ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สรุปเนื้อหาเตรียมสอบเข้าม.1

    ลำดับตอนที่ #1 : ระบบย่อยอาหาร-กลไกชีวิต(100%)

    • อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 58


    กองทัพต้องเดินด้วยท้อง..แต่ถ้าพี่ชอบน้องต้องทำยังไง 555 (เสี่ยววันละนิด อย่าว่ากันน้า)


    ระบบย่อยอาหาร

    การย่อยอาหาร คือ กระบวนการทำให้อาหารมีขนาดอนุภาคเล็กลง

    ทางเดินของอาหาร หลังจากที่เราเอาอาหารเข้าปากแล้ว  อาหารจะเคลื่อนที่จาก

    ปาก –> คอหอย -> หลอดอาหาร -> กระเพาะอาหาร -> ลำไส้เล็ก -> ลำไส้ใหญ่ –> ทวารหนัก (และขับออกมาเป็นอุนจิ)



    ในปาก มีอะไรบ้างเอ่ย ????

    ปาก ประกอบด้วย

    1.       ลิ้น  เป็นอวัยวะที่ช่วยในการคลุกเคล้าอาหาร

    2.       ต่อมน้ำลาย มีอยู่ 3 ที่ด้วยกัน ก็คือ ใต้ลิ้น ใต้ขากรรไกร และ ข้างกกหู(ใหญ่ที่สุด   ถ้าติดไวรัสจะเป็นคางทูม)

    3.     ฟัน ฟันของคนเรามีทั้งหมด 2 ชุด คือ ฟันน้ำนม 20 ซี่ เมื่อฟันน้ำนมหลุด ฟันแท้ก็จะงอกขึ้นมา 32 ซี่

    การย่อยในปาก ( จำ !!! )

    1.       การย่อยเชิงกล : ตอนเคี้ยว

    2.      การย่อยเชิงเคมี : ใช้น้ำย่อยช่วยย่อย สร้างโดย น้ำลาย ซึ่งชื่อว่า เอนไซม์ อะไมเลส,ไทยาลิน ชื่อมันช่างจำยากซะนี่กระไร – - “

    เอนไซม์อะไมเลส จะช่วยย่อย แป้ง -> คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลสั้น (maltose, dextrin) 

     คอหอย จะเป็นอวัยวะในการกลืนอาหาร จากปาก -> หลอดอาหาร (ไม่อยากพูดถึงเวลาสำลักอาหารเลย ToT )

    เมื่อผ่านด่าน ปาก และ คอหอยแล้ว อาหารก็จะตกลงมาที่ หลอดอาหาร จ้า

    -หลอดอาหารของเรายาวเกือบหนึ่งไม้บรรทัดเลยน้า มันมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร O.O

    การย่อยในหลอดอาหาร

    1.       การย่อยเชิงกล : เรียกว่า Peristalsis (การหดตัวเป็นช่วงๆของกล้ามเนื้อ)

    2.      ไม่มีการย่อยเชิงเคมีในหลอดอาหารนะจ้ะ ^^


    อวัยวะถัดไปก็คือ กระเพาะอาหาร มาได้ครึ่งทางแล้ว เย้ๆๆ

    -กระเพาะอาหารของคนเราแบ่งเป็น 3 ตอน คือ

    ตอนต้น ( Cardius ) ตอนกลาง ( Fundus ) และ ตอนปลาย ( Pylorus )

    -มีหูรูด อยู่ 2 แห่ง (เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารออกมานอกกระเพาะอาหาร)

     

    การย่อยในกระเพาะอาหาร

    1.       การย่อยเชิงกล : เช่นเดียวกับหลอดอาหาร ก็คือ กระบวนการ Peristalsis นั่นเอง

    2.      การย่อยเชิงเคมี : ใช้เอนไซม์ช่วยย่อย + กรดเกลือ(HCL)

    Pepsinogen + HCL -> Pepsin : สำหรับย่อย โปรตีน

    Prorenin + HCL -> Renin : ก็ย่อย โปรตีนเหมือนกันค่ะ แต่เป็น โปรตีนใน น้ำนม

    ดังนั้นจำไว้เลยว่า กระเพาะอาหารมีการย่อย  โปรตีน จำไว้ว่า  กระเพาะอาหาร ได้รับพร ที่ ทำให้กวนตีน (สาวๆชอบผู้ชายกวนตีนน้า>///<) พรก็คือ เปซิน และ เนนิน และ กวนตีน ก็คือ โปรตีนนั่นเอง

    -กระเพาะอาหารมีทหารเอกชื่อว่า นาย ด่าง ทำให้มันไม่ถูกกรดเกลือ (HCL) และน้ำย่อยเพปซินทำลาย

     

     

    ลำไส้เล็ก (เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของทางเดินอาหาร)

    -ลำไส้เล็กแบ่งออกเป็น 3 ตอน (เหมือนกระเพาะอาหารเลย) คือ Duodenum (ย่อยมากที่สุด) Jejunum (ดูดซึมมากที่สุด) และ Ileum (ดูดซึมเล็กน้อย แต่ ยาวที่สุด)

    การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก (ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของ Duodenum)

    1.       ในลำไส้เล็กไม่มีการย่อยเชิงกล

    2.     การย่อยเชิงเคมี จะมีอวัยวะที่ช่วยย่อย สองชนิดด้วยกัน ก็คือ ตับ และ ตับอ่อน

    ตับ เนื่องจากเค้ามอุส่ามาช่วย ลำไส้เล็ก ย่อย ก็ขอเอ่ยถึงสรรพคุณหน่อยแล้วกัน

    -ใหญ่ที่สุดในร่างกาย

    -ทำลายสารพิษ

    -สะสมกลูโคส ไกลโคเจน และวิตามิน A B D

    -สร้างน้ำดี

    กลไกการย่อยของตับ

    น้ำดี มีองค์ประกอบคือ เกลือน้ำดี สำหรับ ช่วยให้ไขมัน -> แตกตัวเป็นเม็ดเล็กๆ

    นอกจากน้ำดีจะมีเกลือน้ำดีแล้ว มันยังมี รงตวัตถุน้ำดี ซึ่งเกิดจาก การสลายตัวของฮีโมโกลบินโดยตับ และ คอเลสเตอรอล(ถ้ามีมากเกินอาจจะเกิดการอุดตันในท่อน้ำดีแล้วอาจจะเป็นดีซ่านได้)

    ตับอ่อน ความสามารถพิเศษของมันคือย่อยสารอาหารทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น ไขมัน โปรตีน และ คาร์โบไฮเดรต

    กลไกการย่อยของตับอ่อน

    1.       น้ำย่อยไลเปส -> ย่อยไขมันที่แตกตัวแล้ว(จากตับ) -> กรดไขมัน + กลีเซอรอล

    2.     น้ำย่อยทริปซิน และ คาร์บอกซิเพปทิเดส -> โปรตีน -> กรดอะมิโน

    3.     น้ำย่อยอะไมเลส -> แป้ง -> น้ำตาลมอลโทส

    ลำไส้เล็ก ก็มีน้ำย่อยเหมือนกัน

    1.       ย่อยคาร์โบไฮเดรต

    มอลโทส ->         กลูโคส             +        กลูโคส            โดยน้ำย่อย  มอลเทส

    ซูโครส  ->          กาแล็กโทส             +        กลูโคส           โดยน้ำย่อย  ซูเครส

    แลกโทส->          ฟรุกโทส(ฟรักโทส)  +            กลูโคส     โดยน้ำย่อย  แลกเทส

    ในกรณีนี้ จำง่ายๆว่า น้ำย่อยจะมีเสียง เอส ส่วน สิ่งที่ถูกย่อย จะมีเสียง โอส

     

    หลังจากย่อยแล้วทั้งหมดนี้จะกลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว

    2.     ย่อยโปรตีน

    โปรตีนสายสั้น ->     กรดอะมิโน                             โดยน้ำย่อย อะมิโนเพปทิเดส

     

    -สิ้นสุดการย่อยอาหาร มาต่อกันที่ การดูดซึมอาหารเลยจ้า-

     

    การดูดซึมอาหาร (เป็นหน้าที่ของ Jejunum โดยส่วนใหญ่ และ Ileum เล็กน้อย)

    -ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณยื่นออกมาเป็นปุ่มเล็กๆ ช่วยเพิ่มพื้นผิวในการ ดูดซึมอาหาร เรียก วิลลัส

    ที่จริงแล้วทุกที่ก็มีการดูดซึมอาหาร แต่ว่า ลำไส้เล็กดูดซึมมากที่สุด

    โดย     ปาก คอหอย หลอดอาหาร : ดูดซึมอาหารน้อย

            กระเพาะอาหาร : ดูดซึมแอลกอฮอร์ได้ดี

            ลำไส้เล็ก : มีการดูดซึมอาหารมากที่สุด

     

     

     

    ลำไส้ใหญ่ อาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้วจะมาที่ลำไส้ใหญ่ เป็นอวัยวะที่อาหารกากที่สุดเพราะมีกากอาหาร (มุขหรือเปลือกหอยนะนั่น)

     

     

    -เซลล์บุผนังลำไส้ใหญ่ ดูด แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคสจากกากอาหาร เข้าสู่กระแสเลือด

    -ลำไส้ใหญ่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

    1. ซีกัม: มีไส้ติ่ง (ในคนไม่มีประโยชน์ และอาจจะเป็นโทษ ถ้าไส้ติ่งอักเสบ หรือ แตก)

    2. โคลอน: เป็นส่วนที่ยาวที่สุด (นึกถึงขนมโคลอน มันจะเป็นแท่งยาวๆ)

    3.ไส้ตรง: เป็นส่วนปลายลำไส้ใหญ่ ติดกับทวารหนัก มีกล้ามเนื้อหูรูด 2 อัน ควบคุมการ เปิด และ ปิด ของทวารหนัก

     

    สรุปว่า *อวัยวะที่มีการย่อยเชิงเคมี (สร้างน้ำย่อยในการย่อย) มีทั้งหมด 3 ที่ คือ

    1.ปาก (ย่อยได้ดีในสภาพเป็น เบสอ่อน)

    2.กระเพาะอาหาร (ย่อยได้ดีในสภาพเป็น กรด)

    3.ลำไส้เล็ก (ย่อยได้ดีในสภาพเป็น เบส)

    **อวัยวะที่ไม่มีการย่อยเชิงเคมี อาจมีการย่อยเชิงกลบ้าง (หลอดอาหาร) หรือเป็นทางเดินอาหารเฉยๆ (หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก)

    ***อวัยวะที่ย่อยอาหารแต่ไม่ใช่ทางเดินอาหาร ได้แก่ ตับ และ ตับอ่อน (ช่วยลำไส้เล็กย่อย)


    อ้างอิง หนังสือคู่มือวิทยาศาสตร์ ป6 สอบเข้า ม.1 หัวใจวิทยาศาสตร์ ม.1-2-3 แล้วก็คลิปจากยูทูปที่สอนหลักการจำบางส่วน
    ขอขอบคุณ คุณครูทุกท่าน และ คุณพ่อคุณแม่ น้ะคร้าบบบ

    จบละจ้า บทแรก ... เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย

    //อย่าลืมมาคอมเม้นท์นะจ้า ขอบคุณมากค้า

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×