ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    12 Month In JaPanee ตะลุยญี่ปุ่นกัน

    ลำดับตอนที่ #8 : July-------------------เดือนแห่งฤดูร้อน

    • อัปเดตล่าสุด 10 ต.ค. 52


    July

    しちがつ (ชิจิกัตซึ)

     ฟูมิซึกิ(Fumizuki) ประกอบด้วยคำที่มีความหมายว่า อักษร หรือ หนังสือ กับคำว่า เตือน คำนี้มีผู้ตีความหมายต่างๆนานา เช่นว่ามีที่มาจากปลาย สมัยเฮอัน ซึ่งกล่าวว่าเดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่นิยมเขียนจดหมาย บ้างก็ว่าเพราะในเทศกาลทานาบาตะ (Tanabata) จะมีการเขียนบทกลอนด้วยภาษาจีน และต้องเปิดหนังสือค้นคว้าบทกลอน

       พอย่างเข้าสู่เดือนกรกฎาคมแต่ละพื้นที่จะจัดงาน อุมิบิราคิ (Umibiraki) ซึ่งหมายถึงการเปิดทะเลและ ยามะบิราคิ (Yamabiraki) ซึ่งหมายถึง การเปิดภูเขาเป็นการเริ่มของการท่องเที่ยวทะเลและปีนเขาในฤดูร้อน

    วันที่ 7 ทานาบาตะ (Tanabata) ตามตำนานกล่าวไว้ว่าเป็นวันเดียวในรอบปีที่ดาวหญิงทอผ้ากับดาวคนรักคือดาวชายเลี้ยงวัวจะได้โคจรมาพบกันบนทางช้างเผือก (ซึ้งมากเลยTOT) ในวันนี้บรรดาเด็กเล็กจะเขียนคำอธิษฐานลงบนกระดาษ แล้วนำไปผูกกับกิ่งไผ่ ซึ่งประดับด้วยกระดาษสีหลากหลายสีทำเป็นลูกโซ่แทนสัญลักษณ์ของทางช้างเผือก

    วันที่ 20 อุมิโนะฮิ (Umi no hi ) กลางเดือนเมื่อพ้นช่วงไบอุเซนเซน เมื่อฝนพัดขึ้นไปทางทิศเหนือแล้วกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศสิ้นสุดฤดูฝน (Bai-u akesengen) เมื่อฝนผ่านไปก็จะเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนวันที่อุณหภูมิสูงสุดกลางฤดูร้อนบางครั้งกว่า 30 องศา แม้ในช่วงเช้าตรู่อุณหภูมิก็ยังไม่ต่ำกว่า 25 องศาทำให้ตอนกลางคืนร้อนอบอ้าวมาก ในวันอุชิโนะฮิ จะมีประเพณีกินปลาไหลย่างเพื่อเพิ่มพลังดังนั้นปลาไหลย่างจะขายดีมากในช่วงนี้(ไปขายด้วยกันไหม^.^)

       ระหว่างวันที่ 1-15 จะมีประเพณีการมอบของขวัญให้กับผู้ที่มีอุปการคุณซึ่งเรียกว่า โอชูเง็น (Ochugen) ตามห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่างๆจะคึกคักเป็นพิเศษเพราะมีการจัดงานลดราคาสินค้า ยิ่งกว่านั้นตั้งแต่กลางเดือนไปจนถึงต้นเดือนสิงหาคมจะมีธรรมเนียมการส่งไปรษณียบัตรถึงกันเพื่อไต่ถามสารทุกข์สุขดิบในช่วงหน้าร้อน และวันที่ 20 จะปิดภาคเรียนแรกจะมีพิธีการปิดพิธี เด็กนักเรียนที่เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่ผ่านมาจะได้รับสมุดพกเป็นครั้งแรก จากนั้นจะหยุดเทอมภาคฤดูร้อนเป็นเวลาประมาณ 40 วัน ในวันหยุดฤดูร้อนทางโรงเรียนก็จะมีการบ้านให้ทำ (อ๋อ -_-เหมือน ที่โนบิตะให้โดเรมอนช่วยอ่ะนะ) และพวกเด็กๆมักจะออกไปทำกิจกรรมนอกสถานที่ออกค่ายพักแรม ทัศนาจรร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว สำหรับนักเรียนที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยหรือมัธยมปลายนั้น ช่วงวันหยุดหน้าร้อนเป็นเวลาเรียนแบบเร่งรัด โรงเรียนกวดวิชาหรือโรงเรียนสอนพิเศษต่างๆจะเปิดสอนและมีนักเรียนไปเรียนเป็นจำนวนมาก

    ทานาบาตะ

         เดิมทีทานาบาตะเป็นการเตรียมการส่วนหนึ่งของเทศกาลโอบ้ง ที่ผสมผสานขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้านหลายอย่างไว้ด้วยกัน บาตะหรือ ฮาตะ หมายถึง หูกทอผ้าซึ่งจะมีเด็กสาวที่ถูกคัดให้มาทอผ้า เพื่อถวายแด่เทพเจ้าโดยที่จะติดตั้งหูกทอผ้าไว้บนแท่นหรือหิ้ง(ภาษาญี่ปุ่นเรียกหิ้งว่า       ทานะ)ที่ริมแม่น้ำ  ต่อมามีการนำไปผสมผสานกับตำนานดวงดาวที่มีต้นกำเนิดมาจากจีนจนกลายเป็นเทศกาลทานาบาตะในปัจจุบัน เด็กๆจะเขียนคำอธิษฐานลงบนกระดาษทันซาคุ ซึ่งมี5สี ส่วนใหญ่เด็กจะอธิษฐานขอให้ประสบความสำเร็จในการเรียน

        เด็กอนุบาลและเด็กชั้นประถมศึกษาจะตกแต่งกิ่งไผ่และเลี้ยงฉลองเทศกาลนี้กันในชั้นเรียนด้วยเครื่องดื่มและขนมหวาน โรงเรียนอนุบาลบางแห่งจะจัดให้มีการร้องเพลงเต้นรำ เด็กๆจะนำกิ่งไผ่กลับบ้านและรับประทานอาหารมื้อพิเศษ สำหรับบางแห่งในท้องถิ่นในปัจจุบัน ทานาบาตะได้กลายเป็นเทศกาลสำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยว ตามถนนหนทางย่านชอปปิ้ง จะมีการจัดวางต้นไผ่ขนาดยักษ์ที่ประดับประดาเครื่องตกแต่งที่ทำด้วยพลาสติก มีสีสันสวยงาม

    โอชูเง็น

         เทศกาลส่งของขวัญครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นปีหนึ่งมี 2 ครั้ง คือต้นเดือนกรกฎาคม และธันวาคมฤดูกาลแลกเปลี่ยนในฤดูร้อนเรียกว่า โอชูเง็น มีแหล่งกำเนิดมาจากประเพณีที่ญาติพี่น้องจะได้พบปะกันที่บ้านเกิด เพื่อนำเอาอาหารมาไหว้บรรพบุรุษ ต่อมาภายหลังการพบปะกะนไม่สะดวกจึงเปลี่ยนมาเป็นส่งของขวัญให้กันแทน ของขวัญที่เป็นที่นิยมในยุคนี้คือพวกของกินเช่นผลไม้ เค้ก ขนม หมี่แห้งและอาหารกระป๋อง นอกจากนี้เริ่มมีผู้นิยมใช้บัตรกำนันแลกเป้นอาหารหรือเบียร์

    เทศกาลส่งจดหมายไต่ถามทุกข์สุข

    โฉะชูมิไม โมชิอาเงมาซุ

    ในช่วงอากาศร้อนอย่างนี้ คุณสบายดีหรือเปล่า คือสูตรสำเร็จของคำทักทายที่ใช้ในการ์ดส่งไปเพื่อไต่ถามทุกข์สุขในช่วงหน้าร้อน ซึ่งมักจะส่งก่อนถึงช่วงริชชู (Risshu) วันแห่งฤดูใบไม้ร่วง คือประมาณวันที่ 6 สิงหาคมซึ่งปฏิทินจันทรคติเรียกว่าเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง ส่วนการส่งการ์ดหลังช่วงริชชูจะใช้คำว่า ซังโฉะ (Zansho) แทนคำว่า โฉะชู (Shochu) ซึ่งหมายถึงปลายฤดูร้อนที่อากาศยังคงร้อนอยู่ ต้นเดือนมิถุนายน ที่ทำการไปรษณีย์จะเริ่มขายไปรษณียบัตรชุดพิเศษสำหรับส่งในช่วงกลางฤดูร้อน ไปรษณียบัตรในฤดูร้อนเรียกกันเล่นๆว่า คาโมะเมล์ (kamo mail)

    ซึ่งป็นคำประสมระหว่าง คาโมะเมะ(นกนางนวล)กับเมล์(จดหมาย) บางครั้งมีการเล่นคำพูดเป็นภาษาอังกฤษว่า “Come on Mail” ซึ่งไปรษณียบัตรนี้จะมีหมายเลขชิงรางวัลและมักจะมีลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ฤดูร้อนพิมพ์อยู่

    อุชิโนะฮิ

         การกินปลาไหลเพื่อบำรุงร่างกายให้กระฉับกระเฉง ในช่วงวันที่ร้อนที่สุดของปีนี้เป็นประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมาในสมัย เอโดะ (Edo:1603-1867)เชื่อกันว่าในวันอุชิโนะฮิ ปลาไหลจะมีรสชาติอร่อยเป็นพิเศษ และเราก็จะได้กลิ่นหอมของปลาไหลย่างชุบซอส ชนิดพิเศษโชยมาจากร้านอาหารทั่วทุกแห่ง ทุกวันนี้ในญี่ปุ่นปลาไหลกลายเป็นสัตว์ที่เพาะเลี้ยงไว้ขาย ตลอดจนมีการสั่งซื้อนำเข้ามาจากไต้หวันและประเทศอื่นๆอีก

    โรงเรียนสอนพิเศษภาคฤดูร้อน

         นักเรียนที่เตรียมตัวสอบจะไปเรียนที่โรงเรียนสอนพิเศษและโรงเรียนกวดวิชาต่างๆ

    จุกุ (Juku)  หมายถึง โรงเรียนสอนพิเศษสำหรับนักเรียนชั้นเล็ก

    โยบิโค (Yobiko) หมายถึง โรงเรียนกวดวิชาสำหรับนักเรียนมัธยมปลายเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย

        พวกนักเรียนจะพยายามท่องจำสาระเนื้อหาในแต่ละวิชาและศึกษาเทคนิคการเอาชนะในการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย แม้อากาศจะร้อนอบอ้าว พวกเขาก็เรียนกันอย่างหนัก(พอเราปิดเทอมเราเล่นอย่างเดียวเลย-_-)

     การศึกษานอกสถานที่

         ระหว่างวันหยุดในช่วงหน้าร้อน นักเรียนจะสนุกสนานกับชั้นเรียนพิเศษคือการไปพักที่บ้านพักของโรงเรียนที่เชิงเขาหรือชายทะเล หรือตามสถานที่ราชการเป็นเวลาหลายวัน โปรแกรมเหล่านี้เรียกกันว่าการศึกษานอกสถานที่ เด็กๆจะได้ประสบการณ์และความรู้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×