จังหวัดที่อยู่เหนือสุด |
จังหวัดเชียงราย |
จังหวัดที่อยู่ใต้สุด |
จังหวัดนราธิวาส |
จังหวัดที่มีพื้นที่น้อยที่สุด |
จังหวัดสมุทรสงคราม (มีพื้นที่ 399 ตร.กม.) |
จังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุด |
จังหวัดเชียงใหม่ (มีพื้นที่ 22,993 ตร.กม.) |
จังหวัดที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด |
จังหวัดระนอง |
จังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด |
จังหวัดกรุงเทพมหานคร |
จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับเขตจังหวัดอื่นๆมากที่สุด |
จังหวัดตาก มีเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นๆ 9 จังหวัด |
จังหวัดทางภาคใต้ของไทย ที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลเลย |
จังหวัดยะลา,พัทลุง |
ยอดเขาที่สูงที่สุด |
ยอดดอยอินทนนท์ สูง 2,580 เมตร จากระดับน้ำทะเล |
ภูเขาสำคัญทางภาคเหนือ |
มี 5 เทือกเขาสำคัญคือ แดนลาว,เพชรบูรณ์,ตะนาวศรี,ผีปันน้ำ,ขุนตาล |
ภูเขาที่ใหญ่ที่สุดทางภาคใต้ |
เทือกเขานครศรีธรรมราช |
เกาะที่ใหญ่ที่สุดของไทย |
เกาะภูเก็ต กว้าง 20 กม. ยาว 45 กม. |
เกาะที่เป็นท่าเรือสำคัญของไทย |
เกาะสีชัง |
ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุด |
ทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 15 ตร.กม. |
หนองน้ำที่ใหญ่ที่สุด |
หนองหาร อยู่ที่จังหวัด สกลนคร |
แม่น้ำที่ยาวที่สุด |
แม่น้ำเจ้าพระยา รวมกับแม่น้ำปิง (หนึ่งในต้นกำเนิดแม่น้ำเจ้าพระยา) มีความยาวรวม 850 กม.(เจ้าพระยา 300 กม.,แม่น้ำปิง 550 กม.) |
แม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลที่ |
จังหวัดสมุทรปราการ |
คลองที่ยาวที่สุด |
คลองแสนแสบ ยาว 65 กม. |
แหล่งเพาะพันธุ์ปลาที่ใหญ่ที่สุด |
บึงบรเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ |
น้ำตกที่สูงที่สุด |
น้ำตกสิริภูมิ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
ถนนสายแรกในประเทศไทย |
ถนนเจริญกรุง สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 |
ถนนสายที่ยาวที่สุด |
ถนนเพชรเกษม จากกรุงเทพมหานคร ถึง จ.นราธิวาส ยาว1,473 กม. |
ทางรถไฟสายแรกของไทย |
ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปากน้ำ |
ทางรถไฟสายที่ยาวที่สุด |
ทางรถไฟสายใต้ ยาวประมาณ 1,114 กม. |
อุโมงค์ที่ยาวที่สุด |
อุโมงค์ขุนตาล หรือ ถ้ำขุนตาล ที่ จ.ลำปาง |
สะพานที่ยาวที่สุดของไทย |
สะพานติณสูลานนท์ จ.สงขลา ข้ามมาจากบ้านเขาเขียวไปเกาะยอ และจากเกาะยอไปบ้านน้ำกระจาย มีความยาว 2,640เมตร |
วนอุทยานแห่งชาติที่อยู่สูงที่สุด |
ภูกระดึง จ.เลย |
ตึกที่สูงที่สุดของไทย |
ตึกธนาคารกรุงเทพจำกัด สำนักงานใหญ่ ถ.สีลม กทม. สูงถึง 33 ชั้น แต่ปลายปี 2529 นี้ตึกใบหยกทาวเวอร์(กำลังก่อสร้าง)ซึ่งอยู่หลังดรงแรมอินทราประตูน้ำ กทม.จะเป็นตึกที่สูงที่สุด เนื่องจากมีความสูงถึง 41 ชั้น |
ส่วนที่แคบที่สุดของไทย |
บริเวณ คอคอดกระ จ.ประจวบคีรีขันธ์ กว้างประมาณ 10กม. |
จังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุด |
จ.ระนอง |
จังหวัดที่ปลูกชากันมาก |
จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ |
จังหวัดที่ปลูกอ้อยมากที่สุด |
จ.กาญจนบุรี |
จังหวัดที่ผลิตเกลือได้มากที่สุด |
จ.สมุทรสาคร |
จังหวัดที่ปลูกพริกไทยมากที่สุด |
จ.จันทบุรี |
มะพร้าวมีมากที่สุดที่ |
เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี |
ส้มโอลือชื่อของไทยปลูกที่ |
อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม |
ดีบุกขุดได้มากที่สุดที่ |
จ.ภูเก็ต |
จังหวัดที่ปลูกเงาะมากที่สุด |
จ.จันทบุรี |
เงาะโรงเรียนที่มีชื่อปลูกที่ |
จ.สุราษฎร์ธานี |
โรงงานน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ |
อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี |
โรงงานอุตสาหกรรมแป้งมัน ทำมากที่สุดที่ |
จ.ชลบุรี |
หวายของไทยมีมากที่สุดที่ |
จ.ชุมพร |
จังหวัดที่มีแร่วุลแฟลมมากที่สุด |
จ.กาญจนบุรี |
นกนางแอ่น มีมากที่สุดที่ |
จ.ชุมพร |
หินอ่อนในประเทศไทยมีมากที่ |
จ.สระบุรี |
ภาคใดของประเทศไทยมีการเลี้ยงไหมมากที่สุด |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ภาคใดของประเทศไทยมีการเลี้ยงไหมมากที่สุด |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ถ่านหินมีมากที่ |
จ.ลำปาง และ จ.กระบี่ |
ส้มเขียวหวาน ที่นิยมกันว่ามีรสชาดดีอยู่ที่ |
อ.บางมด กรุงเทพมหานคร |
ทองคำมีมากที่ |
อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์,อ.โต๊ะโมะ จ.ยะลา และ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี |
จังหวัดทางภาคใต้ของไทยที่มีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่มาก |
จ.ปัตตานี,จ.ยะลา,จ.นราธิวาส และ จ.สตูล |
ปลาที่ชาวประมงจับได้มากที่สุด |
ปลาทู |
ปลาที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขง |
ปลาบึก |
กษัตริย์ไทยพระองค์แรก |
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ |
นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย |
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา |
สมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของเมืองไทย(กรุงรัตนโกสินทร์) |
สมเด็จพระสังฆราชศรี วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี |
ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทย |
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของไทย |
นางอรพินท์ ไชยกาล |
อธิบดีหญิงคนแรกของไทย |
คุณหญิงอัมพร มีศุข อธิบดีกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ |
จอมพลคนแรกของเมืองไทย |
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช |
นักดาราศาสตร์คนแรกของไทย |
รัชกาลที่ 4 (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) |
นางสาวไทยคนแรก |
นางสาวกันยา เทียนสว่าง |
นักมวยไทยคนแรกที่ได้ครองตำแหน่งแชมป์โลก |
นายโผน กิ่งเพชร |
นักพากย์ภาพยนตร์คนแรกของไทย |
นายสิน สีบุญเรือง (ทิดเขียว) |
นักเขียนการ์ตูนคนแรกของไทย |
ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) |
ผู้คิดประดิษฐ์อักษรไทยเป็นคนแรก |
พ่อขุนรามคำแหง |
ผู้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นคนแรก |
ร้อยโท เจมส์ โลว์ |
ผู้เริ่มใช้กระแสไฟฟ้าคนแรกของไทย |
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เติม แสงชูโต) |
ผู้เปิดเดินรถเมล์ในกรุงเทพมหานครเป็นคนแรก |
พระยาเศรษฐภักดี |
ผู้ประดิษฐ์สามล้อขึ้นใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก |
นายเลื่อน พงษ์โสภณ |
ผู้ให้กำเนิดลูกเสือไทยเป็นคนแรก |
รัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) |
ผู้ริเริ่มแท็กซี่ขึ้นในเมืองไทย |
พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เมื่อปี พ.ศ.2466 |
ผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า "สวัสดี" |
พระยาอุปกิตศิลปสาร |
ผู้ให้กำเนิดเพลงชาติ |
พระเจนดุริยางค์ (บรรเลงครั้งแรกโดย วงดุริยางค์ทหารเรือ) |
ผู้ให้กำเนิดเพลงสรรเสริญพระบารมี |
กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) |
ผู้แต่งเพลงกราวกีฬา |
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี |
ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย" |
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ |
ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งการแพทย์ไทย" |
สมเด็จพระราชบิดากรมหลวงสงขลานคริทร์ |
ฝาแฝดคู่แรกของไทย |
ฝาแฝด อิน-จัน เกิดเมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2434 ที่ จ.สมุทรสงคราม |
ผู้ที่ริเริ่มใช้ รศ.(รัตนโกสินทร์ศก) |
รัชกาลที่5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) |
ร.ศ.1 ตรงกับปี พ.ศ.ใด |
พ.ศ.2331 |
เรือกลไฟลำแรกของไทย |
เรือสยามอรสุมพล (เป็นเรือที่รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้พระยาศรีสุริยวงศ์ ต่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2398) |
โรงพยาบาลแห่งแรกของไทย |
โรงพยาบาลศิริราช |
มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
โรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย |
โรงเรียนอนุบาลที่โรงเลี้ยงเด็ก ซึ่งพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระอัครชายาในรัชกาลที่5 เป็นผู้ให้กำเนิด |
ธนาคารเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย |
แบงก์ สยามกัมมาจล |
โรงภาพยนตร์โรงแรกใน กทม.ที่ฉายภาพยนตร์จอซีนีมาสโคป |
โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมไทย |
โรงแรมแห่งแรกของไทย |
โรงแรมโอเรียนเต็ล |
โรงพิมพ์แห่งแรกของไทย |
โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ ตั้งอยู่ที่สำเหร่ ธนบุรี |
บทประพันธ์ที่ทำการขายลิขสิทธิ์กันในครั้งแรกในประเทศไทย |
เรื่อง นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย ขายลิขสิทธิ์ให้กับหมอบรัดเลย์ |
แบบเรียนเล่มแรกของคนไทย |
หนังสือจินดามณี ที่พระโหราธิบดี เป็นผู้แต่ง |
หนังสือไทยเล่มแรก |
หนังสือไตรภูมิพระร่วง |
หนังสือพิมพ์ข่าวฉบับแรกของเมืองไทย |
หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอดเดอร์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ.2387 |
ปฎิทินฉบับภาษาไทย จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ |
ปี พ.ศ.2385 |
วิทยุ โทรทัศน์ มีขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ |
ปี พ.ศ.2497(สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม) |
สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย |
สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม (ปัจจุบันคือ อสมท.ช่อง9) |
โรงเรียน "หลวง" สำหรับราษฎรแห่งแรก คือ |
โรงเรียน วัดมหรรณพาราม |
สภากาชาด ตั้งขึ้นเมื่อไหร่ |
ตั้งขึ้นในรัชกาลที่6 เดิมชื่อ สภาอุณาโลมแดง |
เจดีย์ที่เก่าแก่ และใหญ่ที่สุด |
พระปฐมเจดีย์ ที่ จ.นครปฐม |
พระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย |
พระปรางค์ที่วัดอรุณราชวราราม(วัดแจ้ง ธนบุรี) |
พระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดของไทย |
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประดิษฐานที่วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม.(หนัก 5 ตัน) |
พระพุทธไสยาสน์ ที่ยาวที่สุด |
พระพุทธไสยาสน์ ที่วัดพระนอน จ.สิงห์บุรี |
พระพุทธรูปยืนที่สูงที่สุด |
พระพุทธรูปยืนที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ |
พระนอนที่ยาวที่สุด |
พระนอนที่วัดขุนอินทรประมูล จ.อ่างทอง |
พระพุทธรูปนั่งที่ใหญ่ที่สุด |
พระพุทธโคดม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี |
วัดที่มีระฆังใบใหญ่ที่สุด |
วัดกัลยากรณ์ กรุงเทพมหานคร |
วัดที่ไม่มีพระจำพรรษาเลย |
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
จังหวัดที่เคยมีรถรางเดินประจำนอกจากกรุงเทพฯแล้วคือ |
จ.ลพบุรี |
วัดไทยที่สร้างเลียนแบบวัดฝรั่ง |
วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ บางปะอิน จ.อยุธยา (รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น) |
กระทรวงต่างๆมีขึ้นในรัชกาลใด |
รัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) |
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อใด |
ปี พ.ศ.2475 ในรัชกาลที่ 7 |
ประเทศไทยเริ่มใช้ธงไตรรงค์เมื่อ |
ปี พ.ศ.2460 |
ประเทศไทยเริ่มนับเอาวันที่ 1 เดือนมกราคมเป็นวันปีใหม่เมื่อ |
ปี พ.ศ.2483 |
ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติเมื่อ |
วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2489 |
ประเทศไทย เปลี่ยนจากเดิมเรียกว่า "ประเทศสยาม" มาเป็น "ประเทศไทย" เมื่อ |
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2492 |
ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยนั้น ตรงกับรัชกาลใดของไทย |
รัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) |
ประเทศไทยเลิกใช้เงินพดด้วงแล้วเริ่มใช้เหรียญกษาปณ์เมื่อใด |
ในสมัยรัชกาลที่ 4 |
กระทรวงการคลัง เริ่มออกพันธบัตรใช้ตั้งแต่รัชกาลใด |
รัชกาลที่ 5 |
คนไทยเริ่มใช้นามสกุลเมื่อใด |
ในสมัยรัชกาลที่ 5 |
การประปาเริ่มมีขึ้นในรัชกาลใด |
ในสมัยรัชกาลที่ 5 |
สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เปิดสัญจร ไป-มา เมื่อใด |
วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475 |
พระราชวังสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีคือ |
พระราชวังเดิม อยู่ระหว่างวัดอรุณราชวราราม กับวัดโมฬีโลกยาราม |
เขาพระวิหาร เดิมตั้งอยู่ที่ไหนก่อนถูกเขมรฟ้องร้องกลับคืนไป |
เดิมตั้งอยู่ที่ อ.กันทราลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ |
เครื่องหมายตราประจำชาติไทย |
ตราครุฑ |
ประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เริ่มมีครั้งแรกในสมัยใด |
สมัยกรุงศรีอยุธยา |
ประเทศไทยเริ่มใช้แสตมป์เมื่อใด |
ปี พ.ศ.2474 |
ผู้ที่เปลี่ยนชื่อ "ทุ่งพระเมรุ" เป็น "ท้องสนามหลวง" คือ |
รัชกาลที่ 5 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) |
คิงส์มงกุฎ หมายถึง |
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
เจ้าของนามปากกา "น.ม.ส." คือ |
รัชนี แจ่มจรัส |
คำว่า พระปรมินทร์ และ พระปรเมนทร์ มีที่ใช้ต่างกันอย่างไร |
พระปรมินทร์ ใช้กับ ลำดับรัชกาลที่เป็นเลขคี่ พระปรเมนทร์ ใช้กับ ลำดับรัชกาลที่เป็นเลขคู่ |
กฎมณเฑียรบาล คือ |
กฎหมายพิเศษที่กล่าวถึง พระราชฐาน และพระราชวงศ์ |
ใครเป็นผู้ประพันธ์ บทเห่เรือ ที่ใช้เห่เรือกระบวนหลวงในปัจจุบัน |
เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์(เจ้าฟ้ากุ้ง) |
กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเมื่อใด |
ปี พ.ศ.2325 |
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สร้างขึ้นในรัชสมัยใด |
รัชกาลที่ 1 (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) |
สถาบันที่จัดทำสารานุกรมไทย และพจนานุกรมไทยคือ |
ราชบัณฑิตยสถาน |
นายกรัฐมนตรีไทยคนใดที่ตกเป็นจำเลย "อาชญากรสงครามโลกครั้งที่2 |
จอมพล ป.พิบูลสงคราม |
นายกรัฐมนตรีที่เป็นทนายต่อศาลโลก กรณีเขมรฟ้องร้องขอกรรมสิทธิ์เขาพระวิหารคือ |
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช |
หัวหน้าขบวนการเสรีไทย นอกประเทศระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 |
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช |
กบฎแมนฮัตตัน เกิดขึ้นในรัฐบาลใด |
รัฐบาลสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เกิดขึ้นในวันที่มีพิธีรับมอบเรือแมนฮัตตัน จากสหรัฐอเมริกา ที่ท่าราชวรดิษฐ์ |
"อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ"สร้างขึ้นเพื่อ |
เป็นอนุสรณ์รำลึกถึงวันที่ทหารและพลเรือนเสียชีวิตในสงครามอินโดจีน ปี พ.ศ.2484 |
"วงเวียน 22 กรกฎาคม" สร้างขึ้นเพื่อ |
เป็นอนุสรณ์เนื่องในวันที่ประเทศไทย ประกาศสงครามเข้าร่วมกับพันธมิตร รบกับเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่1 |
ปืนใหญ่สมัยโบราณ ที่ตั้งรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมีจำนวนเท่าไร |
75 กระบอก |
นพรัตน์ หรือแก้วเก้าประการ ประกอบด้วย |
เพชร,ทับทิม,มรกต,บุษราคัม,โกเมน,นิล,มุกดาหาร,เพทาย,ไพฑูรย์ |
ต้นไม้ที่คนไทยโบราณเชื่อว่า ปลูกไว้ในบ้านแล้วจะเป็นมงคล |
ต้นมะยม เพราะ จะทำให้คนนิยม |
|
ต้นขนุน เพราะ จะทำให้ผู้สนับสนุน |
|
ต้นมะขาม เพราะ จะทำให้ผู้คนเกรงขาม |
|
ต้นพุทธรักษา เพราะ ปลูกแล้วพุทธานุภาพจะคุ้มครองบ้านนั้น |
ต้นไม้ที่คนไทยโบราณไม่นิยมปลูกไว้ในบ้าน |
ต้นลั่นทม เพราะ ชื่อต้นไม้ไปพ้องคำว่า ระทม
|
|
ต้นมะไฟ เพราะ มีคำว่ามะไฟ จะทำให้เดือดร้อนเหมือนไฟ |
|
ต้นพุทรา เพราะ เสียงออกเป็นซา ซึ่งหมายถึงความร่วงโรย |
ความคิดเห็น