ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    12 Month In JaPanee ตะลุยญี่ปุ่นกัน

    ลำดับตอนที่ #10 : SepTember--------เทศกาลชมพระจันทร์

    • อัปเดตล่าสุด 10 ต.ค. 52


    SepTember

    くがつ(คุกัตซึ)

          นางัทสึกิ (Nagatsuki) หมายถึง เดือนที่ยาวนาน หรือ พระจันทร์ที่ยาวนาน กวีส่วนใหญ่จะชื่นชมความงามของจัมทร์กระจ่างฟ้าตลอดคืนอันยาวนานในฤดูใบไม้ร่วง

        เมื่อวันหยุดหน้าร้อนสิ้นสุดลง โรงเรียนส่วนใหญ่จะเริ่มเปิดเทอมภาคเรียนที่สอง ตั้งแต่เดือนกันยายน ภาคเรียนที่สองเป็นภาคเรียนกลางปีการศึกษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีงานกิจกรรมต่างๆมากมาย เช่นงานโรงเรียน งานแข่งขันกีฬาประจำปีเป็นต้น   

         ช่วงครึ่งแรกของเดือนกันยายน ความกดอากาศในมหาสมุทรแปซิฟิกยังคงสูงอยู่ทำให้ช่วงปลายฤดูร้อน อากาศยังคงร้อนอยู่มาก หลังจากช่วงกลางเดือนไปแล้วอุณหภูมิตอนเช้าและเย็นเริ่มลดลง อากาศเริ่มมีลักษณะเหมือนฤดูใบไม้ร่วงขึ้น ในญี่ปุ่นตอนกลางคืนของฤดูใบไม้ร่วงคนญี่ปุ่นจะเพลิดเพลินกับเสียงร้องของ จิ้งหรีด ตั๊กแตน และเหล่าแมลงนานาชนิด

         พระจันทร์ในเต็มดวงในเดือนกันยายนนี้เรียกว่า ชูชูโนะเมเงทสึ ชาวญี่ปุ่นเพลิดเพลินกับการชมพระจันทร์มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ช่วงที่พระจันทร์สวยที่สุดในรอบปีหนึ่งปีประเพณีการชมพระจันทร์คือการถวายขนมไหว้พระจันทร์ ดอกซึซึกิ องุ่น เกาลัดและผลไม้อื่นๆแต่ปัจจุบันผู้ชมพระจันทร์ก็น้อยลง

    วันที่ 1 โบไซโนะฮิ (Bosai no hi) วันป้องกันวินาศภัย จะมีการฝึกหลบภัยตามโรงเรียน ที่ว่าการอำเภอ บริษัทและตามสถานที่ต่างๆทั่วประเทศเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ที่น่าสลดใจอย่างการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในแถบคันโต เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1923 เกิดขึ้นอีก นอกจากนี้เดือนกันยายนยังเป็นเดือนที่มีไต้ฝุ่นมาก เนื่องจากอิทธิพลของลมมรสุมไต้ฝุ่น ทำให้ต้นไม้และพืชพันธุ์การเกษตรเสียหายและเกิดน้ำท่วม เมื่อไต้ฝุ่นลูกใหญ่เคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ประเทศญี่ปุ่น ก็จะมีการถ่ายทอดสดรายงานความรุนแรงของลม ปริมาณน้ำฝน ตลอดจนรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับไต้ฝุ่นทางโทรทัศน์หรือวิทยุตลอดเวลา

    วันที่ 15 เคโรโนะฮิ (Keiro no hi) วันเคารพผู้สูงอายุ

    ราวกับวันที่ 23 ชูบุนโนะฮิ (Shubun no hi) วันแบ่งฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งกลางวันและกลางคืนจะยาวเท่ากัน ในช่วง 7 วันซึ่งมีการแบ่งฤดูเป็นจุดกึ่งกลางนี้ชาวญี่ปุ่นจะไปคารวะสุสานบรรพบุรุษเช่นเดียวกับที่ทำในฤดูใบไม้ผลิและตั้งแต่ช่วงนี้ไปกลางคืนจะค่อยๆยาวกว่ากลางวัน

    วันป้องกันวินาศภัย

          วันที่ 1กันยายนของปี 1923 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้นในแถบคันโต วัดค่าแมกนอจูดระหว่าง 7.9-8.2 ตามรายงานมีผู้เสียชีวิต 99,331 คน ผู้สูญหายไป 43,476 คน ผู้บาดเจ็บ 103,733 คน บ้านเรือนอาคารเสียหาย 128,266 หลังคาเรือน สร้างความสูญเสียครั้งใหญ่ให้ญี่ปุ่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกครั้งวันที่ 1 กันยาของทุกปีจึงถูกประกาศให้เป็นวันป้องกันวินาศภัย ในวันนี้จะมีการซ้อมรับมือกับแผ่นดินไหวและไฟไหม้ทั่วประเทศทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะสวมหมวกนิรภัยและซ้อมภายใต้การดูแลของกองดับเพลิง ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นทำงานบนตึกสูงและเมืองที่แออัดจึงต้องมีการซ้อมในตึกสูงและฝึกใช้เฮริคอปเตอร์

    ถุงกู้ภัยยามฉุกเฉิน

         ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นมีถุงกู้ภัยยามฉุกเฉินไว้ประจำที่บ้านหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป ของที่บรรจุอยู่ในถุงนี้ได้แก่ อาหารกระป๋อง,ผ้าขนหนู,ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ค,เทียนไข,ขนมปังกรอบ,กล่องยาปฐมพยาบาล,ที่เปิดกระป๋อง,ไฟฉาย,เงินสด,บัตรเครดิต,สมุดฝากเงิน(ยังอุตสาห์เอาเนอะ),วิทยุ และของที่จำเป็นต่าง

    ไต้ฝุ่น

         ไต้ฝุ่นเกิดขึ้นจากความกดอากาศต่ำในบริเวณทะเลใต้และพัดผ่านเข้าสู่ฟิลิปปินส์ จีนและญี่ปุ่นเป็นต้น ในปีหนึ่งๆมีไต้ฝุ่นประมาณ 28 ลูกแต่จะมีแค่2-3 ลูกหรือบางที 4 ลูกพัดสู่ประเทศญี่ปุ่น ไต้ฝุ่นลูกแรกที่พัดเข้าสู่ญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคมและลูกสุดท้ายในเดือนธันวาคมแต่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดในเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน ไต้ฝุ่นเบอร์ 19 ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1991 ได้ก่อความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อการกสิกรรม การป่าไม้ และการประมง โดยเฉพาะแอปเปิ้ลและส้ม ได้รับความเสียหายมากที่สุดคิดมูลค่าราว 3 แลน 9 หมื่นล้านเยน(เอ่อ คิดเอาเองเน้อ-*-)

    วันเคารพผู้สูงอายุ

        วันเคารพผู้สูงอายุถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการในปี 1966 เนื่องจากว่ารัฐบาลได้ตระหนักถึงผู้สูงอายุว่ามีจำนวนมากและคิดว่าคนในชาติน่าจะมองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ดังนั้นวันที่15กันยา ชาวญี่ปุ่นจึงไปหาพ่อ แม่ ญาติผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่ตนรู้จักเพื่อแสดงความเคารพ

     

    สังคมผู้สูงอายุ

        ปัจจุบันนี้ชาวญี่ปุ่นมีอายุยืนยาวขึ้นและจำนวนประชากรผู้สูงอายุก็มากขึ้นด้วยในปี 1935 อัตราส่วนของผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดเป็น 4.7% ในปี 1955 เป็น 5.3% และในปี 1996 เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว คือ 15.2% อัตราส่วนนี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่อัตราการเกิดลดลง เมื่อสิ้นศตวรรษที่ 20 อัตราส่วนนี้จะเป็น 15.6% และจะเป็น 20% ในครึ่งศตวรรษหน้า

    เทศกาลชมจันทร์

        พระจันทร์เต็มดวงในคืนที่ท้องฟ้าโปร่งใสในฤดูใบไม้ร่วงนั้นสวยงามมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ผ่านพ้นช่วงฤดูร้อนอันยาวนานไปแล้ว

         การชมจันทร์เป็นงานฉลองอันยิ่งใหญ่ของราชสำนักจีนโบราณการชมพระจันทร์จะมีขึ้นในคืนพระจันทร์เต็มดวงกลางฤดูใบไม้ร่วงประเพณีนี้ถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นในต้นศตวรรษที่ 10 และมีการชมจันทร์ครั้งแรกอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 สิงหาคม ปี 909 ตามปฏิทินจันทรคตินับแต่นั้นมาไม่เฉพาะชาววังเท่านั้น สามัญชนก็สามารถหาความเพลิดเพลินกับการชมจันทร์ได้เช่นกัน ในเทศกาลชมจันทร์มีขนมไหว้พระจันทร์ที่ทำด้วยแป้งข้าวเหนี่ยวปั้นกลมเหมือนพระจันทร์รวมทั้งดอกไม้ เช่น โอบานะ(ซึซึกิ) โอมินาเอชิ หรือฮางิและผลไม้ที่มีในฤดูใบไม้ร่วง รูปทรงที่เกิดจากผิวตะปุ่มตะป่ำบนดวงจันทร์ทำให้ชาวญี่ปุ่นเข้าใจว่ากระต่ายบนดวงจันทร์กำลังตำข้าวเหนียว

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×