เผยภาพ “กรดหมุนวน” บนดาวศุกร์ - เผยภาพ “กรดหมุนวน” บนดาวศุกร์ นิยาย เผยภาพ “กรดหมุนวน” บนดาวศุกร์ : Dek-D.com - Writer

    เผยภาพ “กรดหมุนวน” บนดาวศุกร์

    โดย Tanuki_kung

    เผยภาพ กรดหมุนวน บนดาวศุกร์

    ผู้เข้าชมรวม

    277

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    277

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  28 พ.ค. 49 / 16:46 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      เผยภาพ “กรดหมุนวน” บนดาวศุกร์
      โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 เมษายน 2549 02:19 น.
      คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
      ภาพถ่ายขั้วใต้ของดาวศุกร์ที่ถูกเปลี่ยนสีให้เห็นลักษณะการหมุนวนของกรดซัลฟิวริก

      ภาพถ่ายขั้วใต้ดาวศุกร์โดย "วีนัส เอ็กซ์เพรส" ที่ระยะห่าง 124,000 ไมล์ ซ่งจะเห็นหมุนวนของกลุ่มเมฆกรดซัลฟิวริก

             เอพี - นักวิทยาศาสตร์ยุโรปเผยภาพขั้วใต้ของดาวศุกร์ ซึ่งเป็นภาพมวลมหาศาลของกรดซัลฟิวริกที่หมุนวนด้วยความเร็ว 220 ไมล์ต่อชั่วโมง คาดเป็นอีกหนที่จะได้ศึกษาปรากฏการณ์ภูเขาไฟ
             
             องค์การอวกาศยุโรปหรืออีซา (European Space Agency : ESA) ได้เผยภาพถ่ายขั้วใต้ของดาวศุกร์ ซึ่งเป็นภาพของกลุ่มเมฆที่โอบล้อมดาวศุกร์ไว้เป็นลักษณะหมุนวน คล้ายคลึงกับลักษณะที่เกิดขึ้นในขั้วเหนือ ภาพดังกล่าวบันทึกโดยยานสำรวจ “วีนัส เอ็กซ์เพรส”(Venus Express) หลังจากเข้าโคจรรอบดาวศุกร์เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งบันทึกภาพที่ระยะห่าง 124,000 ไมล์หรือประมาณ 199,500 กิโลเมตรจากดาวศุกร์
             
             “เราจะเห็นลักษณะกลุ่มเมฆหมุนวนที่นั่นซึ่งคล้ายกับลักษณะที่เราเคยเห็นที่ขั้วเหนือ” ฮอร์ท อูเว่ เคลเลอร์ (Horst Uwe Keller) หัวหน้าทีมในการควบคุมกล้องมุมกว้างของยานสำรวจซึ่งเป็นอุปกรณ์ 1 ใน 7 ของยานสำรวจดาวศุกร์ “วีนัส เอ็กซ์เพรส” ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศที่ฐานปล่อยจรวดของรัสเซียในเมืองไบโคนัวร์ (Baikonur) ประเทศคาซัสถาน ด้วยจรวดโซยุซเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 48
             
             การใช้เทคโนโลยีอินฟราเรดช่วยให้กล้องมองเห็นภาพของกลุ่มเมฆได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะสามารถประเมินได้ว่าลักษณะห่อหุ้มดาวเคราะห์ดวงนี้ของกรดซัลฟิวริกนั้นเกิดขึ้นอย่างไร และกำหนดตำแหน่งซึ่งเป็นสาเหตุของความเร็วลมที่ทำให้เกิดกลุ่มเมฆที่หมุนวนขนาดใหญ่
             
             ทั้งนี้หน่วยควบคุมของอีซาในเมืองดาร์มสตัดต์ ประเทศเยอรมนี ยังทำให้มั่นใจได้ว่าเครื่องมือทั้งหมดของยานสำรวจจะถูกยึดไว้ได้โดยแรงโน้มถ่วงของดาวศุกร์ อีกทั้งใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้านักวิทยาศาสตร์จะทดสอบเครื่องมือของยานสำรวจ รวมถึงวางแผนเพื่อช่วยให้นักวิจัยเข้าใจชั้นบรรยากาศและสภาพอากาศของดาวเคราะห์เพื่อนบ้านได้ดียิ่งขึ้น โดยตั้งใจจะให้เครื่องมือทั้งหมดทำงานอย่างเต็มรูปแบบภาพในช่วงมิถุนายนนี้
             
             “ผมคิดว่าคำถามที่จะตามมาทันทีเพื่อค้นหาการเคลื่อนตัวของชั้นบรรยากาศคือทำไมกลุ่มเมฆต้องหมุนไปในทิศทางอย่างที่เราเห็น? แล้วทำไมถึงเร็วนัก?” เคลเลอร์กล่าว นอกจากนี้เขากล่าวว่านักวิทยาศาสตร์ยังคาดหวังว่าการโคจรของยานสำรวจในช่วงหลายเดือนนี้ จะทำให้พวกเขาได้รับรายละเอียดและภาพของดาวศุกร์ที่ระยะห่างประมาณ 155 ไมล์หรือประมาณ กิโลเมตรมากขึ้น
             
             ปฏิบัติการมูลค่า 260 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 9,900 ล้านบาทมีเป้าหมายที่จะศึกษาปรากฏการณ์เรือนกระจกในดาวเคราะห์ซึ่งชั้นบรรยากาศมีอุณหภูมิสูงและอากาศหนาแน่นสูง แล้วยังคาดหวังว่าจะช่วยในการศึกษาสาเหตุของการเกิดภูเขาไฟใน 500 ล้านปีที่ผ่านมาและยังคงเกิดขึ้นในทุกวันนี้ โดยวางแผนที่จะปฏิบัติการ 500 วันและมีความเป็นไปได้ว่าขยายระยะเวลาไปได้อีก 500 วัน

      http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000049890

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×