ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โรงเรียน Sardonyx School

    ลำดับตอนที่ #68 : สถาปัตยกรรม (สถาปัตยกรรมไทย)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.35K
      1
      3 พ.ย. 50



    สถาปัตยกรรมไทย
    (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

     สถาปัตยกรรมไทย หมายถึงศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยม

    สามารถจัดหมวดหมู่ ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ
    -สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนักวัง และพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก และ เรือนเครื่องสับ
    ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ ใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์

    -สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา
    ได้แก่ โบสถ์,วิหาร,กุฎิ,หอไตร,หอระฆังและหอกลอง,สถูป ,เจดีย์


     


    ประวัติสถาปัตยกรรมไทย
       สถาปัตยกรรมไทย มีมานานตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นเวลาร่วม 4000 ปี บรรพบุรุษไทยได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ โดยเพิ่มเติมใส่เอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไป ซึ่งนับเป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย

    สามารถแบ่งยุคได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
    สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์ และ สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์


    สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์
     สถาปัตยกรรมยุคศรีวิชัยสามารถแบ่งได้เป็นยุคๆ ได้ดังนี้

    ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16)
    ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18)
    ยุคลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 18)
    ยุคเชียงแสน (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 23)
    ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
    ยุคอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17 -20)
    ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20 - 23)

    ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16)
       จะปรากฏอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย แถบจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี ราชบุรี และ ยังกระจายไปอยู่ทุกภาคประปราย เช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกและ ใต้ สถาปัตยกรรมแบบทวาราวดีมักก่ออิฐและใช้สอดิน เช่น วัดพระเมรุ และเจดีย์จุลปะโทน จังหวัดนครปฐม บางแห่งมีการใช้ศิลาแลงบ้าง เช่นก่อสร้างบริเวณฐานสถูป การก่อสร้างเจดีย์ในสมัยทวาราวดีทีพบทั้งเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ มียอดแหลมอยู่ด้านบน


    ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18)
       พบในภาคใต้ ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยไม่ทราบแน่ชัด ในประเทศไทยจะพบร่องรอยการ สร้างสถูปตามเมืองสำคัญ เช่น เมืองครหิ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมืองตามพรลิงก์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย คือการสร้างสถูปทรงมณฑปให้มีฐานและเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนยอดเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม ส่วนฐานปากระฆังสร้างเป็นชึ้นลดหลั่นกันไป มีเจดีย์ประดับมุมและซุ้มบันแถลงในแต่ละทิศ ตัวอย่างเช่น พระบรมธาตุไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี


    ยุคลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 18)
       พบบริเวณ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรูปแบบคล้ายศิลปะขอม เช่น เทวาลัย ปราสาท พระปรางค์ ต่างๆ นิยมใช้อิฐ หินทรายและศิลาแลง โดยใช้อิฐและหินทรายสำหรับสร้างเรือนปราสาทและใช้ศิลาแลง สร้างส่วนฐาน ต่อมาก็สร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง สถาปัตยกรรมที่ยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่เช่น ปรางค์วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย และ พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี


    ยุคเชียงแสน (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 23)
       พบในภาคเหนือ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่สร้างเพื่อเป็นศาสนสถาน อาณาจักรเชียงแสนได้รับเอา ศิลปวัฒนธรรมมาจากดินแดงแห่งอื่นเข้าผสมผสาน ทั้งศิลปะสุโขทัย ศิลปะทวาราวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะพม่า


    ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
       ศิลปะสุโขทัยเริ่มต้นราว พ.ศ. 1780 เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนากรุงสุโขทัย เอกลักษณ์ ของสถาปัตยกรรมสุโขทัย จะออกแบบให้ก่อเกิดความศรัทธาด้วยการสร้างรูปทรงอาคารในเชิง สัญลักษณ์ เช่น การออกแบบเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือ เจดีย์ทรงกลม และปั้นรูปช้างล้อมรอบฐานเจดีย์

    เจดีย์แบบสุโขทัยแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ
    เจดีย์แบบสุโขทัยแท้ หรือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
    เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา
    เจดีย์แบบศรีวิชัย

    ยุคอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ 17 -20)
       เป็นศิลปะที่เกิดจากการรวมกันของศิลปะทวาราวดี และอารยธรรมขอม ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมอู่ทองเช่น พระปรางค์องค์ใหญ่ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี


    ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20 - 23)
       วิหารพระมงคลบพิตร อยุธยาเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในยุคนี้ คือการออกแบบให้แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ร่ำรวย สถาปัตยกรรมจึงมีขนาดและรูปร่างสูงใหญ่ ตกแต่งด้วยการแกะสลักปิดทอง โบสถ์วิหารในกรุงศรีอยุธยาไม่นิยมสร้างให้มีชายคายื่นออกมาจากหัวเสามากนัก ส่วนใหญ่มีบัวหัวเสาเป็นรูปบัวตูม และนิยมเจาะผนังอาคารให้เป็นลูกกรงเล็กๆแทนช่องหน้าต่าง ลักษณะเด่นของการก่อสร้างโบสถ์วิหารอีกอย่างคือ การปล่อยแสงให้สาดเข้ามาในอาคารมากขึ้น โดยจะออกแบบให้แสงเข้ามาทางด้านหน้าและฉายลงยังพระประธาน

       สมัยอยุธยาตอนปลาย รูปแบบสถาปัตยกรรมถือว่าอยู่ในจุดสูงสุด คือเป็นสถาปัตยกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทุกประการ และมีความงดงามอ่อนช้อยตามลักษณะแบบไทยๆ แต่การพัฒนาทางสถาปัตยกรรมต้องหยุดลงหลังกรุงศรีอยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 นับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทั้งด้านการปกครอง ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ฯลฯ


    สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
       สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรงศรีอยุธยาแห่งที่สอง กล่าวคือได้มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญ โดยเลียนแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยารวมไปถึงสถาปัตยกรรมประเภท

       บ้านพักอาศัย เรือนไทยบางเรือนที่ยังคงเหลือจากการทำศึกสงครามกับพม่าก็ถูกถอดจากกรุงศรีอยุธยามาประกอบที่กรุงเทพมหานคร

       กรุงเทพมหานครกลายเป็นมหานครศูนย์กลางแห่งหนึ่งที่รวบรวมเอาผู้คนหลายหลายชาติวัฒนธรรมเข้ามารวมอยู่ด้วยกันไม่ว่าจะเป็น แขก (อินเดีย) ฝรั่ง (ชาติตะวันตก) และ จีน ที่มีการซึมซับวัฒนธรรมอื่นมาทีละน้อย หลักฐานในยุคนั้นไม่ปรากฏเท่าไร เนื่องจากผุพังไปตามสภาพกาลเวลา แต่จะเห็นได้จากภาพตามจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น รวมถึงรูปแบบบ้านพักอาศัยซึ่งมีตึกปูนแบบจีนอยู่ค่อนข้างมาก

       ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นยุคทองแห่งศิลปะจีน มีการใช้การก่ออิฐถือปูนและใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับหน้าบันแทนแบบเดิม

       สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้นดังเช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศิลปะแบบกอธิค

       ต่อมาในยุคที่มีการล่าอาณานิคม พระมหากษัตริย์ของเราก็ทรงพระปรีชาสามารถเลือกหนทาง การประนีประนอม ไม่ให้เสียเอกราชไปโดยที่เราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเป็นอยู่ของตัวเอง สถาปัตยกรรมไทยในสมัยนั้นจึงมีหน้าตาเป็นแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก บ้านเรือนเปลี่ยนรูปแบบเป็นตึกก่ออิฐถือปูน มีการวางผังแบบสากลและตายตัว ไม่ใช้ Open Plan แบบเก่า มีการกั้นห้องเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รับแขก รับประทานอาหาร นั่งเล่น เป็นต้น

    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้แบ่งประเภท ของบ้านเรือนในกรุงเทพตามแบบวัฒนธรรมออกเป็น 3 แบบ คือ

    แบบเดิม คือ แบบเรือนของผู้มีฐานะ (ระดับ)เดียวกัน เคยทำมาอย่างไรก็ทำมาอย่างนั้น มิได้คิดเปลี่ยนแปลงยกตัวอย่างเช่น วังเจ้าบ้านนายขุน
    แบบผสม คือ เอาตึกฝรั่งหรือเก๋งจีนมาสร้างแทรกเข้าบ้าง เข้าใจว่าเกิดขึ้นในรัชการที่ 4 และต่อมาจนต้นรัชกาลที่ 5 ดังตัวอย่างที่มีเก๋ง และ การแก้ไขตำหนักที่วังท่าพระ เป็นต้น
    เปลี่ยนเป็นอย่างใหม่ คือ เลิกสร้างเรือนแบบไทยเดิม และตึกฝรั่ง เก๋งจีน คิดทำเป็นตึกฝรั่งทีเดียว เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5
    อย่างไรก็ตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมในสมัยนั้นก็คงเอกลักษณ์ไทยเอาไว้บ้าง เช่นการนำหน้า ตาสถาปัตยกรรมไทยเข้ามาใส่ด้านหน้าของตึก ไม่ว่าจะเป็น ลายฉลุไม้ หลังคา ทรงจั่ว


     



    *Power of hope* 

    Siaralind Mineral

     

    __________

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×