ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    -การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์-

    ลำดับตอนที่ #10 : หลักฐานทางประวัติศาสตร์

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.1K
      1
      2 พ.ย. 55




    หลักฐานทางประวัติศาสตร์จำแนกตามความสำคัญของหลักฐาน
    หลักฐานชั้นต้น(Primary sources) ได้แก่ หลักฐานที่บันทึกไว้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือรู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง เช่น บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ

    หลักชั้นฐานรอง(Secondary sources) ซึ่งได้แก่บันทึกของผู้ที่ได้รับทราบเหตุการณ์จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่นมาอีกต่อหนึ่ง หนังสือประวัติศาสตร์ที่มีผู้เขียนขึ้นภายหลัง โดยอาศัยการศึกษาจากหลักฐานชั้นต้น  ก็ยังถือว่าเป็นหลักฐานรองอยู่นั่นเอง ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น

    จำแนกตามลักษณะของหลักฐาน

    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีอยู่หลายลักษณะ อาจแบ่งลักษณะสำคัญของหลักฐานออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

    1. หลักฐานที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร ได้แก่

      โบราณสถาน หมายถึง สิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ขนาดต่างๆกัน
    อยู่ติดกับพื้นดินไม่อาจนำเคลื่อนที่ไปได้ เช่น กำแพงเมือง คูเมือง วัง วัด ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในวัด และ วัง เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ และที่อยู่อาศัย 
      การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณสถาน จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ตั้งของโบราณสถานนั้นๆ

    โบราณวัตถุ หมายถึง สิ่งของโบราณที่มีลักษณะต่างๆกัน
    สามารถนำติดตัว
     เคลื่อนย้ายได้ ไม่ว่าสิ่งของนั้นๆจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น หรือ เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถานและสิ่งของที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเหล่านี้เกิดขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์
    เช่น พระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่างๆ เครื่องประดับ และเครื่องมือเครื่องใช้             

     การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณวัตถุ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ทางประวัติศาสตร์เสมอไป และสามารถไปศึกษาได้จากแหล่งรวบรวมของราชการ เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


    2 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ 
                 จารึก ในแง่ของภาษาแล้วมีคำอยู่ 2 คำที่คล้ายคลึงและเกี่ยวกับข้องกัน คือ คำว่า จาร และจารึก 
                    คำว่า จาร แปลว่า เขียนอักษรด้วยเหล็กแหลมลงบนใบลาน 
                    คำว่า จารึก แปลว่า เขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นศิลาหรือโลหะ

                                    ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คำว่า จารึก หมายรวมถึง หลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งใช้วิธีเขียนเป็นรอยลึก

                    ถ้าเขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นหิน เรียกว่า ศิลาจารึก เช่น ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง

                    ถ้าเขียนลงบนวัสดุอื่นๆ เช่น แผ่นอิฐ    เรียกว่า จารึกบนแผ่นอิฐ

                                                                         แผ่นดีบุก เรียกว่า จารึกบนแผ่นดีบุก

                                                                         และ การจารึกบนใบลาน

                    นอกจากนี้ยังมีการจารึกไว้บนปูชนียสถานและปูชนียวัตถุต่างๆ โดยเรียกไปตาม

    ลักษณะของจารึกปูชนียวัตถุสถานนั้นๆ

    2.2) เอกสารพื้นเมือง เอกสารพื้นเมืองนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สำคัญของประเทศไทย
                    มักปรากฏในรูปหนังสือสมุดไทย และเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป
    เช่น ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ ดังมีรายละเอียด ดังนี้

         2.1) ตำนาน เป็นเรื่องที่เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณจนหาจุดกำเนิดไม่ได้ แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นคนเล่าเรื่องราวเป็นคนแรก สิ่งที่พอจะรู้ได้ก็คือ มีการเล่าเรื่องสืบต่อกันมาเป็นเวลานานพอสมควร จนกระทั่งมีผู้รู้หนังสือได้จดจำและบันทึกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาจึงมีการคัดลอกตำนานเหล่านั้นเป็นทอดๆไปหลายครั้งหลายครา 
    ทำให้เกิดมีข้อความคลาดเคลื่อนไปเรื่อยๆ
                    ดังนั้น
     เรื่องที่ปรากฏอยู่ในตำนานจึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเรื่องเดิม 
    เนื้อเรื่องของตำนานส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง
    หรือชุมชนสมัยดั้งเดิมเกี่ยวกับปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ หรือเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลสำคัญ เช่น พระมหากษัตริย์ วีรบุรุษ

     

     2.3)พงศาวดาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี
    พระราชดำรัสให้ความหมายของพงศาวดาร ว่าหมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินซึ่งสืบสันติวงศ์ลงมาถึงเวลาที่เขียนนั้น แต่ต่อมามีการกำหนดความหมาย
    ของพงศาวดารให้กว้างออกไปอีกว่า หมายถึง การบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับอาณาจักรและกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักร
               

    2.4)จดหมายเหตุ 

      ในสมัยโบราณ จดหมายเหตุ หมายถึง การจดบันทึกข่าวคราวหรือเหตุการณ์เรื่องหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นในวัน เดือน ปีนั้นๆ แต่ ในปัจจุบันนี้ ความหมายของคำว่า จดหมายเหตุได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หมายถึง เอกสารทางราชการทั้งหมด เมื่อถึงสิ้นปีจะต้องนำชิ้นที่ไม่ใช้แล้ว
    ไปรวบรวมเก็บรักษาไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ  มีคุณค่าด้านการค้นคว้าอ้างอิงและเอกสารเหล่านี้ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 25-50 ปีไปแล้วจึงเรียกว่า จดหมายเหตุ
    หรือบรรณสาร  

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×