ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : สาเหตุของสงครามเย็น
สงครามเย็น (ค.ศ.1945-1991 หรือ พ.ศ.2488-2534) เป็นการต่อสู้ระหว่าง 2 กลุ่มประเทศที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบการเมืองต่างกัน อุบัติขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มหนึ่งคือสหภาพโซเวียตและพันธมิตร เรียกว่าโลกตะวันออก หรือโลกคอมมิวนิสต์ กลุ่มหนึ่งคือสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร เรียกว่าโลกตะวันตก หรือโลกเสรี สงครามเย็นมีผลสืบเนื่องมาจากสภาพบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทั้งประเทศผู้ชนะและแพ้สงคราม ได้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ทวีปยุโรปซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างยิ่ง ต้องสูญเสียอำนาจและอิทธิพลในสังคมโลกให้กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีฐานะเศรษฐกิจมั่นคงจนเป็นหลักในการบูรณะฟื้นฟูประเทศอื่นๆ สหรัฐอเมริกาก้าวสู่ความเป็นผู้นำของโลกเสรีประชาธิปไตย ในขณะที่สหภาพโซเวียตมีอำนาจและอิทธิพลเนื่องมาจากความสำเร็จในการขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก อยู่ในฐานะประเทศผู้นำของโลกคอมมิวนิสต์ คำว่า อภิมหาอำนาจ จึงหมายถึง ความเป็นผู้นำโลกของประเทศทั้งสอง ซึ่งแข่งขันกันขยายอำนาจและอิทธิพล จนทำให้ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเกิดความตึงเครียดสูง
สาเหตุของสงครามเย็นเกิดจากการแข่งขันกันของประเทศอภิมหาอำนาจจากประสบการณ์ที่ผ่านมาในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียหายน้อยกว่าประเทศคู่สงครามในยุโรป ทั้งยังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง และเป็นประเทศแรกที่สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีความรู้สึกว่าตนเป็นตำรวจโลกเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งวิถีทางประชาธิปไตยและเสรีภาพ
ส่วนสหภาพโซเวียตฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างรวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ
สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลกเพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ดังนั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายตรงข้าม
ส่วนสหภาพโซเวียตฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างรวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ
สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลกเพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ดังนั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายตรงข้าม
โลกอยู่ในภาวะสงครามเย็นจนมาถึงวันสหภาพโซเวียตมีประธานาธิบดีชื่อ มิฮาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำนโยบาย "เปิด-ปรับ" (หรือ กลาสน็อต-เปเรสตรอยก้า) ปฏิรูปประเทศให้เป็นไปในแนวทางประชาธิปไตยทุกๆ ด้าน ปรับนโยบายต่างประเทศใหม่เพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ เสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือกับนานาประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
( มิฮาอิล กอร์บาชอฟ )
ธันวาคม พ.ศ.2532 ประธานาธิบดีจอร์จ บุช แห่งสหรัฐอเมริกา กับประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ พบกันที่เกาะมอลตา ประกาศว่า สงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้วอย่างเป็นทางการ ต่อมากลางปี 2533 ประเทศในยุโรปตะวันออก พันธมิตรของโซเวียต เคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ส่งผลให้ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกถึงกาลอวสาน
ปีต่อมากำแพงเบอร์ลิน สัญลักษณ์สงครามเย็นถูกทำลาย เยอรมันตะวันตก-ตะวันออก รวมเป็นประเทศเดียว การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบถอนรากถอนโคนดังกล่าว ตลอดจนการล่มสลายของสหภาพโซเวียตอันเป็นผลสืบเนื่องจากการก่อตั้งเครือรัฐเอกราช ปิดฉากสงครามเย็นอย่างสิ้นเชิงในพ.ศ.2534
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น