พายุฤดูร้อน - พายุฤดูร้อน นิยาย พายุฤดูร้อน : Dek-D.com - Writer

    พายุฤดูร้อน

    ก้อมะคืนมีพายุเข้าอ่ะบ้านเรากระเบื้องแตกไป4แผ่นเลยอ่ะ ก้อเลยอยากเอามาอธิบายว่าพยุฤดูร้อนเมื่อคืนเกิดจากอะไร จ้า

    ผู้เข้าชมรวม

    6,293

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    6.29K

    ความคิดเห็น


    7

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 มี.ค. 49 / 12:37 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน
           พายุฤดูร้อนก่อตัวจากเมฆคิวมูลัสก่อน เมื่อเมฆคิวมูลัสขยายตัวขึ้นและมีกระแสลมแนวตั้งแรงขึ้นก็จะ
      ขยายตัวสูงใหญ่เป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งเป็นเมฆพายุฟ้าคะนอง การเกิดเมฆพายุ
      ฟ้าคะนองในบรรยากาศ
      ต้องมีเงื่อนไข คือ
           - อากาศร้อนและมีความชื้นมาก
           - อากาศไม่มีเสถียรภาพ(ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ คือ อากาศมีการลอยตัวขึ้น)
           - มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดการลอยตัวขึ้นของอากาศ เช่น อุณหภูมิสูงที่พื้นดิน มวลอากาศเคลื่อนตัวสูงขึ้น
      เมื่อพัดผ่านภูเขาหรือมีการปะทะกันของมวลอากาศที่แตกต่างกัน
           ในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยตอนบนจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุม
      ทำให้มีอุณหภูมิสูงและได้รับความชื้นจากลมตะวันออกเฉียงใต้ หรือลมใต้ซึ่งพัดจากอ่าวไทย ขณะเดียวกันถ้ามีบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนซึ่งเป็นมวลอากาศเย็น หรือบางครั้งมีคลื่น
      กระแสลมตะวันตกจากประเทศพม่าเคลื่อนมาเสริม จะก่อให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นจาก
      ประเทศจีนและมวลอากาศร้อนชื้นที่ปกคลุมประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เกิดการยกตัวของอากาศขึ้น
      อย่างรุนแรงและรวดเร็ว ก่อให้เกิดพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง หรืออาจมีลูกเห็บตกมาด้้วย ประเทศไทยตอนบนจึงมีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อนได้มาก ส่วนภาคใต้ก็มีโอกาสเกิดได้แต่น้อย

      ลักษณะอากาศก่อนเกิดพายุฤดูร้อน
           
      - อากาศร้อนมาหลายวัน และในวันที่จะเกิดพายุฤดูร้อนอากาศจะร้อนอบอ้าวมากขึ้น
           - ลมสงบ
           - ท้องฟ้ามัว ทัศนวิสัยไม่ดี
           - มีเมฆทวีมากบึ้นในท้องฟ้า ลักษณะที่ฝนจะตกมีมากขึ้น
           - ลมเริ่มพัดแรงขึ้นในทิศทางใดทางหนึ่ง มีลักษณะเป็นลมกระโชกเป็นครั้งคราว
           - เมฆก่อตัวหนาแน่นอย่างรวดเร็ว และมีฟ้าแลบ และมีฟ้าคะนองในระยะไกล

      ความรุนแรงและผลกระทบที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
           ความรุนแรงของพายุเกิดจากความแตกต่างกันของอุณหภูมิของอากาศร้อนและอากาศเย็นที่ปะทะกัน
      ความรุนแรงนี้จะปรากฎออกมาในลักษณะของพายุลมแรง ฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก ผลกระทบมีดังนี้
           - แผ่นป้ายโฆษณาและต้นไม้ยักโค่นล้ม
           - บ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงพังทลาย กระเบื้องหลังคาหลุดปลิวเป็นอันตรายต่อผู้คน
           - ฝนตกหนักในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
           - มีลูกเห็บตกได้ในกรณีที่พายุมีกำลังแรงๆ
           - ขณะเกิดจะมีฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ซึ่งอาจทำให้คนและสัตว์เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

      แนวทางป้องกัน

              พายุฤดูร้อนเป็นภัยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นหรือควบคุมไม่ให้รุนแรงได้
      แต่ก็พอมีวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงและบรรเทาความเสียหายหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้
           - ติดตามข่าว และการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่อาจเกิดพายุฤดูร้อน
           - ขณะเกิดพายุ หากอยู่ในอาคารบ้านเรือนให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย
           - หากอยู่กลางแจ้งให้รีบหลบเข้าในอาคารหรือที่กำบังที่มั่นคง แข็งแรง เพื่อไม่ให้กิ่งไม้ ต้นไม้หัก หรือ
      เศษวัสดุ สิ่งของปลิวใส่เป็นอันตราย และห้ามอยู่ใต้ต้นไม้สูง หรือใต้เสาไฟฟ้า หรือมีโลหะที่มีส่วนผสมของ
      ทองแดงซึ่งเป็นสื่อล่อฟ้าอยู่กับตัว เพราะอาจถูกฟ้าผ่าได้
           - สำหรับเกษตรกร ชาวสวน ควรหาไม้ค้ำยันกิ่งต้นไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่กำลังติดผลอ่อน จะช่วยลดความ
      เสียหายลงไ้ด้
           - สำหรับเขตเมืองที่มักมีการติดป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ ควรระมัดระวัง เรื่องความแข็งแรง
      คงทนของป้ายดังกล่าว เพราะพายุฤดูร้อนจะเกิดขึ้นได้เป็นประจำทุกปี ในช่วงระหว่างกลางเดืิือนกุมภาพันธ์
      ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

      การเกิดลูกเห็บ
           
      ลูกเห็บ เกิดขึ้นภายในเมฆพายุฟ้าคะนองเป็นเมฆก่อตัวแนวตั้งขนาดใหญ่ เมฆคิวมูโลนิมบัส เกิดขึ้น
      เมื่ออากาศชื้นมีการยกตัวขึ้น อุณหภูมิอากาศเย็นลงตามความสูงจนกระทั้งอุณหภูมิอากาศเท่ากับอุณหภูมิ
      จุดน้ำค้าง ไอน้ำจะอิ่มตัวแล้วกลั่นตัวจนเป็นหยดน้ำ อากาศยังคงมีการลอยตัวสูงขึ้น อุณหภูมิอากาศยังคง
      เย็นต่อไปอีกจนกระทั่งอุณภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และเย็นต่อไปอีกจนกระทั่งหยดน้ำในเมฆกลายเป็นน้ำแข็ง
      เม็ดน้ำแข็งอาจตกลงมาเนื่องจากน้ำหนัก แต่อากาศข้างล่างที่ยังคงมีการลอยตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้
      ก้อนน้ำแข็งเล็กๆ กลับลอยขึ้นไปอีกรวมกับก้อนน้ำแข็งที่อยู่ภายในเมฆเกิดเป็นก้อนน้ำแข็งใหญ่ขึ้น
      ในลักษณะการพอก แล้วตกลงมาเนื่องจากน้ำหนักและกลับลอยขึ้นไปอีก เกิดการพอกทำให้เม็ดน้ำแข็ง
      นี้ใหญ่ขึ้นอีกเป็นลักษณะเช่นนี้จนกระทั่งอากาศข้างล่างที่ลอยขึ้นนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักของก้อน
      น้ำแข็งได้ ก้อนน้ำแข็งจึงตกลงสู่พื้นดินเป็น "ลูกเห็บ"

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×