ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    12 Month In JaPanee ตะลุยญี่ปุ่นกัน

    ลำดับตอนที่ #3 : Feruary------------เดือนแห่งหิมะและความหนาวเย็น

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 371
      1
      2 ต.ค. 52

    Feruary  

    にがつ(นิกัตซึ)

    คิซารางิ(Kisaragi) หมายถึง สวมเสื้อทับหลายๆชั้น(ความหมายมันแปลกๆเนอะ-*-)

     

     วันที่3 เซทสึบุน(Setsubun) วันแบ่งฤดู ในปฏิทินจันทรคติถือว่าวันนี้เป็นวันแบ่งฤดูหนาวกับฤดูใบไม้ผลิออกจากกัน ในวันนี้จะมีประเพณี มาเมมาคิ (แปลว่าการโปรยถั่ว) เพื่อขับไล่ภูติผีปีศาจออกไปและต้อนรับฤดูใบไม้ผลิตามวัดพุทธและวัดชินโต โทชิโอโตโกะและโทชิอนนะ (คือผู้หญิง/ชายที่เกิดตรงกับปีนั้นๆ) จะทำพิธีมาเมมาคิตอนกลางคืนตามบ้านจะโปรยถั่วและพูดว่าโอนิวะโซโตะ ฟุกุวะอุจิ (แปลว่าเอาทุกข์ออกไปเอาสุขเข้ามา) และกินถั่วเท่าอายุร่างกายจะแข็งแรง

        วันที่4 ริชชุน(Risshun) วันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิอากาศยังคงหนาวอยู่แต่ดอกบ๊วยและดอกจุ๊ยเซียนหรือดอกแดฟโฟดิลจะเริ่มบานและส่งกลิ่นหอม หลังจากกลางเดือนจะมี ฮารึอิจิบัง (ลมจากทิศใต้ที่บ่งบอกว่าฤดูใบไม้ผลิมาถึงแล้ว)

        วันที่11 เคงโคคุคิเนมบิ(Kenkokukinenbi) วันสถาปนาประเทศ

     

    เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่หนาวที่สุดในรอบปี สถานที่ที่น่าไปที่สุดในช่วงนี้คือเกาะฮอกไกโดและแถบฝั่งทะเลของญี่ปุ่นจะมีหิมะตกหนัก ในแต่ละพื้นที่จึงจัดให้มีเทศกาล ยูคิมัทสึริ(Yukimatsuri) แต่เทศกาลนี้เป็นเอกลักษณ์ของเมือง ซัปโปโระ มักมีการประดิษฐ์แบบจำลองพวกรูปปั้นหรือสิ่งก่อสร้างจากหิมะ(O.Oอยากเห็นจัง)ในเทศกาลนี้จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเยอะมาก แต่ในช่วงกลางเดือนความกดอากาศต่ำลงแม้ในกรุงโตเกียวหิมะก็อาจจะตกแต่ตกเพียงเล็กน้อย ผู้คนในโตเกียวจึงไม่คุ้นเคยกับหิมะเท่าไร(=^= หิมะตกก็ดีแล้ว อยากยืนท่ามกลางหิมะบ้างอ่ะ)เมื่อหิมะทับถมมักมีปัญหาเรื่องจราจรและอุบัติเหตุ นอกจากนี้สกีเป็นกีฬาที่นิยมสำหรับหนุ่มสาวในปัจจุบัน เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนแห่งการสอบที่ญี่ปุ่นจะมีการสอบเข้ามหาลัย ซึ่งการสอบทุกระดับมีการแข่งขันสูงมากชาวญี่ปุ่นบางคนถึงกับน้ำลายฟูมปากเลยทีเดียว(ช่างเปรียบเทียบจริงๆเลยเราเนี้ย-มันโรคจิต-*-)จึงเรียกว่า จุเคนจิโงคุ(แปลว่านรกของการสอบ)นรกจริง~o~

    แผนที่ถูมิอากาศในฤดูหนาว

         ลักษณะอากาศโดยทั่วไปของฤดูหนาวตามแผนที่ภูมิอากาศนี้จะสังเกตได้ว่าจะมีความกดอากาศสูงปกคลุมเหนือทวีปเอเชียไปทางทิศตะวันตกและความกดอากาศต่ำทางทิศตะวันออกของญี่ปุ่นบริเวณที่เป็นทะเลลักษณะความกดอากาศเช่นนี้ทำให้พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นปกคลุมไปด้วยหิมะส่วนบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกมีแดดจ้าและอากาศแห้ง

    หิมะตกในโตเกียว

         ผู้คนในเมืองโตเกียวไม่คุ้นกับหิมะและไม่ได้เตรียมตัวรับหิมะดังนั้นในเช้าของวันที่หิมะตกทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะเจอเรื่องยากลำบากในการเดินทางเพราะหิมะจะทำให้หกล้มบ้าง

    การกวาดหิมะลงจากหลังคา

         ในแถบชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นและที่ฮอกไกโด เป็นเขตซึ่งมีหิมะตกหนักและทับถมกันเป็นเวลาแรมเดือน แม้หลังคาบ้านจะสร้างให้มีทรงแหลมเพื่อป้องกันการทับถมของหิมะแต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นไปกวาดหิมะลงมาจากหลังคาไม่งั้นอาจจะทับถมกันจนหลังคาทรุดลงมา(อนาถ-*-)

    คามากูระ

         คามากูระเป็นสิ่งที่เด็กๆในเมืองหนาวชอบเล่นกัน เทศกาลคามากูระที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่ เทศกาลซึ่งจัดให้มีขึ้นในที่โยโกเตะ(Yokote) จังหวัดอาคิตะ(Akita) ในวันที่ 15 และ 16 เดือนกุมภาพันธ์ คามากูระจะมีลักษณะคล้ายบ้านหิมะ จะถูกสร้างไว้ริมถนนโดยมีแท่นบูชาเทพเจ้าแห่งน้ำอยู่ภายใน ในคืนวันที่ 15 เด็กๆจะมาชุมนุมกันที่คามากูระและจุดเทียน รับประทานโอโมจิ

    เทศกาลหิมะ

        เทศกาลหิมะที่เมืองซัปโปโระบนเกาะฮอกไกโดจัดขึ้นเป็นเวลา1 สัปดาห์เป็นประจำทุกปีในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่กลางใจเมืองมีรูปปั้นหิมะขนาดใหญ่กว่า 200 ชิ้นเรียงกันบางชิ้นมีขนาดถึง    15 เมตร นอกจากเมืองซัปโปโระแล้วยังมีอีก 2 ที่คือซูซูกิโนะเป็นรูปปั้นน้ำแข็งส่วนอีกแห่งคือมาโกมาไนซึ่งจะมีรูปปั้นขนาดใหญ่กว่ารูปปั้นและสิ่งจำลองมากมายที่ทำด้วยหิมะ ที่สวนโอโดริ ในเมืองซัปโปโระจะจุดไฟสว่างไสวในกลางคืน

    ประเพณีโปรยถั่ว

         ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ตามวัดพุทธและวัดชินโตใหญ่ๆผู้คนจำนวนมากจะไปเฝ้าดูประเพณีการโปรยถั่ว ซึ่งผู้โปรยเป็นชายหรือหญิงที่เกิดตรงกับปีนั้นๆ สำหรับตามบ้านทั่วไปพ่อแม่ลูกมักโปรยถั่วกันในห้องนั่งเล่นและโปรยออกทางประตูบ้าน พร้อมพูดว่าโอนิวะโซโตะ ฟุกุวะอุจิ (Oni wa soto,fuku wa uchi แปลว่าเอาทุกข์ออกไปเอาสุขเข้ามา)

    ปีเกิด

         แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องปีเกิดเรื่องจิกคัน(Jikkan) และจูนนิชิ (Junishi) หรือเรียกอีกอย่างว่าคันชิเป็นแนวคิดที่สืบทอดมาจากจีนในสมัยศตวรรษที่ 6 และใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำปีของปฏิทินญี่ปุ่นเรื่อยมา เช่นปี 1992 เป็นปีวอก จิกคันและจูนนิชิ (สัญลักษณ์สัตว์ ทั้ง 12 ชนิดเหมือนของไทยแหละ^^) ผสมผสานกันเป็นรอบอายุรวม 60 ปีคนมักจะพูดกันว่าฉันเกิดปีวอก หรือพูดถึงปีที่เค้าเกิด ทุกๆ 12 ปีจะถือเป็น 1 รอบ เมื่อปีเกิดของเราเวียนมาถึงจะได้โปรยถั่วเมื่อครบ 5 รอบ (ราว60ปี) ก็จะมีการฉลองยิ่งใหญ่ เรียกว่า คันเรคิ(จะกล่าวในเดือนกันยายน อดใจกันก่อนน่ะ>_<)

    การสอบเข้ามหาวิทยาลัย

         คนญี่ปุ่นจะมีการเรียนพิเศษอย่างโอเว่อร์มาก คือเลิกเรียนธรรมดาปุ๊บก็ไปเรียนพิเศษปั๊บเลยทำ นองนี้เพราะการจบปริญญาจากมหาวิทยาลัยที่ดีเป็นการเบิกทางอนาคตที่ดี โดยปกติผู้ที่จะสมัครเข้ามัธยมปลายมักจะสมัครไว้ 2-3 โรงเรียนแต่ผู้ที่ต้องการเข้ามหาวิทยาลัยจะสมัครสอบไว้เผื่อราว 10 แห่ง ทุกๆปีจะมีคนจบชั้นมัธยมปลายราว 1 ล้านคนเข้าสอบคัดเลือกมหาวิทยาลัยระบบ 4 ปีหรือมหาวิทยาลัยระบบ 2 ปี จากสถิตติในปี 1991 พบว่าราว 64% สอบเข้าได้ส่วนที่เหลือพวกนั้นจะไปโรงเรียนกวดวิชาที่เรียกว่าโยบิโคหรือจุกุเป็นเวลาอีก 1 ปีและสอบเรียนใหม่ในปีถัดไปเราเรียกคนเหล่านี้ว่า โรนิน (คำเก่าหมายถึงซามูไรที่ไร้สำนึก)โห O_o โห ถ้าสอบไม่ผ่านกดดันตายเลยถึงว่าเค้าถึงเสียใจฆ่าตัวตายกัน ทุกๆปีจะมีโรนินราว 3 แสนคน

    ไฮคุ

         อาจจะกล่าวได้ว่าไฮคุเป็นกลอนที่สั้นที่สุดในโลกประกอบด้วยข้อความ 3วรรคคือ 5 พยางค์ 7พยางค์ ในภาษาญี่ปุ่น 5-7-5 เป็นจังหวะที่ให้ความรู้สึกที่ดีจะสาธิตให้ดูน่ะ

    อุเมะอิอจริน        (6 พยางค์) โอ้เจ้าดอกบ๊วยเอย

    อิจิริน โฮโดโนะ  (7พยางค์)  แต่ละดอกของเจ้านั้นหนา

    อาตาตากาสะ       (5 พยางค์) พาให้อบอุ่นกระไร

    แต่งโดย รันเซทสึ ฮัตโตริ เป็นที่นิยมของผู้คนมาตั้งแต่สมัยเอโดะ

     

     โปรดติดตามเดือนต่อไปด้วย
    ฮิๆอ่านแล้วบางครั้งก็อยากลองอยู่ในญี่ปุ่นดูเนอะ
    แต่ไม่มีตังค์-*-
    ข้าวของคงแพงน่าดู

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×