ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องดีๆมีสาระ

    ลำดับตอนที่ #2 : กลัวมั้ย? มะเร็งเต้านม

    • อัปเดตล่าสุด 11 ต.ค. 50




             ปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าสถานการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมจะดีขึ้นทั้งทางด้านการแพทย์ การรักษา การผ่าตัด การตรวจพบด้วยตัวเองได้ตั้งแต่ในระยะแรก ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมมีอัตราการเสียชีวิตน้อยลงก็ตาม แต่ก็ใช่ว่าโรคดังกล่าวจะหมดสิ้นไป
    เพราะกลับพบว่าอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมกลับสูงขึ้นจากเดิมถึงเท่าตัวโดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นด้วย..

    อะไรคือสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้หญิงเป็นโรคชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น และเราจะมีวิธียับยั้งหรือป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ นี่คือความรู้ 7 ประการ ที่สาวๆ ควรรู้ไว้เพื่อหาทางป้องกันก่อนสายเกินแก้

     น้ำหนักตัวขึ้นสูง
    ผู้ที่มีปัญหา "โรคอ้วน" หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มักจะมีความเสี่ยงกับการเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูง
    โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป หากมีน้ำหนักตัวสูงถึง 20-30 ปอนด์ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูงถึง 40% แต่ถ้ามีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นไม่เกิน 5 ปอนด์ โอกาสเสี่ยงแทบจะไม่มีเลย และเฉพาะช่วงหลังหมดประจำเดือนไปแล้วจะสามารถเพิ่มความเสี่ยงได้ถึง 1.5-2.0 เท่าเลยทีเดียว

     ระดับการออกกำลังกาย
    สาวๆ ที่ไม่ค่อยมีกิจกรรม เอาแต่กินและนอน หรือไม่ค่อยได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    มีความเสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้มากกว่าสาวไฮเปอร์ที่อยู่เฉยไม่ได้ และรักการเสียเหงื่อเป็นชีวิตจิตใจ  สาวชอบออกกำลังกายเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านมลดลงถึง 20-30%
    การออกกำลังกายเพียงแค่อาทิตย์ละ 3-4 ชั่วโมง จะช่วยควบคุมฮอร์โมนเอสโตรเจนให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยลดการสร้างเนื้อเยื่อบริเวณทรวงอก และช่วยปรับระดับอินซูลินให้อยู่ในภาวะปกติ
    เพราะอินซูลินถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเซลมะเร็งในทรวงอกได้

     แอลกอฮอล์
    สาวนักดื่มที่นิยมจิบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาทิตย์ละหลายๆ แก้ว จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม เพราะแอลกอฮอล์จะเข้าไปเพิ่มปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนให้สูงขึ้น ซึ่งระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูงขึ้น หนทางแก้ไขสำหรับสาวนักดื่มอาจจะต้องลดปริมาณแอลกอฮอล์ลดเหลือแค่วันละแก้วน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

     วิตามินดี
    มีหลักฐานทางการแพทย์จำนวนมากมายที่ระบุว่า
    วิตามินดีมีผลต่อการป้องกันโรคมะเร็ง รวมทั้งมะเร็งเต้านมด้วย ยกตัวอย่าง การวิจัยของผู้หญิงที่ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอในแต่ละวัน จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่เต้านมลดลง ส่วนผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินดี 400 IU ขึ้นไปในแต่ละวัน

     ยาเม็ดคุมกำเนิด
    สถาบันทางการแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้กษาวิจัยและพบว่าการกินยาเม็ดคุมกำเนิด
    หรือการใช้ฮอร์โมนในเพศหญิงติดต่อกันเป็นเวลานาน 10 ปีขึ้นไป หรือใช้ยาตั้งแต่อายุยังน้อย อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ ทางที่ดีก่อนจะตัดสินใจคุมกำเนิดควรปรึกษาแแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินารีเวชถึงวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับเราที่สุดจะดีกว่า

     ความหนาแน่นของเนื้อเยื่อทรวงอก
    ผู้หญิงที่มีเต้านมเต่งตึงกว่าอายุ เช่น หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และมีความหนาแน่นของเต้านมมากกว่าร้อยละ 75 จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ หรือการกลายพันธุ์ของยีน เช่น การเกิดการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 สามารถทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
    และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

     ป้องกันด้วยการกินยาต้านฮอร์โมน
    ในปี 1998 มีผู้หญิงที่อาสาเข้าทำการทดสอบด้วยการกินยาต่อต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนในเวลา 5 ปี หลังจากนั้นได้ทำการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งและพบว่าอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมลดลงถึง 49% ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เข้าทำการทดสอบ ทางครอบครัวเคยมีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน รวมทั้งผู้ป่วยที่เคยเป้นมะเร็งเต้านมก็มีอัตราเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นใหม่สูงกว่าคนปกติด้วย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×