ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    12 Month In JaPanee ตะลุยญี่ปุ่นกัน

    ลำดับตอนที่ #4 : March------------เดือนแห่งความเขียวชอุ่ม

    • อัปเดตล่าสุด 3 ต.ค. 52


    March

    さんがつ(ซันกัตซึ)

        ยาโยอิ (Yayoi) มีความหมายว่าโตวันโตคืน ราววันที่ 6 ของเดือนนี้แมลงและสัตว์ที่จะจำศีลอยู่จะออกจากรูที่อยู่อาศัยอยู่ จะเริ่มมีเสียงนกร้อง ต้นไม้และดอกไม้จะเริ่มผลิดอกออกผล

    โรงเรียนในญี่ปุ่นจะเปิดภาคเรียนในเดือนเมษายนแล้วไปสิ้นสุดปีการศึกษาในเดือนมีนาคม ในเดือนมีนาคมจึงเป็นเดือนแห่งพิธีปริญญา พิธีรับประกาศนียบัตร หลังจากเสร็จพิธีก็จะมีงานเลี้ยงขอบพระคุณอาจารย์เรียกว่า ชาองไค(Shaonkai)เมื่อเสร็จพิธีก็จะเข้าสู่ช่วงเปิดภาคฤดู

    วันที่ 3 ฮินามัทสึริ (Hinamntsuri) เทศกาลตุ๊กตา บ้านที่มีเด็กผู้หญิงจะประดับตุ๊กตาประจำเทศกาลและจัดดอกไม้พวกลูกท้อ และ ดอกนะโนะฮานะ มีการเชิญญาติและเพื่อนๆมาเลี้ยงโดยการเตรียมอาหารได้แก่ ชิราชิซูชิ (คงรู้จักกันน้า:P) ซุปหอยฮามางูริ ขนมอาราเระและเหล้าหวานไว้รับรองแขก นอกจากนี้ยังเป็นวันรักษาหูด้วยเนื่องจากเลข 3 มีลักษณะคล้ายใบหูประกอบด้วยเลข 3 ของญี่ปุ่นเรียกมิ(Mi)และหูของญี่ปุ่นเรียกว่ามิมิ(Mimi)

    วันที่12 โอมิซึโทริ (Omizutori) เทศกาลฉลองน้ำและไฟในกลางดึกจะมีงานโอมิซึโทริที่วัด โทไดจิ(Todaiji)ในจังหวัดนาราถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญงานหนึ่งในแถบคันไช(โอซากา-3-)

    วันที่ 21 ชุมบุนโนะฮิ (Shunbun no hi) วันแบ่งฤดูใบไม้ผลิกับความหนาวเย็นในฤดูหนาวที่จะสิ้นสุดลง เมื่อโอฮิงันของฤดูใบไม้ร่วงจะมาถึง ความร้อนอบอ้าวก็จะหมดไปเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง สมกับคำโบราณของญี่ปุ่นที่กล่าวว่า จะร้อนจะหนาวก็ถึงแค่ โอฮิงัน

    เทศกาลตุ๊กตา

         ประเพณีดั้งเดิมของเทศกาลปรากฏอยู่ในหนังสือ เกนจิโมโนงาตาริซึ่งเขียนในตอนต้นศตวรรษที่ 11 ว่าเป็นการป้องกันผู้คนจากสิ่งชั่วร้าย แต่ละคนทำรูปปั้นหรือตุ๊กตาแทนตนเองพร้อมเขียนชื่อกำกับไว้แล้วนำไปลอยน้ำเพื่อให้สิ่งชั่วร้ายลอยไปกับสายน้ำ

    ชุดตุ๊กตาประดับในเทศกาลตุ๊กตา
                                                                             

         ราวกลางสมัยเอโดะ(ค.ศ.1603-1867) ผู้คนนิยมทำตุ๊กตาอย่างประณีตแล้วประดับตกแต่งไว้ในบ้าน บนหิ้งจะปูด้วยพรมสีแดงอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ตุ๊กตาชุดหนึ่งจะประกอบด้วยตุ๊กตาซึ่งแต่งกายในแบบราชสำนักโบราณจำนวน 15 ตัวได้แก่จักรพรรดิและจักรพรรดินีวางอยู่บนหิ้งชั้นบนสุดโดยมีฉากสีทองอยู่เบื้องหลังชั้นมีนางสนม คนรับใช้ ทหารของตบแต่งก็มีโคมไฟ ต้นสมนอกจากนั้นยังมีของที่บงบอกถึงเทศกาลนี้คือฮิชิโมจิ(แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม) เหล้าขาว ขนมอาราเระและของใช้พวกเครื่องเขิน

    ประเพณีลอยตุ๊กตา

         เป็นประเพณีเก่าแก่เริมมีมาตั้งแต่พันปีก่อน ในปัจจุบันหลเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นในญี่ปุ่น โดยจะนำตุ๊กตากระดาษ 2 ตัววางในเรือเล็กๆทำด้วยข้าวฟางพร้อมกับดอกท้อและโอโมจิและนำไปลอยแม่น้ำเพื่อขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไป

    ตุ๊กตาตั้ง

         เป็นรูปแบบแต่ดั้งเดิมของตุ๊กตากระดาษที่ทำด้วยมืออยู่ในท่ายืนซึ่งยังคงเป็นที่นิยมกันในปัจจุบันเป็นตุ๊กตาชายหญิงคู่ ซึ่งเรียกว่า ทาจิบินะ(Tachibina) ปัจจุบันบ้านส่วนใหญ่มีเนื้อที่จำกัดจึงนิยมประดับตุ๊กตาดังกล่าวไว้ในกล่องกระจก หรือมีเพียงภาพวาดตุ๊กตาดังกล่าวเท่านั้น

    โอมิซึโทริ

    เทศกาลฉลองน้ำและไฟจัดให้มีขึ้นในวันที่ 12 มีนาคมเทศกาลนี้เริ่มมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 8 ช่วงที่สำคัญที่สุดยอดของงานคือตอนกลางดึก ที่ระเบียงโบสถ์จะมีพระสงฆ์ที่มีอาวุโสน้อยออกมาโบกไฟให้เกิดเป็นประกายลูกไฟลอยไปยังผู้ที่มีศรัทธาที่มาร่วมงานอยู่ข้างล่างเมื่อถึงเวลาตีสอง พระสงฆ์ที่ถือไฟรูปหนึ่งก็จะมุ่งหน้าไปยังบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์คือ บ่อวากาไซ (น้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ว่ากันว่าเป็นน้ำบาดาลขุดมาจากเมืองวากาซะในจังหวัดฟุกุอิ บ่อจึงได้ชื่อว่า วากาไซ)ภายในโบสถ์นิงัทสึโด ในโบสถ์แห่งนี้จะมีวิธีวิดน้ำจากบ่อ ซึ่งผู้ประกอบพิธีจะเป็นพระสงฆ์ที่ถูกคัดเลือกแล้ว น้ำศักดิ์สิทธิ์ในถังจะถูกนำกลับไปยังโบสถ์ใหญ่เพื่อถวายพระพุทธรูปองค์พระประธานเชื่อกันว่าผู้ที่ศรัทธาถ้าจับลูกไฟได้จะสมปรารถนาและจะเจอแต่สิ่งที่ดี

    (อันนี้คือความรู้เสริม >_< อิอิในญี่ปุ่นในโรงแรม โรงพยาบาลจะเลี่ยงการใช้เลข 4 หรือ 42 เนื่องจากเสียงไปพ้องกับคำว่า ชิ shiหรือ ชินิshini ซึ่งมีความหมายว่าตาย)

    ไปไหว้สุสานบรรพบุรุษ

         เป็นความเชื่อพื้นบ้านของชาวญี่ปุ่นแต่ดั้งเดิมในเรื่องการเคารพวิญญาณของบรรพบุรุษ ได้ผสมผสานกับความเชื่อของศาสนาพุทธที่ว่าสวรรค์อยู่ตรงทิศตะวันตก(เคยได้ยินป่ะ- -?) ผู้คนจะเริ่มพากันไปเยี่ยมเยียนสุสานของบรรพบุรุษในวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ว่ากันว่าวันนี้พระอาทิตย์จะตกตรงทิศตะวันตกพอดีประเพณีนี้ไม่ปรากฏในจีนและอินเดีย ที่สุสานผู้คนจะกวาดล้างทำความสะอาดรอบๆสุสานของบรรพบุรุษของตนหลังจากทำความสะอาดแล้วก็จะกราบไหว้ด้วยดอกไม้และธูปพร้อมด้วยอาหารที่บรรพบุรุษชื่นชอบ(เหมือนไทยเลย)แต่ละคนจะรดน้ำลงบนแท่นสุสานและแท่นหินและสวดมนต์ ว่ากันว่าผู้ที่ตายไปแล้วมักจะหิวน้ำจึงรดน้ำให้หายร้อน!!

    พิธีรับประกาศนียบัตรและปริญญาบัตร

        เมื่อสำเร็จการศึกษาจะมีการจัดพิธีมอบประกาศนียบัตรในหอประชุมของสถาบัน สำหรับระดับประถมและมัธยมต้นครูประจำชั้นจะประกาศชื่อและให้ออกไปรับประกาศนียบัตรบนเวที ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยใหญ่ๆจะมีการทำพิธีภายนอกโรงเรียนเนื่องจากมีผู้จบการศึกษาจำนวนมากจะให้มีตัวแทนไปรับมอบแทนเพื่อนร่วมชั้น การสวมเสื้อครุยหรือหมวกจะไม่คอยมีให้เห็นในญี่ปุ่น ระดับมหาวิทยาลัยจะใส่สูท อย่างไรก็ตามผู้หญิงยังคงสวมชุดกิโมโนและฮากามะสีเข้ม
    ********************************************
    วันนี้ก็ขอจบที่เดือนนี้น่ะค่ะ^O^
    เดือนต่อไปจะมีอะไรบ้างก็ลองดูกัน><
    Let GO!!!
    ข้อมูลที่มา หนังสือเรื่องประสบการณ์ในญี่ปุ่น

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×