คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #13 : December -----------------สิ้นสุดปีแต่ย่างเข้าฤดูหนาว
December
じゅうにがつ (จยูนิกัตซึป)
ตัวอักษรคันจิในคำว่า ชิวาซึ (Shiwasu) มีความหมายว่า พระกำลังวิ่ง ซึ่งเป็นการบอกให้ทราบว่าผู้คนจะมีงานยุ่งกันมากเพียงใดในช่วงสิ้นปีนี้
เดือนธันวาคมเป็นเดือนส่งท้ายปีเรียกว่า ชิวาซึ ช่วงปลายปีโบนัสจะออกชาวญี่ปุ่นจะส่ง โอเซเบะของขวัญปลายปี ไปให้แก่ผู้ที่ช่วยเหลือให้ความเมตตาตนเองมาตลอด 1 ปีเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ เช่นเดียวกับเทศกาล โอชูเง็น ในฤดูร้อน ช่วงเทศกาล ช่วงเทศกาลโอเซโบะ คริสต์มาสและวันขึ้นปีใหม่นี้ตามห้างสรรพสินค้าและร้านค้าจะเนืองแน่นไปด้วยผู้ตน
ที่ทำการไปรษณีย์จะเปิดบริการพิเศษเพื่อรับบัตรอวยพรปีใหม่ โดยจ้างคนจำนวนมากมาทำงานพิเศษส่งบัตรอวยพรปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม
ราววันที่ 21 โทจิ (Toji) วันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลที่สุดจากเส้นศูนย์สูตรของโลกในฤดูหนาว ในวันนี้ชาวญี่ปุ่นจะกินฟักทองและอาบน้ำร้อนต้มด้วยผลยุซึ (Yuzu) เชื่อกันว่าป้องกันโรคหวัดและต้านทานความหนาวในฤดูหนาวได้ ในช่วงนี้โรคเรียนจะปิดภาคฤดูหนาว
วันที่ 23 เทนโนทันโจบิ (Tennotanjobi) วันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระจักรพรรดิ และเป็นวันหยุดราชการ
วันที่ 25 วันคริสต์มาส ไม่ถือว่าเป็นวันหยุดราชการอย่างไรก็ตาม ชาวญี่ปุ่นทั่วไปแม้แต่คนที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ก็จะฉลองคริสต์มาสกัน เทศกาลคริสต์มาสนี้จะฉลองกันอย่างเอิกเกริกด้วยการร้องเพลงจิงเกิลเบลและประดับประดาบ้านด้วยต้นคริสต์มาส และเปลี่ยนของขวัญและกินเค้กและเลี้ยงส่งท้ายปีเก่าอีกด้วย
วันที่ 28 โกะโยโอซาเมะ (Goyoosame) วันทำงานวันสุดท้ายของราชการ เป็นวันหยุดสุดท้ายในรอบปี สถานที่ราชการและบริษัทจะเริ่มหยุดเพื่อส่งท้ายปีเก่า ตามสถานีรถไฟและสนามบินจะเนืองแน่นไปดวยผู้คนที่กลับบ้านเพื่อไปหาญาติในวันปีใหม่ บ้างก็จะไปเที่ยวต่างประเทศและไปเล่นสกี
วันที่ 31 โอมิโซกะ (Omisoka) วันส่งท้ายปีเก่าผู้คนจะต้อนรับปีด้วยการรับประทานบะหมี่โทชิโคชิโซบะ ตอนกลางคืนฟังเสียงระฆังโจยะโนะคาเนะจากวัดที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศซึ่งถ่ายทอดทางโทรทัศน์และวิทยุ
ชิวาซึ
คำว่า ชิวาซึ มาจากตัวอักษรคันจิที่แปลว่า พระ กับ วิ่ง ความหมายของคำนี้มาจากพระเพณีในสมัยก่อนที่พระจะต้องไปสวดมนต์อวยพรให้แก่ศาสนิกชน ในช่วงสิ้นปีพระจึงยุ่งกับการที่ต้องวิ่งไปที่โน่นที่นี้ ปัจจุบันนี้ใช้คำว่า จูนิงัทซึ แปลว่าเดือน 12 แทนคำว่า ชิวาซึ
การลดราคาปลายปี
การลดราคาปลายปีจะมีขึ้นทุกแห่ง เช่น ในชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ดีพาร์ตเม้นท์สโตร์และซูเปอร์มาเก็ต การขายของที่มีการจับฉลากก็จะดึงดูดลูกค้าที่ชอบการสะสมฉลากและการชิงโชค รางวัลอาจจะเป็นตั๋วเครื่องบินไปเกาะฮาวายหรือฮ่องกงไม่ก็เป็นรถเก๋งเป็นต้น(หรูอ่ะ >O<)
โบเนงไค
คำนี้แปลตามตัวอักษรว่า งานเลี้ยงเพื่อการลืมปีที่ผ่านมาซึ่งมาจากอักษรคันจิที่มีความหมายว่า ลืม,ปีและงานชุมนุม เป็นงานเลี้ยงพักผ่อนเพื่อลืมเรื่องไม่ดีในปีที่ผ่านมาโดยจะดื่มกินกันเวลา 2-3 ชั่วโมงหรืออาจจะร้องคาราโอเกะ
ไปรษณีย์อวยพรปีใหม่
การส่งบัตรอวยพรปีใหม่ให้แก่กันและกันเป็นประเพณีที่สำคัญของญี่ปุ่นคนญี่ปุ่นจะเตรียมการส่งไปรษณีย์ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนตามที่ทำการไปรษณีย์จะจำหน่ายบัตรอวยพรปีใหม่ที่มีรางวัลชิงโชคซึ่งมี 2 ชนิดคือบัตรอวยพรที่บริจาคเงิน 3 เยนต่อ 1 แผ่น กับบัตรอวยพรทั่วไปที่ไม่ต้องบริจาคเงิน เงินที่ได้จะนำไปช่วยงานกุศลต่างๆบัตรอวยพรทุกใบจะมีเลขชิงรางวัลกำกับข้างใต้
วันที่ 15 มากราคมของทุกปีจะมีการจับฉลากและประกาศชื่อผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลทางวิทยุ โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ ผู้โชคดีจะนำบัตรอวยพรไปรับรางวัลตามที่ทำไปรษณีย์ใกล้บ้าน บัตรอวยพรที่มีการชิงโชคเริ่มต้นเมื่อค.ศ. 1949
โมจิซึคิ
โมจิซึคิ คือ การตำโมจิเป็นการนำแป้งข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆไปตีนวดหลายๆ ครั้งด้วยไม้ตีในถังไม้การทำโมจิเป็นประเพณีตอนสิ้นปีของญี่ปุ่นสมัยก่อนครอบครัวทุกครอบครัวจะทำโมจิกินเอง แต่ในปัจจุบันจะเครื่องเครื่องทำโมจิสำเร็จรูปหรือไม่ก็หาซื้อตามท้องตลาด การตำโมจิเป็นประเพณีที่สนุกสนานและยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบัน
โอคาซาริอุริ
ของตกแต่งประดับประดาในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่จะมีขายในขนาดรูปร่าง และราคาซึ่งแต่งต่างกันตามร้านขายของของตกแต่งในเทศกาลวันปีใหม่จะนำมาแขวนกันในระหว่างวันที่ 26-30 ธันวาคมที่ไม่แขวนในวันที่ 31 ซึ่งเรียกกันว่าเป็น อิจิยะ คาศาริ (Icyiya kazari) คือการตกแต่งเพียงชั่วคืนเดียว
โทชิโคชิ โซบะ
โซบะ เป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาวเพราะมีลักษณะเป็นเส้นยาวชาวญี่ปุ่นจะรับประทานโซบะ ในวันที่ 31 ธันวา จะเป็นวันที่ร้านบะหมี่ขายดีที่สุด ประเพณีนี้เริ่มในสมัยเอโดะ
โอมิโซกะ
ช่วงปลายปีชาวญี่ปุ่นจะเตรียมต้อนรับปีใหม่ การทำความสะอาดบ้านมีความสำคัญพอๆกับการเตรียมอาหารและการตกแต่งบ้านสำหรับปีใหม่ในสมัยก่อนคนจะใช้เตาถ่านหรือไม้ฟืนทำความสะอาดบ้าน ประเพณีนี้ยังคงปฏิบัติในปัจจุบันจะซ่อมแซมบ้านจนถึงการเปลี่ยนกระดาษโชจิซึ่งเก่าและขาด障子 ( Sho-ji ) ประตูเลื่อนกระดาษบางของญี่ปุ่นประตูเลื่อนนั้นมีในบ้านแบบญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ประตูเลื่อนกระดาษบางนั้น เรียกว่า โชจิ ( Sho-ji ) ทำจากกระดาษใยไม้ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และยังมีข้อพิเศษ คือ ปิดแล้วก็ยังทำให้ห้องสว่างอยู่ และเตรียมบ้านให้พร้อมในช่วงปีใหม่
โจยะ โนะ คาเนะ
ประเพณีการตีระฆังเพื่อส่งท้ายปีเก่าที่วัด ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม มีมาตั้งแต่สมัยนาราตามประเพณีโบราณ พระจะผลัดกันตีระฆังในวัดให้ครบ 108 ครั้ง ปัจจุบันนี้มีวัดหลายแห่งเปิดประเพณีหลายแห่ง ตามความเชื่อศาสนาพุทธ การตีระฆัง 108ครั้งเป็นการขับไล่กิเลส 108 อย่างออกไปจากตัวมนุษย์
ความคิดเห็น