองทำใหฝรั่งเศสต้องถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ สหรัฐฯ จึงได้ถือโอกาสนี้เข้ามามีบทบาทแทนฝรั่งเศสในภูมิภาคทางเวียดนามใต้นี้
การเข้าไปมีอิทธิพลในเวียดนามใต้ได้นำไปสู่การเกิดขึ้นของขบวนการ เวียดกง ซึ่งการต่อต้านนี้ได้สถานการณ์ได้ลุกลามไปสู่สงครามจำกัด (Limited War) ที่รู้จักกันในชื่อ “สงครามเวียดนาม” โดยการสู้รบในสงครามเวียดนามได้เปลี่ยนโฉมหน้าของการทำสงครามสมัยใหม่ด้วยบทเรียนราคาแพงของสหรัฐฯ นำมาซึ่งการถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ เมื่อสหรัฐฯ ไม่สามารถสร้างชัยชนะขึ้นได้ในดินแดนเวียดนาม สหรัฐฯได้ใช้เวลานานหลายปี ใช้กำลังพลมหาศาล กองทัพที่เกรียงไกรมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย แต่สูญเสียกำลังพลเกือบจะ 6 หมื่นคนในขณะที่เวียดนามสูญเสียคนไปหลายล้านคน (ในสงครามเวียดนามไทยสูยเสียทหารไป 351 นาย)
ในที่สุดสหรัฐฯได้ถอนกำลังทหารออกไปจากภูมิภาคนี้ด้วยปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศของตนเอง ทำให้เวียดนามรวมประเทศเวียดนามเหนือและใต้และปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ ต่อมาในสมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน สหรัฐฯได้ประกาศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ ฯ และเวียดนามขึ้นอีกครั้ง
- ลาว : หลังจากฝรั่งเศสได้ถอนตัวไปจากภูมิภาคนี้ไปพร้อม ๆ กับการได้รับเอกราชของลาว แต่สถานการณ์ไม่ได้สงบเรียบร้อยตามมาเมื่อ ขบวนการกู้ชาติที่มีความนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ไม่ยอมรวมกับฝ่ายรัฐบาลที่นิยมประชาธิปไตย (เป็นรัฐบาลที่ฝรั่งเศสได้จัดตั้งก่อนจะถอนทหารออก) เลยส่งผลให้สงครามในลาวที่ต่อสู้เพื่อเอกราชเปลี่ยนสถานภาพไปสู่สงครามระหว่างลัทธิ โดยสหรัฐฯได้ให้การสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล ในขณะที่ฝ่ายขบวนการกู้ชาติได้รับการสนับสนุนจากพวกเวียดมินห์ แต่ฝ่ายรัฐบาลได้พ่ายแพ้เมื่อสหรัฐฯถอนกำลังออกจากภูมิภาคนี้ ฝ่ายลาวสูญเสียไปประมาณ 5 หมื่นคน
- กัมพูชา : เมื่อกัมพูชาได้รับเอกราชหลังจากความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในเดียนเบียนฟู ได้ดำเนินนโยบายเป็นกลางเพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์รอบ ๆ ประเทศพร้อม ๆ กับรับการช่วยเหลือจากทุกฝ่ายทั้งโลกประชาธิปไตยและโลกคอมมิวนิสต์ ต่อมาเมื่อสหรัฐฯไม่สามารถควบคุมการดำเนินการต่างของเจ้าสีหนุในขณะนั้นได้ ทำให้สหรัฐฯสนับสนุนให้มีการปฏิวัติรัฐประหารขึ้น ทำให้เจ้าสีหนุลี้ภัยไปกรุงปักกิ่งและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นและร่วมมือกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่รู้จักกันในชื่อ “เขมรแดง (Khmer Rouge) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “พรรคคอมมิวนิสต์เขมร” (Khmer Communist Party) หรือ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (National Army of Democratic Kampuchea) คือ พรรคการเมืองกัมพูชาที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ ปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522
ในที่สุดเมื่อสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้รัฐบาลกัมพูชาได้พ่ายแพ้ต่อเขมรแดงและกัมพูชาได้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบสังคมนิยม ในความขัดแย้งนี้มีผู้เสียชีวิตระหว่างสงครามกว่า 7 หมื่นคน และเสียชีวิตเมื่อเขมรแดงที่นำโดยนายพลพต เข้ายึดครองกัมพูชาอีกกว่า 1.5 ล้านคน
- ไทย : ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นแนวความคิดในเรื่องของการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ได้เริ่มแพร่หลายเข้ามายังประเทศไทย เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 พรรคคอมมิวนิสต์ไทยได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์คือ “ต่อต้านญี่ปุ่นโดยประสานกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน” เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงการเคลื่อนไหวของพรรคมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มแรกเดิมทีได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามต่อมาได้รับการสนับสนุนจากประเทศจีน การขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีการออกกฏหมายคือ “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์” ซึ่งมีโทษที่รุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต เมื่อ 6 กรกฎาคม 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้สั่งประหารชีวิต นายศุภชัย ศรีสติ ข้อมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และด้วยการปราบปรามอย่างหนักนี้เองได้ส่งผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ นำไปสู่ขั้นการทำสงครามปฏิวัติในที่สุด เมื่อ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ได้เกิดการปะทะที่หมู่บ้านนาบัว ต.เรณู อ.ธาตุพนม จังหวัด นครพนม ระหว่างกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับตำรวจส่งผลให้ เกิดการสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย การเริ่มขั้นสงครามปฏิวัติในครั้งนี้รู้จักกันในนาม “วันเสียงปืนแตก”
เมื่อการปราบปรามคอมมิวนิสต์ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทำให้มีผู้คนการหลบหนีเข้าป่าเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ทำให้การต่อสู้ขยายตัวออกเป็นวงกว้าง เมื่อสหรัฐฯถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ทำให้หลายฝ่ายมีความเชื่อประเทศไทยจะรอดพ้นจากการล้มล้างระบอบการปกครองไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ เพราะตั้งแต่การถอนตัวออกจากเวียดนามของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาถอนกำลังหน่วยสุดท้ายออกจากเวียดนามใต้เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2516ต่อมาเมื่อ 1 มกราคม 2518 กรุงพนมเปญเมืองหลวงของเขมร ตามมาด้วยกรุงไซ่ง่อน เมืองหลวงของเวียดนามใต้ แตกเมื่อ 30 เมษายน 2518 และกรุงพนมเปญได้แตกอีกครั้ง เมื่อ พล.อ.เทียนวันดุง ของเวียดนามได้นำกำลังกว่า 20 กองพล เข้ายึดเขมร เมื่อ 7 มกราคม 2522 หรือที่รู้จักกันในนาม ยุทธการบัวบาน และนักการทหารหลายคนมีความเชื่อว่า หลังจากเขมรแตกแล้วมีความเป็นไปได้ที่เวียดนามจะทำการรุกต่อมายังไทย การที่ประเทศต่าง ๆ แตกกันเป็นทอด ๆ นี้เองทำให้มีนักวิชาการไปกำหนดเป็นแนวคิดที่เรียกว่าทฤษฏีโดมิโน โดยประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในความเชื่อที่ว่าจะแตกเป็นประเทศต่อไปในแนวคิดของทฤษฏีโดมิโน เพราะกำลังพลมหาศาลของเวียดนามที่เคลื่อนเข้ามาประชิดชายแดนไทย ทำให้เป็นการยากที่ประเทศไทยจะต้านทาน
ในที่สุดรัฐบาลได้อาศัยความร่วมมือกับประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ในการปราบคอมมิวนิสต์ในประเทศ ซึ่งประเทศนั้นคือประเทศจีน เป็นที่ทราบกันดีว่าการก่อความไม่สงบไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดจะสามารถดำเนินการต่อไปได้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ให้การสนับสนุน และในยุคนั้นจีนสามารถกล่าวได้ว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนรายใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เมื่อประเทศไทยสามารถเจรจาขอให้จีนยุติการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้
ประเทศไทยเริ่มดำเนินการกดดันโดยใช้กำลังทหารอย่างหนัก พร้อมทั้งออกนโยบายรองรับให้ผู้หลงผิดวางอาวุธกลับมาเป็นผู้พัฒนาชาติไทย และนโยบายดังกล่าวคือ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 66/23 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ และ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 65/25 เรื่อง แผนรุกทางการเมือง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้นำพาประเทศไทยไปสู่บรรยากาศแห่งความปรองดองแห่งชาติในที่สุด
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น