ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เล่าขานตำนานวิทยาศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #5 : ไอแซก นิวตัน

    • อัปเดตล่าสุด 24 เม.ย. 50


    ไอแซก    นิวตัน

     

    เกิดวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1642 เมืองลินคอร์นเชียร์ ประเทศอังกฤษ
    เสียชีวิต 20 มีนาคม ค.ศ. 1727 กรุงลอนดอน อังกฤษ

    ไอแซก นิวตัน เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่นับว่าเป็นอัจฉริยะคนหนึ่งของโลก เขาเกิดมาเพื่อสร้างสรรค์ประดิษฐ์คิดค้นโดยเฉพาะ นิวตันเกิดมาในครอบครัวที่ฐานะไม่สู้ดี พ่อของเขาเสียชีวิตขณะเขายังไม่ได้กำเนิดเสียอีก โชคร้ายเขายังคลอดก่อนกำหนดทำให้ตัวเล็ก พออายุได้ 2 ขวบ มารดาแต่งงานใหม่ กับนักบวช ช่วงนี้เขาได้ศึกษาที่โรงเรียนคิงส์ เพราะความฉลาด รักการอ่านหนังสือ แต่เขาไม่ชอบสุงสิงกับเพื่อนๆ ผลงานชิ้นแรกที่เขาประดิษฐ์คือ นาฬิกาแดด (Sun Dial) หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) เมื่อสำเร็จการศึกษา เขาได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ผลงานการประดิษฐ์ต่อมาคือ การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ และการค้นพบสมบัติของแสงทั้ง 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง เมื่อทั้ง 7 รวมกันจะกลายเป็นแสงสีขาว ผลงานสร้างชื่อเสียงมากที่สุดคือ การค้นพบกฎแรงดึงดึงดูดของโลก (Law of Gravitation) เขาสงสัยว่าผลไม้หรือสิ่งของต่างๆ ทำไมร่วงลงสู่พื้น ทำให้เขาทดลองเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงของโลก นอกจากนี้ยังค้นพบคณิตศาสตร์แขนงใหม่ คือ แคลคูลัส (Calculas) สำหรับการคำนวณ หาความยาวของเส้นโค้ง บนพื้นผิว นอกจากนี้เขายังได้ทำงานการเมืองฝ่ายบริหารหน่วยงานกรมกษาปณ์ ทำหน้าที่รับผิดชอบการผลิตเหรียญและธนบัตรสามารถแก้ไขปัญญาเงินปลอมได้ จนสมเด็จพระนางเจ้าแอนน์ (Queen Ann) พระราชินีแห่งอังกฤษ ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ในตำแหน่งท่านเซอร์ (Sir) ให้กับเขา เขาทำงานค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องแม้จนบั้นปลายชีวิตทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมจนเสียชีวิตขณะอายุได้ 85 ปี

    ผลงานการค้นพบ
    ตั้งกฎแรงดึงดูดของโลก
    ตั้งกฎเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
    ตั้งทฤษฎีแคลคูลัส (calculas)
    ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง
    ค้นพบสมบัติของแสงที่ว่าแสงสีขาวประกอบขึ้นจากแสงสีรุ้ง

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×