ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    12 Month In JaPanee ตะลุยญี่ปุ่นกัน

    ลำดับตอนที่ #12 : November---------------------------ฤกาลของอนเซน

    • อัปเดตล่าสุด 26 มี.ค. 53


    November 

    じゅういちがつ (จยูอิจิกัตซึ)

          ในปฏิทินญี่ปุ่นเขียนไว้ว่า ฤดูหนาวเริ่มในวันที่ 8 พฤศจิกายนซึ่งเรียกว่า ริตโต (ritto) หมายถึงการเริ่มต้นของฤดูหนาว และหิมะจะตกเป็นครั้งแรกประมาณวันที่ 22 ซึ่งเรียกว่า โชเซทสึ แปลว่าหิมะตกเล็กน้อย ในแถบตะวันออกเฉียงเหนือ น้ำค้างจะเริ่มจับตัวแข็งตามพื้น เดือนนี้จึงมีชื่อว่า เดือนแห่งน้ำค้างแข็ง  ชิโมทสึคิ เป็นการเตือนให้ชาวนาเตรียมรับความรุนแรงของอากาศในฤดูหนาวที่กำลังจะเกิดในไม่ช้า

        เมื่อเข้าสู่เดือนพฤศจิกายนอากาศจะค่อยๆหนาวขึ้น และเริ่มเห็นใบไม้เปลี่ยนสีทั่วเกาะญี่ปุ่น เมื่อต้นเมเปิลและแป๊ะก๊วยเริ่มผลัดใบเป็นสีแดงและเหลือง ผู้ตนจะพากันไปดูใบไม้เปลี่ยนสีตามสถานที่ที่มีชื่อเสียงการชมใบเมเปิลก็เป็นเอกลักษณ์ในเดือนนี้

    วันที่ 3 บุงคะโนะฮิ (Bunkano hi) วันอนุรักษ์วัฒนธรรม และเป็นวันหยุดราชการด้วยผู้ที่ผลงานดีเด่นทางศิลปวัฒนธรรมจะได้เข้าร่วมรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในช่วงวันอนุรักษ์วัฒนธรรมจะมีงานนิทรรศการ งานแสดงดนตรีและการแสดงผลงานทางศีลปะ ตามโรงเรียนจะมีงานศิลปะและกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม

    วันที่ 15 ชิจิ-โกะ-ซัน (Shichi-go-san) วันฉลองเด็กอายุ 7-5-3 ขวบ ตามท้องถิ่นส่วนใหญ่เด็กผู้หญิงอายุ 3และ 7 ขวบ และเด็กชายอายุ 5 ขวบ จะแต่งกายด้วยชุดที่เป็นพิธีการไปไหว้เจ้าที่ศาลเจ้าหรือวัดชินโต เด็กๆจะถือลูกกวาดพันปี และถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก ครอบครัวจะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาเพื่อฉลองกับการเติบโตของลูก โดยจะทำอาหารสำหรับงานเลี้ยง

    วันที่ 23 คินโรคันชะโนะฮิ (Kinrokansha-no hi) วันขอบคุณผู้ใช้แรงงาน เป็นวันหยุดราชการอีกวันในเดือนนี้และในเดือนนี้ย่านร้านค้าในกรุงโตเกียวจะมีเทศกาล โทริ โนะ อิจิ ผู้ที่ปรารถนาจะธุรกิจเจริญรุ่งเรืองมักจะซื้อคราดไม้ไผ่ทำเป็นรูปมือกวักเรียกว่า คุมาเดะ ซึ่งแปลว่า มือหมี เอาไปไว้นำโชค เมื่อเทศกาล โทริ โนะ อิจิ เสร็จสิ้นลงก็ใกล้จะสิ้นปีซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หาเวลาว่างได้ยาก ทุกปีในช่วงนี้ลมหนาวจากทางเหนือจะเริ่มพัดเข้ามาในแถบฮอกไกโด โทไฮคุ และโฮคุริคุเริ่มมีหิมะตก แม้แต่บ้านเรือนในแถบคันโตก็เช่นกัน ผู้คนจะนำเอาเครื่องทำความร้อนเช่น เตาผิง และโต๊ะทำความร้อนโคตัทสึซึ่งเก็บไว้ในช่วงฤดูร้อนออกมา

    เครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้านวัฒนธรรม

          ตั้งแต่ปี 1937 มีการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้านวัฒนธรรมให้แก่ผู้คนที่ทำคุณประโยชน์ที่ดีเด่นในด้านต่างๆเช่น การค้นพบและการประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆทางด้านวิทยาศาสตร์ ผลงานด้านวิชาการ วรรณคดีทางศิลปะ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้คัดเลือก พิธีพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์จะมีในพระราชวัง

    โทริ โนะ อิจิ

        งานโทริ โนะ อิจิ จะมีขึ้นตามวัดชินโตบางแห่งในเขตโตเกียวและรอบๆโตเกียวแต่เดิมนั้นเป็นงานเทศกาลเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูใบไม้ร่วงในหมู่ชาวนา โดยชาวนาจะนำไก่ไปถวายเทพเจ้าตามวัดชินโตที่อยู่ใกล้เคียงต่อมาได้กลายเป็นที่นิยมในหมู่ชาวเมืองสมัยเอโดะระหว่างศตวรรษ 17-18 ชาวนาจะได้รับคราดจากวัดเป็นการตอบแทนการถวายเครื่องเซน คนทั่วไปเชื่อว่าคราดเป็นสัญลักษณ์ของการได้เงินหรือความมั่งคั่ง งานเทศกาลนี้ค่อยๆเปลี่ยนความหมายมาทีละน้อยจนปัจจุบันเชื่อว่าเป็นงานเทศกาลของพ่อค้าที่ปรารถนาให้เศรษฐกิจรุ่งเรืองตลอดทั้งปี

    งานโรงเรียน

          งานแสดงศิลปะและวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิตในโรงเรียนตั้งแต่ระดับประถมจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ภายในงานจะมีการแสดงนิทรรศการด้านศิลปะของนักเรียน มีการแสดงดนตรี การเต้นรำ การแสดงละคร การแสดงนิทรรศการด้านวิชาการและทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนเปิดร้านขายอาหารและเล่นเกมส์ต่างๆ

    ชิจิ-โกะ-ซัน

         วันที่ 15 พฤศจิกายน เด็กผู้หญิงอายุ 7 ขวบ เด็กผู้ชายอายุ 5 ขวบและเด็กผู้หญิงอายุ 3 ขวบ(ในบางแห่งก็มีผู้ชายอายุ3ขวบด้วย)กับพ่อกับแม่จะไปไหว้ศาลเจ้าที่วัดชินโตเพื่อเป็นการอธิษฐานขอให้เด็กๆอายุยืนนานเจริญเติบโตและแข็งแรง แต่เดิมนั้นประเพณีนี้เริ่มขึ้นในบ้านของชนชั้นขุนนางและนักรบ เด็กหญิงอายุ 3 ขวบจะถูกนำมาเข้าพิธีเพื่อเริ่มต้นไว้ผมยาวเด็กชายอายุ 5 ขวบจะทำพิธีใส่ชุด ฮากามะ (Hakama) กระโปรงกางเกงซึ่งชายญี่ปุ่นใส่และเด็กผู้หญิงอายุ 7 ขวบทำพิธีใส่ชุดกิโมโน (Kimono) และสายคาดเอว โอบิ (Obi) ประเพณีนี้ค่อยๆแพร่หลายไปอย่างมากในกลุ่มชาวเมืองเอโดะ (ชื่อเดิมของกรุงโตเกียว) ต่อมาในสมัยเมจิ (1868-1912) ประเพณีชิจิ โกะ ซัน แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้แพร่หลายอย่างมาก

    ลูกกวาดพันปี

          ชิโตเซะอาเมะ ซึ่งหมายถึงลูกกวาดพันปีนี้จะมีขายอยู่ตามร้านค้าเพื่อฉลองการเจริญเติบโตและการมีอายุยืนยาวของเด็กๆลูกกวาดจะมีสีแดงสลับขาวเป็นแท่งยาวทำจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาล บรรจุขายในกระดาษซึ่งมีลวดลายสวยงามเป็นสัญลักษณ์แสดงความโชคดีและการมีอายุยืน

    อนเซน

           พื้นที่ในญี่ปุ่นกว่าร้อยละ 70 เป็นภูเขา และการมีปล่องภูเขาไฟมากมายทั่วประเทศนั้น ทำให้ญี่ปุ่นมีอนเซนหรือน้ำพุร้อนจำนวนมาก และผู้คนก็นิยมไปอาบน้ำแร่ตามสถานที่พักตากอากาศ สถานที่อาบน้ำแร่ที่มีชื่อเสียงและนิยมกันมากมักจะมีโรงแรมชั้นสูงที่ทันสมัยอยู่ อย่างไรก็ตามผู้คนก็สามารถหาความเพลิดเพลินกับการอาบน้ำแร่ในโรงแรมแบบญี่ปุ่นได้แม้แต่ในที่ที่ห่างไกลและลึกเข้าไปในภูเขาก็พบว่ามีบ่อน้ำร้อนเล็กๆสำหรับบริการนักท่องเที่ยว

    *************
    เฮ้อ ไม่ได้มาดูเลย คนอ่านน้อยมากT^Tแต่ไม่เป็นไร เราจะเก็บเป็นความรู้เฉยนิเนอะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×