ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    12 Month In JaPanee ตะลุยญี่ปุ่นกัน

    ลำดับตอนที่ #11 : ตุลาคม--------------เดือนแห่งความยุติธรรม

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 389
      1
      16 ม.ค. 53

    October

    じゅうがつ(จยูกัตซึ)

         

          เดือนตุลาคมในปฏิทินจันทรคติถือว่า เทพเจ้าทั้งหลายในญี่ปุ่นจะมาชุมนุมกันที่อิซุโมะในจังหวัดชิมาเนะ (Shimane) เพื่อตัดสินเลือกคู่ให้กับมนุษย์ ทำให้ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดอยู่ในศาลเจ้าตามท้องถิ่น ผู้คนจึงเรียกเดือนตุลาคมนี้ว่า คันนะซึกิ (Kannazuki) ซึ่งหมายถึงเดือนไร้เทพ แต่ที่ อึซึโมะ (Izumo) จะเรียกเดือนนี้ว่า คามิอาริซึกิ (Kamiarizuki ) หมายถึงเดือนแห่งเทพ

          ช่วงปลายเดือนจะมีการจัดงานแข่งม้าในฤดูใบไม้ร่วงชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระจักรพรรดิ การแข่งขันเบสบอลอาชีพของญี่ปุ่นและงานแข่งกีฬาแข่งชาติ

          เดือนตุลาคมเป็นเดือนที่มีการแต่งงานมากที่สุด แต่งในวันมงคลเช่น วันไทอันจะมีพิธีแต่งงานตามโรงแรม สถานที่จัดงานแต่งงาน วัดชินโต โบสถ์ในศาสนาคริสต์แทบไม่ว่างเว้นเลยทีเดียว รูปแบบของพิธีแต่งงานนั้นแทบจะไม่เกี่ยวกบศาสนาเลย หลังจากเข้าพิธีแต่งงานแล้วจะมีการจัดงานเลี้ยงฉลอง ปัจจุบันไม่เพียงแต่เจ้าสาวเท่านั้นที่เปลี่ยนจากชุดเข้าพิธีแต่งงานมาเป็นชุดสำหรับเข้างานเลี้ยงเจ้าบ่าวก็ด้วยเช่นกัน นับวันพิธีแต่งงานก็เริ่มหวือหวามากขึ้นทุกปี

    วันที่ 1 โคโระโมะงาเอะ (Koromogea) วันเปลี่ยนเครื่องแต่งกายตามฤดูกาล สำหรับวันนี้เป็นต้นไปจะมีการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายสำหรับฤดูร้อนเป็นเครื่องแต่งกายสำหรับฤดูหนาว และตั้งแต่วันที่ 1 จะมีการเรี่ยไรเงินเพื่อการกุศลโดยจัดจำหน่ายขนนกสีแดงที่เรียกว่า อาไค ฮาเนะ เคียวโด โยะคิน บรรดาอาสาสมัครและนักเรียน นักศึกษา จะยืนรอรับเงินบริจาคตามสถานีรถไฟ เมื่อผู้บริจาคใส่เงินลงกล่องก็จะติดขนนกสีแดงให้ที่ปกเสื้อ

    วันที่ 10 ไทอิคุโนะฮิ (Taiikunohi) วันกีฬาเพื่อสุขภาพ ครั้งหนึ่งเคยมีการจัดงานโตเกียวโอลิมปิกขึ้น เมื่อวันที่ 10 ตุลา ค.ศ.1964 และเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้นจึงกำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันที่สนุกสนานของการเล่นกีฬา โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนทั่วไป กลุ่มสมาคม และบริษัทต่างๆจะจัดการแข่งขันกีฬาขึ้นมา

        เดือนตุลาคมเป็นช่วงที่อากาศดีไม่ร้อนไม่หนามากจนเกินไป ฤดูใบไม้ร่วงอากาศจะสดชื่นแจ่มใสอยู่ตลอด เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการท่องเที่ยว ครอบครัวจะพากันไปเที่ยวชมไร่เก็บผลสาลี่ แอปเปิลบนหุบเขาและทุ่งนา พืชพันธุ์จะออกผล เด็กนักเรียนจะพากันไปเก็บลูกเกาลัด ขุดหัวมัน ตามร้านค้าจะมีผักผลไม้มากมายเช่น เห็ด สาลี่ เกาลัด และลูกพลับวางขาย ข้าวสารก็เริ่มวางตลาดและฤดูที่ปลาซาบะ ซาดีนและซัมมะมีรสอร่อยด้วย

     

    พิธีแต่งงาน

        พิธีแต่งงานของญี่ปุ่นปัจจุบันนี้เป็นการผสมผสานของประเพณีที่มีมาแต่สมัยมุโรมาจิ (1336-1573) กับวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตก ชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนให้ความสำคัญกับการต้อนรับแขกซึ่งใช้เวลาถึง 3วัน3คืนมากกว่าพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งนี้เพื่อเป็นการประกาศการแต่งงานและเพื่อแนะนำเจ้าบ่าวเจ้าสาวให้คนในสังคมได้รู้จัก การจัดงานเลี้ยงแบบสมัยใหม่มักจะจัดขึ้นเพื่อโชว์ความหรูหรา สร้างบรรยากาศด้วยดอกไม้และเสียงเพลง หลังจากที่แม่สื่อแนะนำคู่บ่าวสาวแล้วก็จะตามมาด้วยการตัดเค้กหรือจุดเทียนซึ่งเป็นจุดสำคัญของงานเลี้ยง คู่บ่าวสาวจะต้องเดินไปรอบๆงานเพื่อจุดเทียนที่โต๊ะของแขกเป็นการต้อนรับ หลังจากนั้นเจ้าสาวจะเปลี่ยนชุดมารับแขกอีก 1 หรือ 2 ครั้งเจ้าบ่าวก็เปลี่ยนด้วยในปัจจุบัน แต่ในอดีตจะไม่มีเช่นนี้

    รูปแบบของพิธีแต่งงาน

    แบบชินโต 47.6%       

    ตามประเพณีแล้วจะมีการกำหนดจำนวนญาติที่จะเข้าร่วมงานในพิธีงานแต่งงานแบบชินโตพระจะสวดมนต์ให้กับคู่บ่าวสาวและแขกรับเชิญ คู่บ่าวสาวจะทำพิธี จิบสาเกจากถ้วย 3 ใบ ใบละ 3 ครั้ง ซึ่งเรียกว่า ซัน ซัน คุ โดะ (san-sanku-do) จากนั้นทั้งสองจะถวายกิ่งไม้ศักดิ์สิทธิ์แก่เทพเจ้าเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับคู่บ่าวสาว

    แบบศาสนาคริสต์ 46.8%

    ผู้ที่เลือกแต่งงานแบบคริสต์มีจำนวนเพิ่มขึ้นในปัจจุบันและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ แม้ว่าคู่บ่าวสาวจะไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์โดยตรง ความหมายของพิธีแต่งงานได้เปลี่ยนจากการแต่งงานที่เป็นการรับรู้ภายในครอบครัวของตนเองมาเป็นงานเลี้ยงทำให้หนุ่มสาวหันมานิยมการแต่งงานในโบสถ์ที่ใครก็เข้าร่วมได้

    แบบศาสนาพุทธ 1.8%

    พระจะสวดมนต์และมอบลูกประคำหอมแก่คู่บ่าวสาวสีขาวสำหรับเจ้าบ่าว สีแดงสำหรับเจ้าสาว คู่บ่าวสาวจะจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป เจ้าสาวดื่มเหล้าสาเก 2 ครั้งเพื่อเป็นการปฏิญาณ เจ้าบ่าวดื่ม 1 ครั้งหลังจากนั้นญาติจะดื่มตาม

    ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการจัดงานแต่งงาน

    -พิธีหมั้น 794,000 เยน

    -พิธีแต่งงานและงานเลี้ยง 3.593,000 เยน

    -การไปฮันนีมูน 873,000 เยน

    -การเตรียมเพื่อเริ่มต้นชีวิตครอบครัว 2,682,000 เยน

    รวมทั้งสิ้น 7,942,000 เยน

    (ที่มา ธนาคารซันวา 1998)อาจจะเก่าไปหน่อยนะ-*- ปัจจุบันคงเยอะกว่านี้มากอ่ะ

    งานแข่งกีฬาของโรงเรียน

          งานแข่งกีฬาของโรงเรียนจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ เพื่อให้คุณพ่อสามารถไปร่วมงานได้ วันนี้ถือได้ว่าเป็นงานครอบครัวสำหรับผู้ที่มีลูกอยู่ในชั้นประถม ไม่เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่เท่านั้น ปู่ย่าตายาย พี่และน้อง ต่างพากันสนุกสนานไปกับการเฝ้าชมการแข่งขัน อีทั้งยังต้องเป็นตากล้องจำเป็นบันทึกภาพลูกอีกด้วย^O^

    ปฏิทินแบบ 6 วัน

        ในเดือนหนึ่งจะถูกแบ่งเป็น 5 โรคุโย หนึ่งโรคุโย เท่ากับ 6 วัน ตามประเพณีเดิมแต่ละวันจะมีการแจ้งชื่อเรียกตามระบบปฏิทินจันทรคติ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีการแจ้งวันดังกล่าวไว้ด้วย

         ปฏิทิน โรคุโย (rokuyo) เริ่มเป็นที่นิยมใช่ในปลายสมัยเอโดะ ปฏิทินแบบนี้ปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์และใช้ในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่แม้กระนั้นผู้คนก็ยังคงใช้เป็นธรรมเนียมการปฏิบัติในชีวิตประจำวันจนกระทั่งปัจจุบัน เช่น ในการเลือกฤกษ์งามยามดีเพื่อทำพิธีเปิดร้านหรือสร้างบ้านใหม่ แบ่งเป็นดังรูป

    ------------------------------------------------ปฏิทิน

    การรณรงค์หารายได้ช่วยเหลือสังคมด้วยการติดขนนกสีแดงที่อกเสื้อ

         ในปี 1921 มีการจัดตั้งกลุ่มรณรงค์หารายได้ช่วยเหลือสังคมด้วยขนนกสีแดงเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น การหาทุนนี้เป็นการรณรงค์เพื่อจัดหาทุนโดยกลุ่มอาสาสมัครเป็นเวลา 3 เดือนเริ่มในเดือนตุลาคม การหาทุนครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้กฎหมายสวัสดิการทางสังคมในปี 1951 การรณรงค์หาทุนตามที่สาธารณะ โดยรวมแล้วมิได้ช่วยให้เงินมากมายนักเมื่อเปรียบเทียบกับเงินทุนที่หาได้ทั้งหมด แต่ได้ผลในการสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจในหมู่สาธารณะชน อาสาสมัครกิตติมศักดิ์จะยืนรับบริจาคในวันที่ 1 ตุลาของทุกๆปีมีคน 2 ล้านคนที่เข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร

    ขนนกสีแดง

    --------------------------------------

        ในยุโรปขนนกสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของความถูกต้องและความกล้าหาญตั้งแต่สมัยโรบินฮูดในปี 1928 เมืองนิวออลีนส์ ในอเมริกาได้เริ่มใช้ขนนกสีแดงสำหรับกลุ่ม Community Chest และในปี 1948 ญี่ปุ่นก็ได้ปฏิบัติตามและขนนกสีแดงกลายเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ร่วง

         

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×