From mGronline::
การฉีดสเต็มเซลล์เข้าสู่หัวใจ 1.ใช้เครื่องมือแพทย์แทรกเข้าไปในเส้นเลือด 2. ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบตัน 3.แยกต้วอย่างไขสันหลังสร้างเป็นเซลล์ต้นแบบ 4.ฉีดเซลล์ต้นแบบกลับเข้าสู่หัวใจ 5.เซลล์ต้นแบบพัฒนาเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (ภาพจากบีบีซี)
เอเจนซี/บีบีซีนิวส์ แพทย์อังกฤษกำลังเตรียมการทดลองฉีดสเต็มเซลล์ให้แก่ผู้ป่วยที่หัวใจวายไม่เกิน 5 ชั่วโมง หลังมีหลักฐานชี้ว่าสเต็มเซลล์จากไขกระดูกสามารถนำไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกทำลายได้ อีกทั้งยังสามารถป้องกันหัวใจล้มเหลวได้อีกด้วย
การทดลองฉีดสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดแก่ผู้ป่วยหัวใจวายนี้มีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยโรงพยาบาลบาร์ตส์ (Barts Hospital) ในลอนดอน จากการสนับสนุนของมูลนิธิเซลล์ต้นกำเนิดแห่งสหราชอาณาจักร (UK Stem Cell Foundation) ซึ่งจะเริ่มการทดลองหลังช่วงคริสต์มาสโดยใช้อาสาสมัคร 100 คน
โรคหัวใจวายคร่าชีวิตชาวอังกฤษถึง 108,000 คนในแต่ละปี และเชื่อว่ายังมีผู้ที่ต้องประสบกับโรคหัวใจที่ยังมีชีวิตอยู่อีกประมาณ 660,000 ราย
แม้ว่าช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การทำบอลลูนเพื่อรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน (angioplasty) สำหรับผู้ป่วยหัวใจวาย ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตกะทันหันหลังหัวใจวาย กระนั้น ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนระยะยาว เช่น หัวใจล้มเหลวที่จู่โจมอย่างเฉียบพลัน ยังคงสูงมาก
สำหรับการทดลองใหม่จะประกอบด้วยการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันเบื้องต้น และการฉีดสเต็มเซลล์ เพื่อต่อสู้กับปัญหาทั้งหมด
สเต็มเซลล์นั้นเป็นเซลล์อ่อนที่สามารถพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
ศาสตราจารย์จอห์น มาร์ติน (John Martin) ซึ่งช่วยออกแบบการทดลองนี้ กล่าวว่า การนำผู้ป่วยโรคหัวใจไปยังศูนย์ที่สามารถขยายหลอดเลือดหัวใจตีบได้ทันที ช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตและลดความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ
"การศึกษาก่อนหน้าชี้บ่งชี้ว่า การฉีดเซลล์ต้นแบบเข้าสู่หัวใจมีความปลอดภัย และเรากำลังจะศึกษาต่อไปว่า วิธีการดังกล่าวได้ผลกับอาการหัวใจวายรุนแรงหรือไม่ โดยการศึกษาของเราจะรวมเอาวิธีรักษาผู้ป่วยหัวใจวายสองแบบใหม่เข้าด้วยกันเป็นครั้งแรก"
กลุ่มตัวอย่างในการทดลองนี้คือ ผู้ป่วยหัวใจวายที่ถูกนำส่งโรงพยาบาลทรวงอกลอน (London Chest Hospital) และโรงพยาบาลหัวใจ (Heart Hospital) ในลอนดอน เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจ
ภายหลังการทำบอลลูนเพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจตีบตัน แพทย์จะสกัดเซลล์ต้นแบบจากไขสันหลังของผู้ป่วยที่เซ็นเอกสารยินยอมรับการบำบัดด้วยวิธีนี้ และเมื่อเซลล์พร้อมแล้ว แพทย์จะฉีดตัวอย่างเซลล์กลับเข้าไปในหลอดเลือดที่ตีบตัน โดยกระบวนการทั้งหมดนี้ใช้เวลา 5 ชั่วโมงหลังหัวใจวาย
หลังจากนั้น แพทย์จะติดตามอาการคนไข้นานหลายเดือน เพื่อดูว่าการบำบัดด้วยสเต็มเซลล์ช่วยป้องกันหัวใจล้มเหลวและฟื้นฟูกล้ามเนื้อหัวใจที่เสียหายได้หรือไม่
ดร.แอนโธนี มาเธอร์ (Anthony Mathur) ผู้ร่วมทำการทดลองครั้งนี้ เผยว่า ถ้าสามารถแสดงให้เห็นถึงของผู้ป่วยที่ดีขึ้น จะกลายเป็นก้าวสำคัญในการรักษาโรคหัวใจ เพราะการใช้สเต็มเซลล์จากผู้ป่วยลดกระแสต่อต้านทางจริยธรรม และยังลดปัญหาการปฏิเสธทางภูมิคุ้มกัน
ด้านศาสตราจารย์ปีเตอร์ เวสเบิร์ก (Peter Weissberg) ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของมูลนิธิหัวใจแห่งอังกฤษ (British Heart Foundation) แสดงทัศนะว่า การบำบัดด้วยสเต็มเซลล์คือความหวังใหม่สำหรับคนไข้โรคหัวใจ กระนั้น การทดลองนี้ยังเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่ทำให้แพทย์และคนไข้มีความรู้ความเข้าใจโรคนี้มากขึ้น และยังต้องใช้เวลาอีกนานในการค้นหาวิธีรักษาโรคหัวใจที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และในขณะนี้เรื่องเกี่ยวกับสเต็มเซลล์กับการรักษาโรคหัวใจกำลังพัฒนาขึ้นมาก ในประเทศไทยก็มีการค้นคว้าเรื่องนี้กันอยู่เยอะโดยเฉพาะตามศูนย์โรคหัวใจในโรงเรียนแพทย์
ศูนย์หัวใจบางแห่งในบ้านเราก็มีความร่วมมืออยู่กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศทำงานวิจัยโดยใช้สเต็มเซลล์ของคนไข้ที่ป่วยด้วย coronary heart disease (เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตันทำให้มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจบางส่วน) ฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงในขณะทำการผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อทำบายพาส เพื่อหวังว่าสเต็มเซลล์นั้นจะเจริญเติบโตต่อไปเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจทดแทนส่วนที่ตายไปจากการขาดเลือดไปเลี้ยง โดยก่อนวันที่คนไข้จะเข้ารับการผ่าตัดจะต้องมาเตรียมตัวที่ รพ ก่อนเพื่อดูดเอาสเต็มเซลล์ออกมาเพาะเลี้ยงซักระยะ ดังนั้นนี่ก็เป็นข้อดีดังที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความด้านบนว่าเป็นเซลล์ของคนไข้เองดังนั้นเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้านเนื้อเยื่อตัวเองจะมีโอกาสน้อยกว่าการใช้เซลล์ของผู้อื่น และอย่างที่ทราบกันว่าเจ้าสเต็มเซลล์มันมีคุณสมบัติในการเปลี่ยแปลงรูปร่างเพื่อไปทำหน้าที่ต่างๆกันได้หลายชนิด เป้าหมายก็คือต้องการให้สเต็มเซลล์ที่ฉีดเข้าไปนี่ทำหน้าที่เหมือนกับเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
อย่างไรก็ตาม เมื่อยังอยู่ในขั้นทดลองก็พบปัญหาอยู่หลายอย่าง เช่น
1.เจ้าสเต็มเซลล์นั้นมันดันไม่เจริญเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจอย่างที่เราคาดหวัง บางเซลล์อาจมีลักษณะคล้ายกับกล้ามเนื้อเรียบหรือกล้ามเนื้อลาย ซึ่งคุณสมบัติในการทำงานจะแตกต่างจากเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ทำงานไม่ได้
2. เจ้าเสต็มเซลล์ที่ฉีดเข้าไปนั้นเจริญต่อไปกลายเป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายกล้ามเนื้อหัวใจก็จริงแต่ทว่า มันไม่ทำงานได้ไม่เหมือนปกติ มันสามารถหดตัวตามคุณสมบัติที่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจควรจะมีแต่มันดันหดตัวไม่เป็นจังหวะ ไม่พร้อมเพรียงกับเซลล์อื่นๆที่มีอยู่เดิม ทำให้หัวใจเราเต้นไม่เป็นจังหวะ (arrythmia)
3. เนื่องจากว่าเป็นเซลล์ที่ฉีดเข้าไปใหม่ เป็นสเต็มเซลล์ที่มีความสามารถในการแบ่งตัวและเติบโต บางครั้งบางคราวมันโตมากเกินไป มันแบ่งตัวมากเกินไปโดยที่ร่างกายเราไม่สามารถควบคุมได้ก็กลายเป็นเนื้องอกในหัวใจ
ยังคงมีปัญหาอื่นๆอยู่อีกมากมายเช่นปัญหาเรื่องจริยธรรมในการทำวิจัยในคน (ทำให้บางประเทศไม่สามารถทำการทดลองในประเทศตัวเองได้ เลยมาทำที่เมืองไทยนี่ไง)
เครดิต
http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=26189#top
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น