ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    12 Month In JaPanee ตะลุยญี่ปุ่นกัน

    ลำดับตอนที่ #7 : June---------------------เดือนแห่งนาข้าว

    • อัปเดตล่าสุด 10 ต.ค. 52


    June

    しちがつ(ชิจิกัตซึ)

         มินะซึกิ (Minazuki) หากแปลตามตัวอักษรจะได้คำว่าเดือนที่แล้งน้ำ แต่เสียงของคำนี้ในสมัยโบราณคือเสียงของตัวอักษรซึ่งหมายถึง เดือนน้ำหลาก อย่างไรก็ตามมินะซึกิก็คือเดือนที่มีน้ำมาก ช่วงเวลานี้คือช่วงที่ชาวนาภาวนาให้มีฝนตกชุกเพื่อทำการปลูกข้าวได้ผลดี

    เดือนมิถุนายนเป็นเดือนที่ฝนตกตลอดทั้งปี ดอกโชบุหรือไอริส  ดอกอาจิไซหรือไฮเดรนเยียจะถูกฝนพรม ใบไม้สีเขียวสวยงาม อุณหภูมิโดยทั่วไปจะสูงขึ้นและอากาศเริ่มร้อนอบอ้าว

    วันที่ 1  โคโรโมะงาเอะ (Koromogae) วันเปลี่ยนเครื่องแต่งกายตามฤดูกาล ผู้ที่สวมเครื่องแบบจะเปลี่ยนเป็นเครื่องแบบของฤดูร้อน แต่ปัจจุบันเนื่องจากอากาศร้อนเร็วกว่าเมื่อก่อน ทำให้บางแห่งเปลี่ยนเครื่องแบบกันตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมก็มี

        ฝนตกในเดือนนี้เรียกว่า ซึยุ (Tsuyu) และเนื่องจากเป็นฝนที่ทำให้ผลบ๊วยสุก บางที่จึงเรียกฝนนี้ว่า ไบอุ ดังนั้นตัวอักษรคันจิของคำนี้บางครั้งก็อ่านว่า ซึยุหรือไบอุ ความกดอากาศของทะเลโอค็อตส์ทางตอนเหนือกระทบกับความกดอากาศสูงทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกทำให้เกิดแนวฝนซึยุ กรมอุตุวิทยาคมจะมีการประกาศว่าเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีพื้นที่เป็นตอนยาวจึงทำให้เวลาแต่ละภูมิภาคแต่ละที่เข้าสู่ฤดูฝนไม่พร้อมกัน แต่ที่เกาะฮอกไกโดไม่มีฤดูฝนเลย แม้ว่าการที่ฝนตกพรำๆเป็นเวลานานนั้นเป็นสิ่งที่น่ารำคาญ แต่ฝนซึยุนี้เปรียบเหมือนน้ำทิพย์สำหรับชาวญี่ปุ่น เพราะเป็นน้ำดื่มและน้ำสำหรับการเกษตร เกษตรกรจะดำนาปลูกข้าวในฤดูนี้ ผลบ๊วยที่สุกจะถูกนำมาบ่มเป็นเหล้าบ๊วยหรือนำไปดองเป็นบ๊วยดอง

    วันที่ 21 เกะชิ (Geshi) วันกลางฤดูร้อน ในปีหนึ่งจะมีวันที่กลางวันยาวที่สุดเรียกว่า เกะชิ ซึ่งมักจะตรงกับวันนี้ของทุกปี ที่โตเกียววันที่กลางวันยาวนานที่สุดถึง 14 ชั่วโมง 35 นาที ซึ่งนานกว่า โทจิ วันที่มีกลางคืนยาวที่สุดในเดือนธันวาคม ถึง5 ชั่วโมง

        นอกจากนี้เดือนมิถุนายนยังเป็นเดือนที่สถานที่ข้าราชการ บริษัทองค์กรห้างร้านต่างๆจ่ายเงินโบนัส ปกติจะจ่ายโบนัสจ่ายปีละ 2 ครั้ง ซึ่งส่วนมากจะออกเดือนมิถุนายนและธันวาคม

    การเปลี่ยนเครื่องแบบตามฤดูกาล

         ฤดูร้อน อากาศจะร้อนอบอ้าวมาก ผู้ที่สวมชุดเครื่องแบบจะเปลี่ยนใส่ชุดฤดูร้อนกันในช่วงนี้นักเรียนจะสวมเสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีขาว ปัจจุบันนี้ยูนิฟอร์มของบริษัทหรือโรงเรียนบางแห่งออกแบบโดยดีไซเนอร์ที่มีชื่อเสียง ซึ่งทำให้รูปแบบสวยและดูประณีต เมื่ออากาศร้อนขึ้นและแดดออกดี ตามบ้านต่างๆจะนำเสื้อผ้าที่ใส่ในฤดูหนาวออกไปซักและผึ่งแดด

    เทรุเทรุโบซึ「照る照る坊主」,

         เทรุ เทรุ โบซึ คือตุ๊กตาตัวเล็กๆสีขาว ทำด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าขาว เป็นรูปตุ๊กตาที่มีหัวเล็กๆกับตัวไม่มีผม จมูก ปาก ตา หูและแขนขา ตุ๊กตานี้จะนำไปแขวนที่หน้าต่างหรือชายคาบ้านเพื่อขอให้อากาศดี เด็กๆจะนำตุ๊กตานี้ไปแขวนเมื่อต้องการให้วันรุ่งขึ้นท้องฟ้าแจ่มใสปรอดโปร่ง พร้อมๆกับร้องเพลง เทรุ เทรุ โบซึ ประเพณีนี้ได้รับจากประเทศจีนมานานแล้ว (ตุ๊กตาไล่ฝน)

    การย่างเข้าฤดูฝน

         ไบอุเซนเซน (Bai-u Zensen) คือฝนแนวหน้าที่ไม่เคลื่อนที่จะอยู่ระหว่างกลุ่มอากาศเขตโอค็อตสก์ และกลุ่มอากาศเขตโองาซะวารา โดยทั่วไปฝนจะเคลื่อนตัวมาที่ญี่ปุ่นจากตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากฤดูฝนธรรมดาทั่วไปยังมีฤดูฝนอีก 2 ประเภท ประเภทแรกคือ คาราซึยุ คือฤดูฝนที่แถบจะไม่มีฝนตกเลยและทำให้พืชพันธุ์แห้งแล้งและขาดแคลนน้ำ และ นางาซึยุ หมายถึงฤดูฝนที่ฝนตกชุกและเป็นสิ่งที่หน้าเบื่อหน่ายยิ่ง

    ปริมาณฝนตกตลอดปีในญี่ปุ่น

         ปริมาณฝนตกในประเทศญี่ปุ่นเฉลี่ยปีละประมาณ 1,600 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มมากขึ้นในเดือนมิถุนายนและกันยายน เดือนมิถุนายนจะมีฝนตกชุกแต่จะน้อยกว่าช่วงที่ใต้ฝุ่นเข้าในช่วงเดือนกันยายน ภาคตะวันออกของญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงนครโตเกียวจะมีลมพัดมาจากทิศใต้สู่ทิศตะวันออก ในฤดูร้อนอากาศอบอ้าวมีฝนตกชุก ในฤดูหนาวจะมีลมพัดมาจากทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือ อากาศจะแห้ง สดชื่นมีแสงแดด

     

    ระบบการจ่ายโบนัส

        แต่เดิมโบนัสหมายถึง การแบ่งปันผลกำไรส่วนเกินแต่โบนัสในปัจจุบัน หมายถึง เงินก้อนจำนวนหนึ่งที่เป็นรายได้ จากการทำงานปกติจะมีการจ่ายโบนัสปีละ 2 ครั้งคือในช่วงฤดูร้อนและปลายปี จำนวนเงินโบนัสจะมากน้อยนั้นต่างกันไปตามบริษัทและระยะการทำงาน สำหรับข้าราชการจะมีการจ่ายโบนัสในเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาของทุกปี

    การดำนา

         การทำนาในปัจจุบันมักใช้เครื่องจักรทุ่นแรงในการดำนาและปลูกข้าว พื้นที่ปลูกข้าวมีร้อยละ 39 ของพื้นที่เพาะปลูกพืชทางการเกษตรทั้งหมดในญี่ปุ่น ในปี 1990 ผลผลิตข้าวมีประมาณ 1ล้านตันนับเป็นร้อยละ 30 ของผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดในญี่ปุ่นซึ่งนับว่าลดลงเมื่อเทียบกับปี 1955 แต่ปัจจุบันพื้นที่ลดลงอย่างมาก ผลผลิตข้าวลดลง หากแต่มีการหันไปปลูกผักผลไม้กันแทน

    คนญี่ปุ่นกับข้าว

         ข้าวมีความผูกพันอย่างเหนียวแน่นกับโภชนาการและวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ในอดีตข้าวเคยถูกใช้เป็นส่วยอากรหรือค่าตอบแทนแรงงาน ดังนั้นเจ้าของที่ดินจึงต้องรับผิดชอบในการจัดเครื่องสักการบูชาถวายต่อเทพเจ้า เพื่อให้การปลูกข้าวได้ผลดี และงานเทศกาลฉลองข้าวในทางศาสนาจะถูกจัดขึ้นอย่างเป็นพิธีของญี่ปุ่น ปัจจุบันข้าวค่อยๆมีบทบาทน้อยลง เพราะนิสัยในการบริโภคของชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนไปเป็นแบบตะวันตก ประชากรหันมาบริโภคขนมปัง ซีเรียลและก๋วยเตี๋ยวกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามข้าวถือเป็นผลผลิตทางการเกษตรของญี่ปุ่นอย่างหนึ่งและเป็นอาหารหลัก

    พันธุ์ข้าวที่นิยมรับประทาน

    ผู้บริโภคต้องการซื้อข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารและตั้งชื่อพันธุ์ที่ดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคนี่คือชื่อพันธุ์และแหล่งปลูกข้าวในญี่ปุ่นเดี๋ยวจะลงรูปพันธุ์ข้าวที่หลัง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×