ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการด้านสังคมของไทย

    ลำดับตอนที่ #1 : โครงสร้างทางสังคม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10K
      7
      29 ต.ค. 52

    โครงสร้างสังคมสมัยสุโขทัย
           สังคมสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง
    -
    ผู้ปกครอง คือ พระมหากษัตริย์และราชวงศศ์ ขุนนาง ข้าราชการ จะมีพ่อขุนเป็นผู้ปกครองสูงสุด
    -
    ผู้ถูกปกครอง คือ ประชาชน หรือ ไพร่ และทาส
    สังคมไทยเป็นสังคมเสรีในการการค้าและการประกอบอาชีพ มีสิทธินับถือศาสนา เน้นการเคารพผู้อาวุโส และกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น บิดา มารดา
    โครงสร้างสังคมสมัยอยุธยา
            สังคมสมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นสมมติเทวราช แบ่งการปกครองออกเป็น ผู้ปกครอง
    1.
    พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ มีอำนาจสูงสุด มีผู้สืบราชวงศ์ 3 ชั่วคน คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า
    2.
    ขุนนาง ทำหน้าที่บริหารบ้านเมืองโดยมียศลำดับขั้นสูงสุดลงมาต่ำสุด คือ พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน
            
    สมัยอยุธยาตอนปลายมียศสูงสุดคือ เจ้าพระยา และมีตำแหน่งเป็นเครื่องแสดงหน้าที่และความรับผิดชอบ เช่น เสนาบดี จางวาง เจ้ากรม
    ศักดินา คือ เครื่องกำหนดสิทธิและหน้าที่ โดยพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งตำแหน่งที่มีศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไป ส่วนที่มีศักดินาต่ำกว่า 400 ไร่เสนาบดีจะเป็นผู้แต่งตั้ง ขุนนางมีหน้าที่บังคับบัญชาไพร่พลประจำกอง ถึงเวลาสงครามก็ไปรบ ถ้าไม่มีสงครามก็ประกอบอาชีพ
    ผู้ถูกปกครอง
    1.
    สามัญชนหรือไพร่ ต้องขึ้นทะเบียนอยู่ในสังกัดเจ้านายเมื่ออายุครบกำหนด ไพร่มี 2 ประเภทคือ
    ไพร่หลวง เป็นไพร่ของรัฐโดยตรง คือผู้ที่เข้ามารับราชการทำงานให้กับรัฐ
    ไพร่สม เป็นไพร่ที่สังกัดอยู่กับมูลนาย จะมีจำนวนมากน้อยก็ได้ แต่ต้องแจ้งต่อทางราชการให้ทราบจำนวนไพร่ในสังกัดของตน
    2.
    ทาส ในสมัยอยุธยาแบ่งทาสออกเป็นดังนี้
    -
    ทาสสินไถ่ คือทาสที่ซื้อมาด้วยทรัพย์
     - ทาสในเรือนเบี้ย คือทาสที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาส
    -
    ทาสที่ได้มาแต่บิดามารดา คือทาสมรดกที่ได้รับจากบิดามารดา
    -
    ทาสที่มีผู้ยกให้
    -
    ทาสที่ได้มาเนื่องจากนายเงินช่วยให้พ้นโทษปรับ
    -
    ทาสอันได้เลี้ยงไว้ในเวลาข้าวยากหมากแพง
    -
    ทาสเชลย
    โครงสร้างสังคมสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    1. เจ้านายหรือพระราชวงศ์ จะมีการควบคุมอำนาจของเจ้านายและพระราชวงศ์ด้วยการลดจำนวนไพร่สมลง
    2.
    ขุนนาง มีอำนาจมาก และคัดเลือกพระราชวงศ์ขึ้นเป็นกษัตริย์
    3.
    ไพร่ ได้ลดเวลาการเกณฑ์ไพร่หลวงจากปีละ 6 เดือนเหลือเพียง 4 เดือน ถ้าไพร่ไม่เข้ามาทำงานต้องจ่ายให้ทางราชการปีละ 18 บาท    ยกเว้นเวลาสงครามต้องเข้ามารับราชการ
    4.
    ทาส มีโอกาสลดค่าตัวหรือได้รับการสนับสนุนจากทางการให้มีโอกาสหาเงินมาไถ่ถอนตัวได้
    โครงสร้างสังคมไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
              
    การยกเลิกระบบไพร่และทาสเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่สำคัญ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 สังคมไทยมีการขยายตัวทางการศึกษา มีการยกเลิกระบบชนชั้นในสังคมไทย ประชาชนมีสิทธิเท่าเทียมกันตามกฎหมาย มีการนำวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้ เช่น การแต่งกาย การรับประทานอาหารที่ใช้ช้อนและซ่อม การเข้าสังคม และการนำเทคโนโลยีตะวันตกเข้ามาปรับปรุงใช้ในทุกด้าน และพัฒนาระบบการศึกษาให้กว้างไกลโดยขยายไปสู่ภูมิภาค และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเข้าเรียนในทุกระดับชั้น
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×